logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

พลังของการร้องไห้

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 14 พฤษภาคม 2562
Hits
28841

           น้ำตาจระเข้ เป็นวลีที่ถูกยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบการเสแสร้งแกล้งทำ ด้วยการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนเองเสียใจ แต่ความจริงแล้ว น้ำตาที่เห็นเป็นเพียงการกลบเกลื่อนความผิดที่ตัวเองได้กระทำต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับจระเข้ที่น้ำตาไหล ด้วยในเวลาที่มันงับเหยื่อกระดูกขากรรไกรของมันกดทับต่อมน้ำตา ไม่ใช่ความโศกเศร้าด้วยสงสารเหยื่อแต่อย่างใด

          มนุษย์ไม่เป็นเช่นจระเข้ มนุษย์ร้องไห้ได้ด้วยทั้งความเศร้า ความสุข ความยินดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

9813 1

ภาพที่ 1 ร้องไห้
ที่มา https://pixabay.com ,tobbo

ประเภทของน้ำตา

น้ำตามีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่

  1. น้ำตาหล่อเลี้ยงลูกตา (basal tears) เป็นน้ำตาที่ช่วยหล่อลื่น บำรุง ทำความสะอาดและปกป้องดวงตา

  2. น้ำตาที่หลั่งออกมาเมื่อมีสิ่งระคายเคือง (reflex tears) เป็นน้ำตาที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อมีอาการระคายเคืองที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ เช่น อนุภาคฝุ่น ฝุ่นละออง ควัน หรือแม้กระทั่งขนตาที่หลุดเข้าตา ซึ่งน้ำตาเหล่านี้ไม่ได้เพียงแต่ช่วยชะล้างสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเท่านั้น แต่ยังมีแอนติบอดี (antibody) หรือสารภูมิต้านทานที่ช่วยทำลายเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนในดวงตาด้วย

  3. น้ำตาจากอารมณ์ (emotional tears) เป็นน้ำตาที่ถูกกระตุ้นโดยความรู้สึกที่แตกต่างกันทั้งในด้านบวก (ความสุขและความตื่นเต้น) และด้านลบ (ความโศกเศร้า ความโกรธ หรือความกลัว)

           แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่แน่ใจว่า เหตุใดมนุษย์ถึงพัฒนาการทางอารมณ์ผ่านน้ำตา แต่ก็ยังมีบางทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้คือ น้ำตาแห่งอารมณ์เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น เด็กทารกที่ยังไม่สามารถพูดได้จะร้องไห้เพื่อแสดงความหิวโหยหรือความเหงา ซึ่งการร้องไห้ของเด็กนั้นจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาการตอบสนองของพ่อหรือแม่ในทันที หรือในวัยผู้ใหญ่ การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่ใช้แสดงความรู้สึกอ่อนแอหรือความปิติยินดีอย่างเปิดเผย เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว และคนรู้จัก หรือในบางครั้งก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจจากคนรอบข้างได้ด้วย  ในขณะเดียวกัน ความจริงแล้วน้ำตาเป็นสัญญาณทางสังคมที่ทรงพลังที่แม้แต่สัตว์เลี้ยง ก็ยังรู้วิธีที่จะตอบสนองทันทีเมื่อเจ้าของเริ่มร้องไห้สะอึกสะอื้น หรืออาจช่วยอธิบายได้ดียิ่งขึ้นคือ การร้องไห้เป็นการขับสารเคมีที่สร้างขึ้นในช่วงที่รู้สึกเจ็บปวด หรือการร้องไห้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกายที่ช่วยลดความเครียดหรือเพิ่มความรู้สึกในเชิงบวก

          การร้องไห้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่?

          การศึกษาถึงสาเหตุและสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการร้องไห้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นการศึกษาที่มีพื้นฐานมาจากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการรายงานด้วยตัวผู้ให้ข้อมูลเอง (self-reporting) ซึ่งได้แนวคิดที่แพร่หลายที่สุดเกี่ยวกับการร้องไห้ คือ การร้องไห้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง เช่น เพื่อช่วยบรรเทาหรือปลดปล่อยอารมณ์ที่รุนแรงให้สงบลง อย่างไรก็ดีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มีความหลากหลาย บางการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่า การร้องได้ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและในบางครั้งก็แย่ลง

          การศึกษาพบว่า ยิ่งนานวันนับตั้งแต่การร้องไห้ครั้งสุดท้าย ยิ่งมีแนวโน้มที่ผู้ที่มีน้ำตาจะพิจารณเห็นว่า การร้องไห้เป็นประโยชน์ แต่หากการร้องไห้ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ มีโอกาสน้อยมากที่ผู้คนจะรายงานถึงความรู้สึกที่ดีขึ้นหลังจากประสบการณ์ร้องไห้ล่าสุด ขณะเดียวกันอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่จะได้รับรายงานว่า พวกเขาจะรู้สึกแย่หลังจากการร้องไห้ครั้งนั้น ในทางกลับกันผู้คนดูเหมือนจะร้องไห้เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีภาพยนตร์แนวกระตุกต่อมน้ำตา (tearjerkers) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ชี้ให้เห็นว่า การร้องไห้ช่วยในการผ่อนคลายตัวเอง

          แม้การร้องไห้จะมีประโยชน์ในระดับบุคคล แต่การศึกษาส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า การร้องไห้เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม(social phenomenon) มากกว่า เนื่องจากการร้องไห้เป็นสัญญาณที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อผู้อื่น ช่วยแสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติที่อาจต้องการความช่วยเหลือหรือการปลอบใจ ทั้งนี้การทดลองและการสำรวจ โดยการแสดงภาพของใบหน้าที่ร้องไห้เปรียบเทียบกับใบหน้าที่ไม่มีน้ำตา ซึ่งผลการทดลองพบว่า ไม่เพียงทำให้ใบหน้าดูเศร้า แต่ยังทำให้เกิดความโศกเศร้ามากขึ้นในผู้สังเกตการณ์ด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการสนับสนุนทางอารมณ์มากขึ้นเช่น การเห็นอกเห็นใจ ความเอาใจใส่ การหลบหลีกน้อยลง รวมถึงมีพฤติกรรมการช่วยเหลือโดยรวมเพิ่มมากขึ้นด้วย

          การร้องไห้ช่วยจริงได้หรือไม่นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินส่วนตัวเช่นกัน บางคนบอกว่าการร้องไห้ทำให้พวกเขารู้สึกแย่กว่าหากเทียบกับการไม่ต้องไม่เสียน้ำตา ในขณะที่บุคคลอื่นอาจร้องไห้เพราะพวกเขาเชื่อว่ามันเป็นประโยชน์และช่วยระบายความรู้สึก อย่างไรก็ดีก่อนที่คุณจะร้องไห้ต่อหน้าผู้อื่น ด้วยอยากได้รับการสนับสนุนเพียงเพราะจดจำข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้และใช้มันให้เกิดประโยชน์ในทางลบ นั่นอาจนำไปสู่ความรู้สึกอับอายขายหน้าได้

แหล่งที่มา

Rosie McCall. (2019, 5 February). Why Do We Cry?. Retrieved February 15, 2019, from https://www.iflscience.com/plants-and-animals/why-do-we-cry/

Leah Sharman. (2018, 23 November). No, crying doesn’t release toxins, though it might make you feel better… if that’s what you believe. Retrieved February 15, 2019, from https://theconversation.com/no-crying-doesnt-release-toxins-though-it-might-make-you-feel-better-if-thats-what-you-believe-106860

 Laura Geggel. (2016, 10 May). Why Do People Cry? Retrieved February 15, 2019, from https://www.livescience.com/32476-why-do-we-cry.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ร้องไห้ ,อารมณ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 15 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9813 พลังของการร้องไห้ /article-biology/item/9813-2019-02-21-07-56-33
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)