logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

กิ้งก่าเปลี่ยนสีเพื่อ พรางตัว จริงหรือ?

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 14 พฤศจิกายน 2561
Hits
43104

         เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากิ้งก่า (chameleon) นั้นสามารถเปลี่ยนสีเป็นสีต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสีที่ทำให้มันสามารถกลมกลืนกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว เพื่อการพรางตัว ซึ่งอาจจะเป็นการพรางตัวเพื่อล่าเหยื่อ หรืออาจจะเป็นการพรางตัวเพื่อหลีกหนีจากภัยอันตรายต่าง ๆ แต่ว่าการเปลี่ยนสีของกิ้งก่านั้นมีจุดประสงค์อื่นอยู่ นั่นคือ เพื่อการสื่อสารกันอีกด้วย

8644 1

ภาพ กิ้งก่าเปลี่ยนสี

ที่มา https://pixabay.com/th , FrankWinkler

การเปลี่ยนสีของกิ้งก่า

          การที่กิ้งก่าสามารถเปลี่ยนสีได้เป็นเพราะว่าพวกมันมีเซลล์สะท้อนแสงพิเศษบนผิวหนัง โดยในเซลล์ดังกล่าว มีสิ่งที่เรียกว่า นาโนคริสตัล (Nanocrystal) อยู่ ซึ่งเจ้านาโนคริสตัลเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นปริซึมสะท้อนแสงเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน โดยที่กิ้งก่า สามารถจัดเรียงแก้ว คริสตัลเล็ก ๆ เหล่านี้ให้สะท้อนคลื่นแสงที่มีความยาวต่างกันได้ เราจึงเห็นเป็นสีที่ต่างกัน

แล้วกิ้งก่าเปลี่ยนสีทำไม?

          แน่นอนว่าเมื่อพวกมันอยู่ในป่า ความสามารถนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องของการอำพรางตัว แต่ว่าความสามารถนี้ก็มีจุดประสงค์อย่างอื่นอีก นั่นก็คือเพื่อสื่อสารถึงกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพวกกิ้งก่าตัวผู้ต้องการเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย ก็จะทำการเปลี่ยนสีตัวเองให้เป็นสีสันที่สดใสและสวยงามอย่าง สีเหลือง สีแดง และสีส้ม แต่เมื่อพวกมันต้องทำการต่อสู้กัน เช่นเป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอาณาเขต พวกมันจะเปลี่ยนสีให้ตัวเองเป็นสีที่ดูแล้วน่ากลัว มีอำนาจ หรือเป็นสีที่แสดงความเกรี้ยวโกรธใส่กัน เพราะฉะนั้น กิ้งก่าไม่ได้เพียงแต่เปลี่ยนสีของตัวเองเพื่อการอำพรางตัวเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนสีเพื่อเป็นการสื่อสารถึงกันอีกด้วย และบางทีนี่อาจจะเป็นจุดประสงค์หลักของการเปลี่ยนสีของกิ้งก่าก็เป็นได้

หุ่นยนต์กิ้งก่า

          ในตอนนี้มีงานวิจัยที่สามารถสร้างหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีได้คล้ายกีบการเปลี่ยนสีของกิ้งก่าได้แล้ว โดยพวกเค้าเป็นทีมวิศวกรที่มหาวิทยาลัยอู่ฮั่นในประเทศจีน ที่สามารถประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่สามารถเปลี่ยนสีผิวให้เหมือนกับสีพื้นหลังของสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกิ้งก่า โดยหวังว่าจะนำมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการพรางตัวในอนาคต โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ โดยมีผิวเป็นจอพลาสมาที่ผลิตแสงสีต่าง ๆ ได้ด้วยไฟฟ้า การเปลี่ยนสีผิวนั้นใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) โดยเซ็นเซอร์ที่ผิวหุ่นยนต์จะตรวจจับแสงสีในสภาพแวดล้อม แล้วนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อการเปลี่ยนโทนสีผิวให้ตรงกับสีที่ตรวจพบ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หุ่นยนต์กิ้งก่าพรางตัวยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาขั้นต้น ทำให้เปลี่ยนสีได้ตามฉากพื้นหลังเพียง 3 สี คือแดง เขียว และน้ำเงินเท่านั้น แต่ในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะสามารถใช้กับสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อน และอาจนำไปสู่การพัฒนาระบบตรวจจับขั้นสูงซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกสี

แหล่งที่มา

DMCTODAY. (2559, 17 กุมภาพันธ์).  หุ่นยนต์กิ้งก่าพรางตัว.  สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก http://dmctoday.blogspot.com/2016/02/blog-post_643.html

BBCNEWS. (2561, 23 สิงหาคม).  กิ้งก่าเปลี่ยนสีเพื่ออะไร? อำพรางตัวหรือสื่อสารถึงกันและกัน.  สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก https://www.bbc.com/thai/international-45287013

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กิ้งก่า, กิ้งก่าเปลี่ยนสี, พรางตัว , สื่อสาร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 22 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8644 กิ้งก่าเปลี่ยนสีเพื่อ พรางตัว จริงหรือ? /article-biology/item/8644-2018-09-11-07-46-58
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)