logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 13 กรกฎาคม 2561
Hits
29097

          หากลูกหลานหรือเด็กที่คุณรู้จักตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบขึ้นไป ปรากฏพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ชอบเล่นหรือทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ไม่สนใจใครและไม่สบตาผู้อื่น อาจมีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่เขากำลังจะอยู่ในภาวะบกพร่องทางพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง ที่เราเรียกว่า แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger's Syndrome)  ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกันว่าเป็นอย่างไร มีวิธีการแก้ไขและดูแลอย่างไรบ้าง

7858 1

ภาพที่ 1 เด็กที่มีสมาธิหรือสนใจกิจกรรมใด ๆ ซ้ำ ๆ นิ่ง ๆ ไม่สบตาหรือสนใจกิจกรรมอื่น
ที่มา https://www.webmd.com/brain/autism/mental-health-aspergers-syndrome#1

          คุณหมอ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) เป็นคุณหมอที่ค้นพบโรคนี้เป็นคนแรก เมื่อปี  ค. ศ. 1940  ซึ่งค้นพบและรายงานความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาการของเด็ก  โดยกล่าวว่าเป็นความผิดปกติของพัฒนาการด้านสังคม และการสื่อสาร   มีลักษณะเฉพาะตัวจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคออทิสติก (Autistic Disorder) พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายที่มีความเฉลียวฉลาด และสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ  มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาปกติ พูดและเรียนรู้ภาษาได้ตามปกติของเกณฑ์อายุ หรือพูดได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่อาจไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาคำพูดที่ยากหรือลึกซึ้งได้ เช่น มุขตลก คำเปรียบเปรย และมีปัญหามากในด้านทักษะการเข้าสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจ และการปฏิบัติตนร่วมกับคนอื่น ๆ ที่อาจแสดงความเป็นตัวของตนเองไม่สนใจคนรอบข้างออกมาโดยชัดเจน เป็นต้น ก่อนหน้านี้มีความเข้าใจผิดคิดว่าแอสเพอร์เกอร์ ก็คือเด็กที่เป็นออทิสติก แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เด็กที่เป็นโรคออทิสติกจะมีปัญหาเรื่องการพูดมากกว่า รวมทั้งอาการผิดปกติอย่างอื่นที่รุนแรงกว่า

7858 2
ภาพที่ 2 คุณหมอ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger)
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Hans_Asperger

          แม้ว่าการดำเนินชีวิตจะเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่า เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีปัญหาในการเข้าสังคม โดยมักพบพฤติกรรมที่อาจจะไม่ค่อยสนใจในความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจหรือมีอารมณ์ร่วมกิจกรรมกับคนอื่น ๆ ทำให้มีปัญหาในการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง พบว่าปัญหาเหล่านี้ จะยังคงอยู่ไปตลอด แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้น และมีวุฒิภาวะมากขึ้นตามวัยแล้วก็ตาม

         มีการศึกษาวิจัยที่ได้กล่าวหาว่านักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  และ  เซอร์ไอแซค นิวตัน  ก็ป่วยเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม จากพฤติกรรมในวัยเด็กที่มีลักษณะพูดซ้ำ ๆ และสื่อสารกับคนไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็มีนักจิตแพทย์ออกมาโต้แย้ง โดยให้เหตุผลทางหลักการจิตวิทยาว่าเพราะไอน์สไตน์เป็นบุคคลฉลาด   สิ่งที่เขาพูดและสื่อสารออกมา ใช่ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย และอีกเหตุผลหนึ่งของพฤติกรรมความเป็นอัจฉริยะ ย่อมที่จะต้องหมกมุ่นครุ่นคิดในงาน  เพื่อค้นหาทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเอาชนะตัวเอง  การปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับบุคคลอื่นอาจเป็นการเสียเวลางาน  หรือแม้จะเข้าวงสังคม  ก็คุยไม่รู้เรื่อง เพราะมีความฉลาดมากไป  พอคนอื่นพูดคุยด้วย ก็ไม่สามารถคุยกันเข้าใจ  เพราะคนพูดด้วยฉลาดน้อยไป จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเลือกการอยู่กับตัวเองอยู่กับงานมากกว่าอยู่กับบุคคลอื่น  เพราะนั่นทำให้เขามีเวลาเพิ่มมากขึ้น สำหรับการได้คิดค้นอะไรใหม่ ๆ 

          การช่วยเหลือแก้ไขและดูแลเด็กที่มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม ต้องอาศัยการดูแลและช่วยเหลือจากคนในครอบครัวเป็นสำคัญดังนี้

  • เล่นกับเด็กคนนั้นโดยให้ความสนใจกับเขาเป็นที่ตั้ง แล้วค่อย ๆ ปรับความสนใจไปทางอื่นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ใช้คำพูดง่าย ๆ ในการสื่อสาร อาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เป็นตัวช่วยให้เห็นภาพ
  • สร้างบรรยากาศสบาย ๆ อบอุ่น ไม่เครียด 
  • ควรจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และเรียนรู้กฎระเบียบในกลุ่มเล็ก ๆ ก่อน
  • การใช้คำสั่งกับเด็กกลุ่มนี้ต้องมีความสม่ำเสมอชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลง
  • ส่งเสริมให้เด็กเล่นกิจกรรมหลากหลายแบบเพื่อเบนความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป

          ดังนั้น การให้ความรักความเข้าใจและให้สนับสนุนอย่างถูกต้อง  จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้

แหล่งที่มา

นายแพทย์จอม ชุมช่วย.   แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger's Syndrome).  สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561, จาก
          http://www.manarom.com/sara/07/7.pdf

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.    เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม.  สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561, จาก
          http://www.happyhomeclinic.com/au28-aspergersyndrome.htm

รู้จักแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger syndrome) ลูกเราผิดปกติหรือเปล่า.  สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561, จาก
          http://www.rakluke.com/article/24/121/4667/รู้จักแอสเพอร์เกอร์-ซินโดรม-asperger-syndrome-ลูกเราผิดปกติหรือเปล่า

อัจฉริยะแอสเพอร์เกอร์.  สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561, จาก
          http://thaiasperger.blogspot.com/2008/07/blog-post_8020.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม, Asperger's Syndrome
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 04 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7858 แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม /article-biology/item/7858-2018-02-22-02-40-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)