logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความเสี่ยงของอาหารมังสวิรัติในทารก

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 11 มิถุนายน 2562
Hits
15180

           เด็กทารกเป็นวัยที่ควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสมและมีสารอาหารที่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย แม้ว่าการดูแลเด็กทารกในเรื่องของอาหารจะเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่การรับประทานอาหารต่าง ๆ ไม่ได้มีข้อจำกัดอย่างเคร่งครัด นั่นจึงทำให้อาหารมังสวิรัติเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่เด็ก ๆ สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ดีมีหลักฐานสนับสนุนว่า อาหารมังสวิรัติอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย

9833 1

ภาพ เด็กทารกกับการทานอาหารที่ควรระวัง
ที่มา https://pixabay.com ,Ajale

          เด็กทารกต้องการสารอาหารจำนวนมาก ซึ่งผู้ปกครองอาจต้องเพิ่มน้ำหนักของเด็ก ๆ เป็น 3 เท่าในช่วง 12 เดือนแรก และเพื่อให้เด็กมีสารอาหารเพียงพอต่อการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง กระดูก เลือด และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ รวมทั้งมีความสมดุลของสารอาหารต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนั้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ด้วยการรับประทานไขมันน้อยและเพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์มากขึ้นอย่างอาหารมังสวิรัตินั้น จึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

          องค์การอนามัยโลกส่งเสริมให้เด็กทารกดื่มน้ำนมจากแม่ในช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากในน้ำนมแม่จะมีสารอาหารทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ และหลังจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว เด็กต้องเริ่มต้นรับประทานอาหารเสริมที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับน้ำนมแม่อย่างน้อยในช่วง 1 ปีแรก ทั้งนี้อาหารของเด็กทารกควรประกอบด้วยแหล่งโปรตีนและไขมันที่ดี ร่วมกับผักและผลไม้ และแม้ว่าเด็กทารกจะไม่ได้รับกากใยอาหาร แต่ก็สามารถเติมได้โดยที่ไม่ขาดสารอาหารชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ดีไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารแปรรูปและอาหารที่เติมเกลือเพิ่ม

          น้ำตาลมีประโยชน์ต่อความต้องการพลังงานของร่างกาย แต่ควรเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีสารอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย สิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอก็คือ ยิ่งเด็กรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้น โอกาสที่พวกเขาจะขาดสารอาหารก็จะน้อยลง อย่างไรก็ดี คงเป็นเรื่องยากที่ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติหรือชาววีแกนจะได้รับโปรตีนที่เพียงพอ เนื่องด้วยโดยประมาณครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่คนในประเทศที่พัฒนาแล้วรับประทานนั้น ล้วนแล้วมาจากพืช

          เป็นความจริงที่พืช (ยกเว้นส่วนของเมล็ด) ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (และถั่วเหลือง) แต่ทั้งนี้อาหารจากพืชควรมีแหล่งโปรตีนรวมอยู่ เช่น มื้ออาหารของถั่วอบบนขนมปัง, ถั่วและข้าว, และพาสต้าและถั่ว "โบโลเนส" นั่นจะช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการ

วิตามินและแร่ธาตุ

          ปัญหาของการรับประทานพืชเป็นหลักก็คือ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุบางอย่าง เช่น เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน สังกะสีวิตามินบี 12 และวิตามินดี ที่เพียงพอ เนื่องจากในพืช แร่ธาตุเหล่านี้ไม่เพียงถูกจำกัดการพบอยู่ในพืชบางชนิด แต่ยังเป็นเรื่องยากมากยิ่งขึ้นที่ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเมื่อมันอยู่ในอาหารประเภทเส้นใย แต่เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์จำพวกนมและไข่ นั่นจึงทำให้อาหารมังสวิรัติที่หลากหลายจึงไม่น่าเป็นห่วง เนื่องด้วยทารกยังคงได้รับสารอาหารที่ดี

          การได้รับธาตุเหล็กเป็นสิ่งที่ควรตระหนักเมื่อเด็กเล็กเริ่มรับประทานอาหารแข็ง ๆ ด้วยพวกเขาต้องการสัดส่วนของธาตุเหล็กที่มากกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ แต่ทารกสามารถได้รับธาตุเหล็กจากไข่, ผักสีเขียวเข้ม เช่น บรอกโคลี และหากพวกเขาไม่มีอาการแพ้อาหารจำพวกถั่ว การรับประทานพัลส์ เช่น ถั่ว เนยถั่ว ก็ช่วยให้ทารกได้รับธาตุเหล็กได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยากมากขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นวีแกน (ทานมังสวิรัติ) ซึ่งแม้ว่าอาหารวีแกนมีความหลากหลาย แต่ก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้ เช่น โรคโลหิตจาง (Anemia) จากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะขาดสารอาหารที่พบมากที่สุดทั่วโลก

          การไม่รับประทานนมหรือไข่ของชาววีแกน เป็นการจำกัดการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น ทั้งนี้อาหารของชาววีแกนเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ นั่นจึงทำให้แหล่งพลังงานสำคัญสำหรับร่างกายที่กำลังเติบโตจึงมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังอาจได้รับน้ำตาลธรรมชาติลดลงด้วยเนื่องจากน้ำตาลแลคโตส (lactose) เป็นแหล่งน้ำตาลธรรมชาติที่อยู่ในนม

          หากไม่รับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แหล่งอาหารที่จำเป็นคือ วิตามินบี 12 ที่ควรเสริมเข้าไปให้เด็กทารก เนื่องจากการได้รับวิตามินไม่เพียงพออาจทำให้เส้นประสาทเสียหายได้ ทั้งนี้ยังมีไอโอดีนซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านจิตใจทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถเติมเกลือไอโอดีนในอาหารได้ แต่เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กทารก เพราะการเสริมไอโอดีนมีความเสี่ยงมากเกินไป อย่างไรก็ตามทางออกหนึ่งของการเสริมไอโอดีนในเด็กทารกคือ การรับประทานสาหร่ายทะเล ซึ่งให้ประโยชน์ที่หลากหลาย แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียนรู้วิธีการประกอบอาหารในครัว

อาหารที่มีพืชอย่างเดียวไม่ได้สมบูรณ์แบบที่สุด

          เด็กทารกมีความยืดหยุ่นอย่างน่าประหลาดใจ พวกเขาอยู่รอดในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมได้  แต่สิ่งที่ต้องการคือ การส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาการที่เหมาะสมจากการได้รับสารอาหารจากอาหารที่เพียงพอ ดังนั้นอาหารจากพืชเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทารกได้  อย่างไรก็ตามหากพ่อแม่มีทัศนคติที่เหมาะสมและเป็นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือเป็นชาววีแกนที่มีเหตุผลว่า เด็กทารกไม่สามารถรับประทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่ได้หลากหลาย สิ่งนี้อาจช่วยให้เด็กทารกในครอบครัวของผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือชาววีแกนยังคงได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ตลอดจนมีพัฒนาการและการเติบโตที่สมวัย

แหล่งที่มา

Shirley Hinde and Ruth Fairchild. (2018, December 15). Why vegan diets for babies come with significant risks. Retrieved February 21, 2019, from https://theconversation.com/why-vegan-diets-for-babies-come-with-significant-risks-108466

Eat well.  Retrieved February 21, 2019, from https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เด็กทารก อาหารมังสวิรัติ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 22 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9833 ความเสี่ยงของอาหารมังสวิรัติในทารก /article-biology/item/9833-2019-02-21-09-00-55
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักก...
Hits ฮิต (16711)
ให้คะแนน
หากเราย้อนกลับไปในฤดูร้อนของปีค.ศ. 1997 ในขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจากประเทศฝรั่งเศสและทีม ...
ความแตกต่างของ Analog และ Digital
ความแตกต่างของ Analog และ Digital
Hits ฮิต (278067)
ให้คะแนน
ความแตกต่างของ Analog และ Digital เคยได้ยินกันใช่หรือไม่ ทั้งคำว่า “ Analog” และคำว่า “Digital” ทั้ ...
ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน
ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน
Hits ฮิต (18934)
ให้คะแนน
กลับมาอีกครั้งกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน ผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับเครื่องบินไว้หลายเร ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)