logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เลือดเทียมมีจริงหรือไม่

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 15 พฤศจิกายน 2561
Hits
21220

         เคยได้ยินคำว่าเลือดเทียมกันมาบ้างหรือเปล่า ก่อนหน้านี้มีความเข้าใจผิดในเหล่าชาวบ้านในช่วงที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่ต่างจังหวัด ชาวบ้านมักจะเข้าใจผิดว่า น้ำเกลือผสมวิตามินออกเป็นสีเหลือง ๆ เป็นเลือดเทียม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่

8500 1
ภาพ บริจาคเลือด
ที่มา Pixabay

          ปัจจุบันเราสามารถสังเคราะห์พลาสมา (Plasma) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลือด ที่แยกเอาเม็ดเลือดออกแล้ว ซึ่งก็คือ น้ำเลือดหรือน้ำเหลืองนั่นเอง ซึ่งสามารถใช้รักษาคนไข้ที่เสียเลือดมาก ๆ ได้ เรียกว่า พลาสมาเทียม หรือ ไอโซพลาสมา (Isoplasma) ด้วยปัจจัยของชนิดเลือดที่เป็นที่ต้องการ และกลุ่มเลือดที่หายากต่าง ๆ ในปัจจุบัน เราก็ยังต้องเผชิญกับอายุของเลือดที่ได้รับการบริจาคมา ซึ่งสามารถเก็บในอุณหภูมิต่ำได้เพียงเดือนครึ่งเท่านั้น ทำให้ความต้องการเลือดไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

          ความสำเร็จทางการแพทย์เกี่ยวกับการสังเคราะห์เลือดเทียมเกิดขึ้นจริง แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนเลือดจริงตามธรรมชาติได้ 100 % เนื่องจากว่าในความเป็นจริงเลือดไม่ได้ประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดงเพียงอย่างเดียว และไม่ได้มีหน้าที่เพียงส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่อื่น ๆ ที่เลือดเทียมไม่สามารถทำงานได้เหมือเลือดจริงตามธรรมชาติ เช่น การต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจเข้ามาสู่ร่างกายได้ การสมานบาดแผลหรือกลไกการห้ามเลือดตามธรรมชาติ  ดังนั้น ณ ตอนนี้ สิ่งที่เลือดเทียมสามารถทำได้และนำมาทดแทนการทำงานได้แทนเลือดจริงก็คือ การขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกายและดึงเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกจากเซลล์ต่าง ๆ

          การสังเคราะห์เลือดเทียมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับ Perfluorocarbon หรือพอลิเมอร์ (Polymer) ที่มีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบร่วมกับคาร์บอน ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจับออกซิเจนได้ โดยผ่านกรรมวิธีละลายในตัวทำละลายและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ เพื่อคงสภาพให้สามารถใช้งานและไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย เลือดเทียมดังกล่าวมีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า Fluosol ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวไปข้างต้นถึงแม้ว่าจะสามารถทำงานทดแทนหน้าที่หลักของเลือดได้ แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนเลือดได้ทั้งหมด

          วิวัฒนาการทางการแพทย์ไม่ได้หยุดการค้นหาเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการหาเลือดเทียมเพียงเท่านี้ ในเวลาต่อมามีการทดลองการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่น่าหนักใจที่ว่า หากมันไม่ได้อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงมันก็เป็นพิษต่อร่างกายเรา เพราะมันจะไปทำปฏิกิริยากับเซลล์อื่น ๆ ที่กระจายอยู่ในเลือดและทำให้เกิดปัญหาได้ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการวิจัยทดลองเพื่อการค้นพบทางเลือกใหม่เกี่ยวกับการสังเคราะห์เลือดเทียมให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนกับเลือดตามธรรมชาติอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ดีว่า การค้นพบใหม่แต่ยังไม่สำเร็จ 100 % ก็คือ การสังเคราะห์เลือดจากการใช้เซลล์เริ่มต้น (stem cells) ของผู้บริจาคเลือด หรือจากไขสันหลัง มาเป็นทางออกของเรื่องนี้ เพื่อการผลิตจำนวนมากตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

          แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรรอความช่วยเหลือจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน สิ่งที่ทำได้ตอนนี้เลยก็คือ การบริจาคเลือดนั่นเอง

แหล่งที่มา

Somsak. เลือดเทียม. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/6234

Plook Creator. เลือดเทียมเพื่อทดแทนการบริจาค. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/61734/-scihea-sci-

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เลือด, สังเคราะห์, พลาสมา, Plasma, เม็ดเลือด, เม็ดเลือดแดง, เซลล์, น้ำเลือด, น้ำเหลือง, เสียเลือด, พลาสมาเทียม, ไอโซพลาสมา, Isoplasma, Perfluorocarbon, พอลิเมอร์, Polymer, วิวัฒนาการทางการแพทย์, แพทย์, หมอ, ผู้ป่วย, คนไข้, ฮีโมโกลบิน, Hemoglobin, เซลล์เริ่มต้น, stem cells, บริจาคเลือด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8500 เลือดเทียมมีจริงหรือไม่ /article-biology/item/8500-2018-07-18-04-47-26
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)