logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วิธีการใหม่! ตรวจเลือดคัดกรองอัลไซเมอร์

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันศุกร์, 27 กรกฎาคม 2561
Hits
17285

          โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยมีความจำและความสามารถในการรับรู้ลดลง มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ที่แปรปรวน สับสน และมีอาการเลอะเลือน  ทั้งยังเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

7929 1

ภาพที่ 1 ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ที่มา mikegi/Pixabay

          นับเป็นครั้งแรกของโลกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นวิธีการตรวจสอบโรคอัลไซเมอร์ที่ถูกต้องและแม่นยำได้ด้วยวิธีการตรวจเลือด ทั้งนี้การทดสอบยังสามารถระบุการก่อตัวของโรคได้ถึง 20 ปีก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ โดยวิธีการใหม่ที่ถูกพัฒนาใหม่นี้ เป็นความร่วมมือกันของนักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีแนวคิดหลักคือ การประเมินระดับของโปรตีนบีตา-แอมีลอยด์ที่สะสมอยู่ภายในสมอง

         หนึ่งในพยาธิสภาพที่เป็นจุดเด่นของโรคอัลไซเมอร์คือ การพบการสะสมของชิ้นส่วนโปรตีนแอมีลอยด์ (Amyloid Protien) ระหว่างเซลล์ประสาท (Neurons) ภายในสมองที่เรียกว่า แอมีลอยด์พลาก (Amyloid Plaque) โดยในร่างกายของมนุษย์ที่มีสุขภาพดี ชิ้นส่วนของโปรตีนเหล่านี้จะถูกย่อยสลายและกำจัดออกได้ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะเกิดการสะสมจนหนาตัวขึ้นและกำจัดออกไปได้ยาก สำหรับรูปแบบของชิ้นส่วนของโปรตีนที่ประกอบกันเป็นพลาก (plaque) ที่เชื่อมโยงถึงโรคอัลไซเมอร์คือโปรตีนที่มีชื่อว่า บีตา-เอมีลอยด์ (Beta-amyloid protein)

        การทดสอบทางคลินิกเพื่อระบุถึงจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคอัลไซเมอร์นั้นยังไม่มีการทดสอบอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะได้รับการวินิจฉัยด้วยการประเมินโดยวิธีการสแกนสมองหรือการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ร่วมกับการทดสอบทางจิตวิทยา แต่สำหรับวิธีการทดสอบใหม่ของทีมวิจัยนี้จะใช้เพียงตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยในการตรวจหาระดับของโปรตีนที่เป็นพิษที่พบในเลือด เพื่อทำการประเมินถึงปริมาณของการสะสมของชิ้นส่วนโปรตีนบีตา-แอมีลอยด์ที่อาจพบในสมอง

       ทีมวิจัยใช้ตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยจำนวน 121 คนจากประเทศญี่ปุ่นและอีก 252 คนจากประเทศออสเตรเลีย โดยกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะมีสุขภาพที่แตกต่างกันตั้งแต่อ่อนแอไปจนถึงมีความบกพร่องทางความจำหรือมีอาการของโรคสมองเสื่อม จากนั้นทำการทดสอบด้วยหลักการ Mass Spectrometry เพื่อแยกสารและสแกนหาส่วนของเปปไทด์และสารประกอบของกรดอะมิโนที่มีความเชื่อมโยงกับความเข้มข้นของโปรตีนบีตา-แอมีลอยด์จากตัวอย่างเลือด ซึ่งจากการทดสอบพบ อัตราส่วนของโปรตีนในตัวอย่างเลือดที่สามารถประเมินถึงการสะสมของโปรตีนบีตา-แอมีลอยด์ในสมองได้อย่างถูกต้อง แต่สำหรับจุดเริ่มต้นและการพัฒนาของโรคอัลไซเมอร์นั้นยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่กว้างขึ้นเพื่อยืนยันถึงข้อมูลและผลลัพธ์ที่ชัดเจน

        อย่างไรก็ดีการพบระดับของโปรตีนบีตา-แอมีลอยด์ที่ผิดปกติ รวมทั้งโปรตีนชนิดอื่นที่ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญต่อภาวะสมองเสื่อมก็แสดงให้เห็นถึงการสะสมของชิ้นส่วนโปรตีนที่เกิดขึ้นก่อนจะมีการแสดงอาการของโรค เช่น การสูญเสียความทรงจำ เป็นต้น ซึ่งอาจจะสะสมมาก่อนหน้าเป็นเวลานานถึง 20-30 ปี และแม้ว่าผลการศึกษาที่ได้จากวิธีการทดสอบนี้จะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังคงสามารถทำได้เพียงในห้องปฏิบัติการซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีในการพัฒนาวิธีการให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้กับการทดลองทางคลินิกในอนาคต

7929 3

ภาพที่ 2 โรคอัลไซเมอร์
ที่มา Alex Boyd/Unsplash

         คงจะดีไม่น้อย หากมนุษย์สามารถคาดการณ์ภาวะสุขภาพของตนเองได้จากการตรวจสุขภาพ เพราะนั่นหมายความว่า เราสามารถใช้ข้อมูลสุขภาพให้เป็นแนวทางในการป้องกัน หรือเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอาการของโรคได้อย่างเหมาะสม และแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่เห็นผลอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งการออกกำลังกาย วิธีการเหล่านี้อาจช่วยลดผลกระทบของโรคสมองเสื่อมได้

แหล่งที่มา

Leonie Mellor and Tim Swanston. (2018, 1 February). New blood test detects Alzheimer's disease up to 20 years before symptoms begin.
          Retrieved February 24, 2018,
          from http://www.abc.net.au/news/2018-02-01/new-alzheimers-blood-test-qld/9380716

DAVID NIELD. (2018, 1 February). New Blood Test For Alzheimer's Is So Precise It Could Predict It 30 Years Ahead.
          Retrieved February 24, 2018,
          from https://www.sciencealert.com/new-blood-test-could-be-vital-alzheimers-early-warning-system

Zahid Mahmood. (2018, 1 February). Blood test detects proteins linked to Alzheimer's disease
          Retrieved February 24, 2018,
          from https://edition.cnn.com/2018/02/01/health/alzheimers-blood-test-study-intl/index.html

Amyloid.
         Retrieved February 24, 2018,
         from https://en.wikipedia.org/wiki/Amyloid

Amyloid Plaques and Neurofibrillary Tangles.
         Retrieved February 24, 2018,
         from https://www.brightfocus.org/alzheimers/infographic/amyloid-plaques-and-neurofibrillary-tangles

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อัลไซเมอร์,ตรวจ,เลือด,คัดกรอง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 21 มีนาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7929 วิธีการใหม่! ตรวจเลือดคัดกรองอัลไซเมอร์ /article-biology/item/7929-2018-03-19-04-00-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)