logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วิทยาศาสตร์ของอาการบ้าจี้

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 24 กันยายน 2561
Hits
27092

         หากคุณเป็นหนึ่งคนที่หัวเราะจนถึงขั้นน้ำตาไหลเมื่อมีคนมาแตะส่วนของร่างกายในบริเวณที่ไวต่อความรู้สึกเช่น รักแร้ หน้าท้อง ด้านข้างลำตัว ฝ่าเท้า และลำคอ นั่นหมายความว่า คุณมีอาการบ้าจี้ บางคนอาจรู้สึกจั๊กจี้ได้มากจากการถูกสัมผัสเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนกลับไม่แสดงอาการอื่นใดให้เห็น และไม่ว่าคุณจะมีอาการบ้าจี้หรือไม่ นี่คือคำอธิบายที่จะช่วยให้เข้าใจอาการบ้าจี้มากยิ่งขึ้น

8471 1

ภาพที่ 1 อาการบ้าจี้
ที่มา https://www.flickr.com ,Padu Merloti

          ในบรรดาประสาทสัมผัสทางกายภาพ อาการบ้าจี้เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมานานกว่า 2,000 ปี ถึงเช่นนั้นแม้ว่าอาการบ้าจี้จะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจของบรรดาผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคอย่างอริสโตเติล แต่กลไกของอาการก็ยังคงไม่มีความชัดเจน

          Granville Stanley Hall นักจิตวิทยาชาวอเมริกันจัดประเภทของอาการบ้าจี้ไว้ 2 รูปแบบคือ Gargalesis และ Knismesis  สำหรับ Gargalesis จะเป็นลักษณะของเสียงหัวเราะที่มาพร้อมกับความอึดอัดใจ หรือในบางครั้งรู้สึกเหมือนถูกขโมยลมหายใจ ซึ่งลักษณะเช่นนั้นเกิดจากการถูกสัมผัสซ้ำๆ ในบริเวณที่ไวต่อความรู้สึก ในขณะที่ Knismesis จะเป็นอาการบ้าจี้ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวที่เบาบางบนผิวหนัง หรือรู้สึกยิบๆ ที่ทำให้ต้องการเกาหรือถูร่างกายในบริเวณนั้นเช่น เมื่อถูกรบกวนจากแมลง อย่างไรก็ดีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า อาการบ้าจี้อาจเป็นวิวัฒนาการในการปรับตัวเพื่อพัฒนากลไกการป้องกันตัวเองและปกป้องพื้นที่ที่ไวต่อความรู้สึกบนร่างกาย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการทำให้รู้สึกจั๊กจี้นั้นเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์

          เสียงหัวเราะกับอาการบิดตัวไปมา

         สัมผัสของมนุษย์เป็นความรู้สึกที่มีพลังที่เราสัมผัสได้ในทันที่ที่มีลมหายใจเป็นของตัวเองครั้งแรก  เราตอบสนองต่อการสัมผัสทั้งทางร่างกายและอารมณ์ในส่วนที่ไวต่อความรู้สึกมากกว่าบริเวณอื่น ๆ บนร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกทำให้รู้สึกจั๊กจี้

8471 2

ภาพที่ 2 การหัวเราะอย่างหนักจากการถูกทำให้จั๊กจี้
ที่มา https://www.flickr.com ,Marie Castaigne

          เราหัวเราะเมื่อถูกทำให้รู้สึกจั๊กจี้นั่นเพราะว่า การจั๊กจี้กระตุ้นสมองส่วนโรแลนดิคโอเพอร์คิวลัม (Rolandic operculum) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบหน้า เสียง และปฏิกิริยาทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการตอบสนองแบบเผชิญหน้าหรือวิ่งหนี รวมทั้งการตอบสนองต่อความเจ็บปวด นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราจะรู้สึกอึดอัดใจเมื่อเราถูกทำให้รู้สึกจั๊กจี้

          เสียงหัวเราะที่เกิดจากกการจั๊กจี้ไม่ได้หมายความว่า เรากำลังมีความสุขหรือสนุก แต่นั่นเป็นเพราะการตอบสนองที่เรียกว่า การตอบสนองทางอารมณ์โดยอัตโนมัติ (Autonomic emotional response) อย่างไรก็ดีหากลองสังเกตอาการบ้าจี้จะพบว่า อาการบิดไปมาของคนที่ถูกทำให้จั๊กจี้นั้นคล้ายกับอาการของคนที่กำลังมีความเจ็บปวด ทั้งนี้การศึกษาหนึ่งในอดีตยังให้ข้อมูลสนับสนุนว่า ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดและการสัมผัส (Pain and touch nerve receptors) จะถูกกระตุ้นในระหว่างการถูกทำให้จั๊กจี้ และคนที่ถูกจั๊กจี้จะหัวเราะอย่างหนักเมื่อถูกจั๊กจี้โดยบุคคลหรืออุปกรณ์อื่นใดมากกว่าการจั๊กจี้ตัวเอง

          กระตุ้นความรู้สึกจั๊กจี้ด้วยตนเอง

          เราไม่สามารถทำให้ตัวเองรู้สึกจั๊กจี้ได้เนื่องด้วยสมองของเราจะใช้การเคลื่อนไหวและเจตนาของการกระทำในการประเมินการตอบสนองต่อความรู้สึก ซึ่งนั่นจะช่วยลดทอนความรู้สึกจั๊กจี้ลงได้เมื่อตัวเองเป็นผู้กระทำ

          นักวิจัยเชื่อว่า เมื่อมีการสัมผัสจากบุคคลหรืออุปกรณ์อื่น ๆ  รูปแบบของความรู้สึกจั๊กจี้ในลักษณะของ Knismesis อาจเป็นส่วนหนึ่งของระบบประมวลผลในการพิจารณาถึงบางสิ่งที่กำลังสัมผัสเรา ในขณะที่ Gargalesis จะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะต่อสู้ ด้วยเสียงหัวเราะที่เหมือนเป็นการสนับสนุนให้ผู้ที่ทำให้เกิดความรู้สึกจั๊กจี้กระทำการกระตุ้นความรู้สึกผู้ถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง คนที่ถูกทำให้รู้สึกจั๊กจี้จะพยายามป้องกันส่วนที่ไวต่อความรู้สึกบนร่างกายของตนเอง

          การเกิดขึ้นของอาการบ้าจี้

          อาการบ้าจี้เริ่มเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุ 4 เดือน และจะเริ่มตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเสียงหัวเราะเมื่อมีอายุได้ 6 เดือน ทั้งนี้ความล่าช้าในการตอบสนองอาจเข้าใจได้ว่า เด็กทารกสามารถรับรู้และรู้สึกได้ถึงการถูกจั๊กจี้ แต่เพียงไม่ทราบว่าการกระตุ้นนั้นคืออะไร เนื่องด้วยยังไม่มีการเชื่อมโยงความรู้สึกจั๊กจี้เข้ากับการกระตุ้นภายนอกเช่นเดียวกับสิ่งที่พวกเขาเห็น ได้กลิ่น หรือได้ยิน อย่างไรก็ดีเกมจั๊กจี้กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไประหว่างผู้ใหญ่กับเด็กทารก เนื่องด้วยผู้ใหญ่มักคิดว่าเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กอาจจะหัวเราะแต่พวกเขาไม่ได้รู้สึกสนุกหรือมีความสุขกับการกระทำเหล่านั้น นอกจากนี้การกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกจั๊กจี้อย่างรุนแรงควรจะกระทำในเด็กที่โตพอจะรับรู้และหลีกหนีได้แล้วเพื่อที่พวกเขาจะสามารถส่งสัญญาณให้เห็นถึงจุดที่ควรหยุดการกระทำที่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกจั๊กจี้เหล่านั้นได้

        8471 3 

ภาพที่ 3 ไม่ควรทำให้เด็กเล็กจั๊กจี้
ที่มา https://www.flickr.com ,Tony Alter

          ไม่ว่าคุณจะมีความคิดเห็นอย่างไรกับความเข้าใจที่ว่าการจั๊กจี้เป็นกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคม สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักก็คือ ขอบเขตในการเล่นสนุก ดังนั้นอย่าพยายามบังคับให้ใครต้องเล่นเกมจั๊กจี้ทั้งที่เขาไม่เต็มใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก นอกจากนั้นแล้วการส่งสัญญาณเตือนของความอึดอัดใจที่เกิดขึ้นของฝ่ายตรงข้ามเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรกๆ

แหล่งที่มา

Anina Rich and Mark Williams. (2018, March 28). Curious Kids: Why are we ticklish?. Retrieved April 30, 2018,  From https://theconversation.com/curious-kids-why-are-we-ticklish-92419

Annette McDermott. (2016, December 20). What Causes the Tickle Response? . Retrieved April 30, 2018, From https://www.healthline.com/health/why-are-people-ticklish#takeaway

Lizette Borreli. (2015, April 17). Tickle, Tickle: The Science Behind Being Ticklish, And How To Overcome It.  Retrieved April 30, 2018, From https://www.medicaldaily.com/pulse/tickle-tickle-science-behind-being-ticklish-and-how-overcome-it-329802

Neuroscience News. (2016, November 11). Why Are We Ticklish? . Retrieved April 30, 2018, From http://neurosciencenews.com/touch-tickle-sensation-5484/

Christine R. Harris.The mystery of ticklish laughter. American Scientist. 1999. 87; 344.  Retrieved April 30, 2018, From http://charris.ucsd.edu/articles/Harris_AS1999.pdf

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อาการบ้าจี้, บ้าจี้, จั๊กจี้, หัวเราะ, เสียงหัวเราะ, สัมผัส, พฤติกรรม, ปฏิกิริยา, กระตุ้นความรู้สึก, กระตุ้น, ความรู้สึก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8471 วิทยาศาสตร์ของอาการบ้าจี้ /article-biology/item/8471-2018-07-18-04-02-14
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)