logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

“อ่านเหมือนไม่ได้อ่าน” สถานการณ์ของความสนใจ

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 07 พฤศจิกายน 2561
Hits
15426

          นักเรียนหลายคนอาจเคยเจอสถานการณ์ที่ตัวเองอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียนซ้ำไปมาหลายรอบแต่สุดท้ายก็ยังไม่เข้าใจความหมายและมักจะพูดกับตัวเองด้วยประโยคที่ว่า “อ่านก็เหมือนไม่ได้อ่าน” แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

8490 1

ภาพที่ 1 การอ่านหนังสือ
ที่มา https://pixabay.com , Pezibear

          สาเหตุของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับระบบความคิดและประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจ  แต่อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงไม่เข้าใจกระบวนการทำงานดีพอนัก ดังนั้นความรู้ด้านกระบวนการทางสรีรวิทยา (Physiological processes) ที่ควบคุมดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องที่มีนั้นยังไม่สามารถอธิบายได้เพียงคำตอบเดียว จึงต้องอาศัยการสนับสนุนจากหลักฐานทางการศึกษาร่วมด้วย

          แม้ว่าคุณจะไม่ทราบว่าคุณอ่านบทเรียนเกี่ยวกับชีววิทยาในเรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตจบได้อย่างไรโดยที่ไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน ข้อมูลดังต่อไปนี้แม้จะเป็นเพียงการพิจารณาถึงเหตุและผลแต่ก็เป็นสาระสำคัญที่พยายามจะตอบคำถามถึงสาเหตุของสถานการณ์ดังกล่าว

          ทฤษฎีเฮ็บเบียน (Hebbian theory)

          เมื่อคุณกำลังอ่านบางสิ่งบางอย่าง สมองจะเชื่อมต่อเนื้อหาที่อ่านเข้ากับหน่วยความจำ ทั้งนี้ทฤษฎีเฮ็บเบียน (Hebbian theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับประสาทวิทยาที่เสนอโดยโดนัลด์ เฮ็บบ์ ในปี ค.ศ. 1949 โดยได้อธิบายเกี่ยวกับการปรับตัวของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงที่มีการเรียนรู้ไว้ว่า "การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสองเซลล์จะนำไปสู่การเพิ่มกำลังของไซแนปส์ (Synaptic strength) ของเซลล์เหล่านั้นได้หากเซลล์ประสาทมีการทำงานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน"  ซึ่งเพื่อให้เกิดการทำงานดังกล่าว การให้ความสนใจกับสิ่งที่กำลังอ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็นหรือหมายความว่า เราควรทำบางอย่างกับตัวอักษรหรือบทความในขณะกำลังอ่านตรงหน้า เช่น การสร้างมโนภาพขึ้นในหัวหรือการสรุปความในใจ เป็นต้น การกระทำเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความจำระยะสั้น (Working memory) ที่สามารถช่วยสร้างการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองได้

          ในทางตรงกันข้ามขณะที่คุณกำลังคิดถึงเรื่องอื่นที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่กำลังอ่านอยู่ หน่วยความจำระยะสั้นจะถูกครอบงำโดยความคิดเหล่านั้น นั่นทำให้ไม่สามารถสร้างการเชื่อมต่อกับภายในฐานความรู้ได้ ดังนั้นแม้ว่าเราจะอ่านจบทั้งเล่มก็ไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากสมองไม่สามารถประมวลผลให้เข้าใจถึงความหมายของสิ่งที่อ่านได้

8490 3

ภาพที่ 2 สมาธิก็เหมือนกับไฟสปอร์ตไลท์บนเวทีการแสดง
ที่มา https://pixabay.com , Pexels

          สิ่งที่ควรกระทำคือ การมีสมาธิ โดยให้คิดว่าสมาธิเป็นเหมือนไฟสปอร์ตไลท์บนเวทีการแสดงที่ช่วยนำทางและดึงดูดความสนใจ และเพ่งความสนใจเฉพาะสิ่งที่อยู่ภายใต้ไฟสปอร์ตไลท์ แม้ว่าจะมีสิ่งต่างๆ มากมายเกิดขึ้นนอกสปอร์ตไลท์ก็ตาม การกระทำเช่นนั้นจะทำให้เราเข้าใจความหมายของสิ่งที่แสดงให้เห็นภายใต้ไฟสปอร์ตไลท์ได้สมบูรณ์มากขึ้น ในทำนองเดียวกันเมื่อคุณกำลังอ่านหนังสือ แต่ความคิดของคุณไม่ได้มีความสัมพันธ์กับตัวหนังสืออย่างเต็มที่ นั่นทำให้ไม่เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เพิ่งอ่านอย่างสมบูรณ์ได้เนื่องจากสปอตไลท์ของคุณมุ่งเน้นอยู่ที่อื่น

          ระบบความใส่ใจของมนุษย์ (Human attentional system)

          ระบบความใส่ใจของมนุษย์เป็นอีกหนึ่งสาระสำคัญที่จะช่วยอธิบายสถานการณ์ความล้มเหลวในการอ่านของคุณ  อย่างไรก็ดีในชีวิตประจำวันมีข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของเรา และคงจะไม่เป็นเรื่องดีแน่ หากว่ามนุษย์ไม่มีวิธีจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น แต่ด้วยมนุษย์มีระบบความสนใจซึ่งเป็นเหมือนหน่วยคัดกรองข้อมูลที่ตรงกับความต้องการจริง ๆ จึงทำให้เราไม่ต้องปวดหัวกับข้อมูลจำนวนมหาศาล

          ทั้งนี้ตามที่ดาเนียล เลวิติน นักวิทยาศาสตร์และผู้เขียนหนังสือ The Organized Mind ระบุไว้ว่าระบบความสนใจของมนุษย์แบ่งออกได้ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนการบริหารข้อมูลส่วนกลาง ส่วนการสำรวจความคิด ส่วนคัดกรองความสนใจ และส่วนการสับเปลี่ยนความสนใจ โดยแต่ละส่วนจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน

      8490 4   

ภาพที่ 3 การอ่านหนังสือด้วยการมีสมาธิและให้ความสนใจจะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา https://pixabay.com , libellule789

          การใช้เวลาในการอ่านหนังสือมากขึ้นไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน ดังนั้นส่วนคัดกรองความสนใจจะค่อย ๆ กันส่วนที่เป็นภาพกว้างของเนื้อหาออก ในทางกลับกันความสนใจของคุณจะถูกจัดการโดยส่วนการบริหารข้อมูลส่วนกลาง ซึ่งในส่วนนี้จะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เรามักจะรู้สึกเหนื่อยล้าจากการอ่านเพื่อทำความเข้าใจคำถามแต่ละคำถามในการสอบที่ยาวนาน เนื่องด้วยการให้ความสำคัญกับบางสิ่งบางอย่างจะทำให้สมองทำงานหนักขึ้นและส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น

          สมองของมนุษย์มีการออกแบบการทำงานในลักษณะของความพยายามที่จะลดความมุ่งมั่นตั้งใจลง ซึ่งทำให้การกำหนดเป้าหมายในการอ่านถูกจัดอยู่ในส่วนของการสำรวจความคิด ผลก็คือเรายังสามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการสนใจจุดประสงค์ของเนื้อหา ในขณะเดียวกันก็สามารถคิดถึงบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่อ่านได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ส่วนของการสำรวจความคิดเป็นส่วนที่ไม่ได้ส่งผลดีต่อการประมวลผลข้อมูล เนื่องด้วยผลลัพธ์ก็คือ คุณจะไม่เข้าใจสิ่งที่อ่านแม้ว่าคุณจะอ่านทบทวนซ้ำแล้วหลายร้อยรอบก็ตาม

          แม้ว่าการมีสมาธิต่อเรื่องที่กำลังอ่านจะเป็นเรื่องยาก แต่เพื่อการอ่านที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสนใจกับสิ่งที่กำลังอ่านจึงเป็นสิ่งสำคัญ คำแนะนำดังต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณสามารถให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการอ่านได้มากขึ้น

  • ศึกษาบทนำหรือสารบัญของเรื่องที่กำลังอ่าน
  • มีสมาธิกับส่วนสำคัญของเนื้อหาที่ต้องเข้าใจ
  • พยายามทำความเข้าใจหรือหาจุดเริ่มต้นในแต่ละส่วนของเรื่อง
  • สร้างมโนภาพของเรื่องที่กำลังอ่านขึ้นและค่อย ๆ ทำความเข้าใจภาพเหล่านั้นทีละฉาก
  • ทบทวนภาพรวมของกรอบความคิดหรือค้นหาคำสำคัญ
  • คาดเดาการสื่อความหมายในส่วนของเนื้อหาที่ทำให้ไม่เข้าใจจากบริบทโดยรอบ

แหล่งที่มา

Ashish. (2018, January 23). How Can We Sometimes Keep Reading, But Not Understand Anything We Read?.  Retrieved May 24, 2018, From https://www.scienceabc.com/eyeopeners/how-can-we-sometimes-keep-reading-but-not-understand-anything-we-read.html

Hebbian Learning Rule.  Retrieved May 24, 2018, From http://penta.ufrgs.br/edu/telelab/3/hebbian_.htm

Appedix D: Artificial Neural Network. Retrieved May 24, 2018, From http://web.mit.edu/mcraegroup/wwwfiles/ChuangChuang/thesis_files/Appendix%20D_Artificial%20Neural%20Network.pdf

What to Do When You Don't Understand What You're Reading.  Retrieved May 24, 2018,  From http://www.shsu.edu/centers/testing-center/tips/dontk5.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อ่าน, อ่านหนังสือ, หนังสือ, กระบวนการทางสรีรวิทยา, Physiological processes, สมอง, สมาธิ, ทฤษฎีเฮ็บเบียน, Hebbian, theory, ความจำ, ระบบความใส่ใจของมนุษย์, Human attentional system
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8490 “อ่านเหมือนไม่ได้อ่าน” สถานการณ์ของความสนใจ /article-biology/item/8490-2018-07-18-04-29-55
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)