logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide )

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 11 กรกฎาคม 2561
Hits
40739

           สารพิษทุกชนิดต่างมีลักษณะเฉพาะที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ ในกรณีของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซึ่งเป็นแก๊สที่กระจายอยู่รอบตัวนั้นก่อให้เกิดความเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับฮีโมโกลบินในเลือด

7856 1

ภาพที่ 1 ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
ที่มา Ritesh Madhok/Flickr

         ฮีโมโกลบิน(Hemoglobin) เป็นโมเลกุลของโปรตีนที่มีความสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนประกอบไปด้วยโปรตีนโกลบิน (Globin protein) 4 สายที่ขดพันกันอยู่ และในแต่ละสายของโปรตีนโกลบินจะจับอยู่กับธาตุเหล็กของฮีม (Heme) ที่อยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน โดยในส่วนของอะตอมของธาตุเหล็กนั้นจะทำหน้าที่จับกับออกซิเจนที่ผ่านเข้ามายังปอด และขนส่งออกซิเจนให้กับเซลล์ในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

          เมื่อฮีโมโกลบินและออกซิเจนรวมตัวกันจะได้เป็นออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ซึ่งเลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินจะถูกสูบฉีดผ่านหัวใจและไหลเวียนตามกระแสเลือด เพื่อลำเลียงออกซิเจนไปให้กับเซลล์ที่ต้องการใช้ออกซิเจนในกระบวนเผาผลาญ (Metabolism) สามารถแสดงสมการได้ดังนี้

Hb          +            O2           ->        HbO2

         (Hemoglobin)          (Oxygen)            (Oxyhemoglobin)

7856 2

ภาพที่ 2 ภาพแสดงโมเลกุลของฮีโมโกลบิน โดยส่วนสีแดงและสีน้ำเงินคือ ส่วนของโปรตีนโกลบินในกลุ่มที่แตกต่างกัน
(แอลฟาและบีต้า) ส่วนสีเขียวคือ กลุ่มของฮีม
ที่มา en.wikipedia.org/wiki/Hemoglobin

       หนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญซึ่งช่วยให้ฮีโมโกลบินสามารถจับและปล่อยออกซิเจนได้อย่างถูกเวลานั้นขึ้นอยู่ความแตกต่างของความดันออกซิเจนในปอดและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย กล่าวคือ เมื่อเราสูดลมหายใจผ่านเข้ามายังปอด เลือดที่มาจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะมีออกซิเจนต่ำ ดังนั้นออกซิเจนจำนวนมากที่เราหายใจเข้ามาจึงสามารถแพร่ (Diffusion) ผ่านเข้าสู่เส้นเลือด เป็นผลให้อะตอมของเหล็กในฮีมสามารถจับกับออกซิเจนดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน เมื่อเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ต้องการใช้ออกซิเจน เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่มีออกซิเจนต่ำกว่าและมีความเป็นกรดสูงจากการที่มีคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้ฮีโมโกลบินปล่อยออกซิเจนให้กับเซลล์เหล่านั้นเพื่อไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงานได้อย่างถูกที่ถูกเวลา

7856 3

ภาพที่ 3 การจับและปล่อยออกซิเจนของฮีโมโกลบิน
ที่มา myhealth.alberta.ca/Health/pages/conditions.aspx?hwid=hw39098

         อย่างไรก็ดี ทุกสิ่งในโลกไม่ได้ให้ประโยชน์เพียงด้านเดียว เช่นเดียวกับอากาศที่เราหายใจก็ไม่ได้มีเพียงออกซิเจนที่ให้ประโยชน์ หากแต่มีแก๊สชนิดอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) เป็นแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างไม่สมบูรณ์ มีน้ำหนักเบา ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้ โดยคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การเผาไหม้ของแก๊สหุงต้ม ไม้ ถ่านหิน ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ในสภาวะที่เหมาะสมเช่น อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แต่ในทางตรงกันข้าม หากเกิดการเผาไหม้ในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดี แก๊สคาร์บอนมอนอไซด์สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

7856 4

ภาพที่ 4 การแย่งจับฮีโมโกลบินของคาร์บอนมอนอกไซด์
ที่มา sites.google.com/site/igcsechemistry2017/home/year-11-topics/11-01-crude-oil/11-01-04-oil-the-environment

          เนื่องจากคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถจับกับธาตุเหล็กของฮีมในโครงสร้างของฮีโมโกลบินได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200เท่า ซึ่งเมื่อเราหายใจเอาอากาศที่มีคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในปริมาณสูง คาร์บอนมอนอกไซด์จะแย่งจับกับฮีโมโกลบินแทนออกซิเจน ทำให้ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงสูญเสียความสามารถในการจับกับออกซิเจนและลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ที่ต้องการได้ เป็นผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน และเป็นสาเหตุให้การทำงานของสมองและระบบต่างๆ ของร่างกายเสียหายได้ ทั้งนี้การจับกันของคาร์บอนมอนอกไซด์และฮีโมโกลบินสามารถแสดงสมการได้ดังนี้

Hb             +           CO                     ->        HbCO

             (Hemoglobin)       (Carbon monoxide)      (Carboxyhemoglobin)

        ผลกระทบจากการได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ต่อสุขภาพนั้นมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ในระดับความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ 20-30 PPM สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้หากได้รับเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ในขณะที่การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ความเข้มข้น 2000 PPM เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจะทำให้หมดสติและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

7856 5

ภาพที่ 5 ผลกระทบที่เกิดจากการได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์มีตั้งแต่
อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ สับสน อาเจียน หายใจลำบาก หน้ามืด หมดสติ และเสียชีวิต
ที่มา www.rvworldstore.co.nz/guides-advice/carbon-monoxide-poisoning-avoidance-and-protection/

          แม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันตัวเองจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ทั้งหมด และในทางกลับกัน มนุษย์เรากลับเป็นผู้สร้างและปล่อยแก๊สพิษนั้นออกสู่สิ่งแวดล้อมเสียเอง อย่างไรก็ดี เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการสัมผัสกับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้ต่าง ๆ ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือการติดตั้งเครื่องตรวจจับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ไว้ภายในครัวเรือน

แหล่งที่มา

Why is carbon monoxide poisonous?
          Retrieved January 29, 2018,
          from https://science.howstuffworks.com/question190.htm

Hemoglobin.
         Retrieved January 29, 2018,
         from https://en.wikipedia.org/wiki/Hemoglobin

Carbon monoxide.
         Retrieved January 29, 2018,
         from https://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_monoxide

Carboxyhemoglobin.
         Retrieved January 29, 2018,
         from https://en.wikipedia.org/wiki/Carboxyhemoglobin

Carbon monoxide poisoning.
         Retrieved January 29, 2018,
         from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/carbon-monoxide/symptoms-causes/syc-20370642

How to Prevent Carbon Monoxide Poisoning.
         Retrieved January 29, 2018,
         from https://www.webmd.com/a-to-z-guides/prevent-carbon-monoxide-poisoning#1

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พิษ ,คาร์บอนมอนอกไซด์, Carbon monoxide
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 08 มีนาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7856 ความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide ) /article-chemistry/item/7856-2018-02-22-02-37-59
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
Hits ฮิต (21569)
ให้คะแนน
Structured Query Language หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า SQL เป็นภาษาสืบค้นข้อมูลสำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพ ...
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
Hits ฮิต (44026)
ให้คะแนน
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intellig ...
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Hits ฮิต (5189)
ให้คะแนน
Project Athena เป็นชื่อเรียกโครงการ PC Laptop ของผู้ผลิตจากค่ายดังค่ายหนึ่ง ที่กำลังมองหาและออกแบบน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)