logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

จริงหรือไม่ที่บอกว่าผงชูรสห้ามเลือดได้

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 22 พฤศจิกายน 2561
Hits
35902

         คุณเคยได้ยินเรื่องเล่าสมัยที่มีสงครามมาบ้างหรือไม่ว่า  ในช่วงเวลานั้นหากทหารเกิดการบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเป็นบาดแผลฉกรรจ์จากการสู้รบ บาดแผลที่ทำให้เสียเลือดนั้น "ผงชูรส ใช้ห้ามเลือดได้" ที่ผ่านมายังไม่มีผลสรุปทางการแพทย์ออกมายืนยันชัดเจนว่า ผงชูรสสามารถใช้ห้ามเลือดได้ จะมีก็เพียงแต่งานวิจัยและทดลองพอที่จะให้คำตอบได้อยู่บ้าง  วันนี้จึงนำข้อมูลเหล่านั้นมานำเสนอให้ได้อ่านกัน

          ในผลงานวิจัยตอนหนึ่งของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อศึกษาการใช้สมุนไพรในการบำบัดภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพของประชาชนในภาคกลาง โดยให้หมอชาวบ้านใช้สมุนไพรในการห้ามเลือดจากบาดแผล ซึ่งใช้สมุนไพรมากกว่าถึง 47 ชนิด ซึ่ง 1 นั้นก็มีผงชูรสเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถห้ามเลือดได้ด้วยเช่นเดียวกัน  แต่การใช้ผงชูรสนี้ผู้ทรงคุณวุฒิในงานวิจัยให้ความเห็นว่าใช้ได้ผลดีเพียงในการบำบัดภาวะเลือดกำเดาออกเสียมากกว่า  โดยวิธีใช้สำลีชุบน้ำหมาด ๆ ชุบผงชูรสและนำมาอุดจมูกไว้สักพัก ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

8505 1

ภาพ ห้ามเลือด
ที่มา https://pixabay.com , Meditations

          ในขณะเดียวกันก็มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพิสูจน์ว่าผงชูรสสามารถห้ามเลือดได้จริงหรือไม่ โดยผู้วิจัยได้นำผงชูรสอิ่มตัวลงในพลาสมา (plasma) หรือน้ำเลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว ในสัดส่วน 1 : 1 ผลการทดลองพบว่าพลาสมาเกิดการตกตะกอน และจากการตรวจสอบตะกอนนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่าตะกอนดังกล่าวเป็นไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งทำให้อาจสรุปได้ว่าผงชูรสทำให้ไฟบริโนเจนตกตะกอนกลายเป็นไฟบริน (fibrin) ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ประสานกันเป็นร่างแหอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือดบริวณปากแผลได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกโดยใช้เวลาที่สั้นลงนั่นเอง 

          นอกจากนี้ยังพบงานวิจัยที่ทดลองเกี่ยวกับกลไกการแข็งตัวของเลือด เพื่อศึกษากลไกการรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายของสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งวิเคราะห์จากองค์ประกอบที่ทําให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ เกล็ดเลือด, เส้นใยไฟบริน ต่าง ๆ เป็นต้น โดยใช้หนูแรทซึ่งเป็นเป็นสัตว์เลือดอุ่นมาทดลองเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยแบ่งเป็นหนูแรท 3 กลุ่มดังนี้คือ

  1. หนูแรทกลุ่มทดลองที่ได้รับโซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride) หรือ NaCl
  2. หนูแรทกลุ่มทดลองที่ได้รับผงชูรส (Monosodium glutamate) หรือ C5H8NO4Na
  3. หนูแรทกลุ่มมควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด ๆ

          โดยการวิจัยและทดลองเพื่อศึกษาหาข้อมูลและมีผลการทดลอง ดังต่อไปนี้

  1. การทดสอบระยะเวลาที่เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดเส้นใยไฟบรินของเลือดซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เลือดหยุดไหลนั่นเอง จากการทดลองพบว่าหนูแรทกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด ๆ มีการแข็งตัวของเลือดที่ช้ากว่ากลุ่มที่ได้รับสารโซเดียมคลอไรด์ และผงชูรส ทั้งนี้ก็เพราะว่าในกระบวนการแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีสารใด ๆ ไปเร่งการทำงานที่เกี่ยวกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
  1. ลักษณะการสานกันของเส้นใยไฟบรินของเลือด จากการทดลองพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับสารละละลายผงชูรสในการห้ามเลือด มีลักษณะการสานกันของเส้นใยไฟบรินที่หนาแน่น ทำให้อุดบริเวณปากแผลและหลอดเลือดได้ดีกว่าหนูแรทกลุ่มที่ไม่ได้รับสารห้ามเลือด

          ทั้งนี้ ก็สามารถสรุปผลการทดลองได้โดยรวมว่า หนูแรทที่ได้รับสารห้ามเลือดทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว สามารถห้ามเลือดได้ เนื่องมาจากสารทั้งสองชนิดมี Na+ เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง Na+ ดังกล่าว มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดนั่นเอง

แหล่งที่มา

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การใช้สมุนไพรในการบำบัดภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพของประชาชนในภาคกลาง. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. จาก http://ird.stou.ac.th/Researchlib/uploads/2555_014/บทที่ 4.pdf

นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล, กาญจนา ม่วงกล่ำ, ยุวดี วงศ์กระจ่าง. ผลของผงชูรสต่อไฟบริโนเจนในพลาสมา. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/department/clinical_pathology/home/publiction/th1987_7.htm

ไฟบริโนเจน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไฟบริโนเจน

องค์ประกอบ หน้าที่ และคุณสมบัติทั่วไปของเลือด. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. จาก http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/bloodweb/blood composition.htm

อุเทน ทักคุ้ม, ประสานพันธ์ และ รองเดช ตั้งตระการพงษ์ . การศึกษาผลกระทบของผงชูรส ต่อการห้ามเลือดในหนูทดลอง (เพศผู้).สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.thaiscience.info/Journals/Article/NUSJ/10888707.pdf

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
จริงหรือไม่ที่บอกว่าผลชูรสห้ามเลือดได้
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8505 จริงหรือไม่ที่บอกว่าผงชูรสห้ามเลือดได้ /article-biology/item/8505-2018-07-18-04-51-29
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)