logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ทำไมบางคนจึงกลัวภาพบางภาพ?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 23 พฤศจิกายน 2560
Hits
22821

 

          คำเตือน  ภาพที่จะได้เห็นดังต่อไปนี้อาจทำให้คุณผู้อ่านบางท่านรับประทานอาหารเช้าไม่ลง หรือไม่ก็นอนฝันร้ายได้ในคืนนี้ หากคุณมั่นใจว่าสามารถชมภาพด้านล่างนี้ได้ ขอย้ำอีกครั้งว่า ผู้เขียนได้พยายามเตือนผู้อ่านแล้ว!

7573 1

ภาพที่  1 สตรอว์เบอรรี่
ที่มา ulleo/pixabay

          หากภาพด้านบนทำให้คุณผู้อ่านรู้สึกอึดอัดใจหรือรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ คงต้องแจ้งให้ท่านทราบตรงนี้ว่าเนื้อหาภายในบทความยังคงมีภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายภาพที่จะช่วยในการประเมินให้ท่านทราบว่า ท่านกำลังได้รับผลกระทบจากภาวะความหวาดกลัวต่อรูหรือหลุมหรือที่เรียกว่า Trypophobia

          ภาวะ Trypophobia ถูกอธิบายว่าเป็นความหวาดกลัวในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกลัวหรือรังเกียจสิ่งที่มีพื้นผิวเป็นรูปวงกลมที่ไม่แน่นอน รูกลวง หรือหลุม เช่น หลุมในฟองน้ำ, รังผึ้ง, สตรอว์เบอร์รี, รูบนเนยแข็ง หรือแม้กระทั่งฟองอากาศในถ้วยกาแฟ ซึ่งรูปร่างเหล่านี้อาจดูเหมือนเป็นภาพธรรมดาสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับประชากรราว 15% จากทั่วโลก เพียงแค่มองภาพดังกล่าวไม่กี่วินาทีก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวล รวมทั้งความรู้สึกขยะแขยงได้

7573 2

ภาพที่ 2 ฟองน้ำล้างจาน ที่
มา  41330/pixabay

          นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Kent ในสหราชอาณาจักรเชื่อว่า พวกเขาได้พบสาเหตุของภาวะที่เรียกว่า ความเกลียดชังต่อปรสิตและโรคที่หยั่งรากลึก (a deep-seated aversion to parasites and disease) โดยการศึกษาของพวกเขาได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Cognition and Emotion แสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองเพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดเชื้อหรือการติดเชื้อปรสิต ซึ่งเน้นที่การติดเชื้อหลายรูปแบบในลักษณะของรอยโรคที่เป็นวงกลมและหลุม เช่น หนอนในผิวหนังมนุษย์, ฝีดาษ, หัด, หัดเยอรมัน, ไข้รากสาด, ไข้อีดำอีแดง เป็นต้น

          เป็นที่ทราบกันดีว่า การตอบสนองที่หลากหลายของความขยะแขยงและความรังเกียจเกิดจากวิวัฒนาการในการหลีกเลี่ยงแหล่งที่มาของการติดเชื้อ ตัวอย่างเช่น คนจำนวนมากรังเกียจเลือดและกลิ่นเหม็น ปัจจัยดังกล่าวก็จะทำหน้าที่ในการยับยั้งผู้คนจากแหล่งเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยที่เป็นไปได้ เช่นว่าหากไม่ชอบหรือรังเกียจสิ่งใดก็จะตอบสนองโดยการหลีกเลี่ยงต่อสิ่งนั้น

7573 3

ภาพที่ 3 รังผึ้ง 
ที่มา speculator/pixabay

          การศึกษาของทีมนักวิจัยได้ทำการคัดเลือกอาสาสมัครทั้งหมด 600 ท่าน โดยกลุ่มหนึ่งคือผู้ที่มีภาวะ trypophobia ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่มีผู้ที่มีภาวะดังกล่าว เพื่อดูภาพที่เป็นภาพหลุมต่างๆ รวมทั้งภาพในลักษณะคล้ายคลึงกันและทำการตอบแบบสอบถาม

          สำหรับภาพ 16 ภาพที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 8 ภาพเป็นรูปของรอยโรคบนอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผดผื่น หรือเห็บบนผิวหนัง และอีกจำนวน 8 ภาพจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิเช่น รูที่เจาะบนผนัง ฝักเมล็ดบัว เป็นต้น

7573 4

ภาพที่ 4 ฝักเมล็ดบัวแห้ง
ที่มา sonjaehoon/pixabay

          ผลการศึกษาพบว่า รอยโรคทั้ง 8 ภาพกระตุ้นการตอบสนองเชิงลบของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม และสำหรับภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของโรคสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองในลักษณะเดียวกันได้ในกลุ่มของผู้ที่มีภาวะ trypophobia ซึ่งบุคคลที่มีภาวะดังกล่าวจะแสดงความรู้สึกรังเกียจ คลื่นไส้ และกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียนได้เมื่อได้เห็นภาพเหล่านั้น ทั้งนี้อาสาสมัครยังกล่าวอีกว่า พวกเขายังมีความรู้สึกอื่นๆ เช่น อาการคันผิวหนัง หรือแม้กระทั่งมีความรู้สึกว่ามีแมลงจำนวนมากคลานบนผิวหนังของตัวเอง   โดยทีมวิจัยสรุปได้ว่า บุคคลที่มีภาวะ trypophobia อาจสามารถรับรู้ถึงกลุ่มของสิ่งเร้าได้ดีกว่าผู้อื่น เสมือนเป็นสัญญาณเตือนของการมาถึงของโรคติดเชื้อและปรสิต จึงทำให้เกิดการตอบสนองเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ต้องการจะอยู่ห่างให้มากที่สุด

          ความกลัวของผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันก็จะมีการตอบสนองต่อความกลัวสิ่งนั้นที่แตกต่างกัน ในกรณีภาพถ่ายดังกล่าวหลายท่านอาจจะมองว่าเป็นภาพธรรมดา แต่สำหรับอีกหลายท่าน หากพวกเขาทราบว่าจะต้องมาดูภาพเหล่านี้ คลิกเดียวในการอ่านเรื่องราวข้างต้นก็คงเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและยังสร้างผลกระทบในด้านจิตใจและร่างกายได้อย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมีคนใกล้ตัวมีอาการของภาวะเช่นนี้ การทำความเข้าใจและให้กำลังใจกันซึ่งกันและกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอยู่ร่วมกัน

แหล่งที่มา

Tom Hale. (2017, 12 July). Scientists Think They've Finally Worked Out Why This Image Freaks You Out.

         Retrieved September 20, 2017, from http://www.iflscience.com/brain/scientists-think-theyve-finally-worked-out-why-this-image-freaks-you-out/

Bec Crew. (2016, 6 January). Understanding Trypophobia, a Fear of Holes.
         Retrieved September 20, 2017, from http://www.sciencealert.com/watch-understanding-trypophobia-the-fear-of-holes

Trypophobia. 
          Retrieved September 20, 2017, from https://www.healthline.com/health/trypophobia#symptoms3

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Trypophobia, ความหวาดกลัว , กลัว , พื้นผิว, หลุม, รู, ช่อง ,กระตุ้น, ความรู้สึก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7573 ทำไมบางคนจึงกลัวภาพบางภาพ? /article-biology/item/7573-2017-10-17-02-00-58
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)