logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เรื่องเล่าของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 16 พฤศจิกายน 2560
Hits
23971

           ทุกคนต่างทราบดีว่า ฟลูออไรด์มีประโยชน์ในทางทันตกรรมซึ่งช่วยในการป้องกันฟันผุได้และมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากหลายชนิดเช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น แต่สำหรับน้ำดื่มผสมฟลูออไรด์นั้นอาจแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง

7572 1

ภาพที่ 1 การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคเพื่อป้องกันฟันผุ
ที่มา Arcaoin/Pixabay

น้ำผสมฟลูออไรด์ (Water fluoridation)

          ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่ได้จากฟลูออรีน สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ชั้นดิน และชั้นหิน ซึ่งมีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของแหล่งนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจะมีความเข้มข้นไม่เกิน 0.3 PPM แต่สำหรับฟลูออไรด์ที่ถูกเติมลงในน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคจะมีมาตรฐานความเข้มข้นเดิมอยู่ที่ประมาณ 1 PPM หรือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และส่วนใหญ่แล้วประมาณ 95 เปอร์เซ็นของฟลูออไรด์ที่ถูกเติมลงในน้ำประปานั้นได้มาจากหินฟอตเฟส

          ในปี 2015 กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ของสหรัฐ (U.S. Department of Health and Human Services) ได้ออกประกาศคำแนะนำเกี่ยวกับระดับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมลงในน้ำประปาชุมชนเพื่อป้องกันฟันผุและลดความเสี่ยงในการได้รับฟลูออไรด์ส่วนเกินไว้ที่ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรให้เป็นมาตรฐานปัจจุบัน  ซึ่งความเข้มข้นก่อนหน้าที่ประกาศไว้ในปี 1962 อยู่ที่ 0.7-1.2 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของความเข้มข้นนี้เนื่องด้วยประชากรส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งของฟลูออไรด์อย่างเช่นผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟันได้มากขึ้นแล้ว

7572 2

ภาพที่ 2 เด็กดื่มน้ำประปาในที่สาธารณะ
ที่มา brisch27/Pixabay

การทำงานของฟลูออไรด์

          ฟลูออไรด์ที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากจะจับกับสารเคลือบฟัน  ซึ่งสารประกอบทางเคมีที่สำคัญของเคลือบฟันได้แก่ ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (hydroxylapatite) ผลึกของแคลเซียม, ฟอสฟอรัส, ไฮโดรเจน และออกซิเจน  โดยฟลูออไรด์จะช่วยให้ฟันมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยการแทนที่โมเลกุลของไฮดรอกซิลในไฮดรอกซิลอะพาไทต์  ทั้งนี้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมามีผลการวิจัยพบว่า ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่จะทำงานเฉพาะที่เช่น การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เป็นต้น

          การไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีพออาจนำมาซึ่งอาการฟันผุและสามารถลุกลามสู่ปัญหาที่ร้ายแรงกว่าอย่างการติดเชื้อในกระแสเลือดได้  อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ปัญหาฟันผุมีอัตราที่ลดลงตั้งแต่มีการเริ่มใช้น้ำผสมฟลูออไรด์ แต่ปัญหาดังกล่าวก็ลดลงเช่นกันในประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีการใช้งาน

7572 3

ภาพที่ 3 เด็กใช้น้ำประปาในที่สาธารณะ
ที่มา Pezibear/Pixabay

ข้อพิพาทเรื่องการฟลูออไรด์

          ข้อโต้แย้งในเรื่องของการใช้น้ำผสมฟลูออไรด์ เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นในปี 1940 โดยผู้สนับสนุนกล่าวว่า กระบวนการนี้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการลดปัญหาฟันผุโดยเฉพาะในเด็กยากจน และน้ำผสมฟลูออไรด์นี้ยังได้รับการรับรองจากทั้งสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association), สมาคมทันตกรรมอเมริกัน (American Dental Association) และหน่วยงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention-CDC) ซึ่งระบุว่าเป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของมาตรการด้านสาธารณสุขที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 20

          แต่สำหรับผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามก็มีข้อโต้กลับว่า การใช้น้ำที่มีการเติมฟลูออไรด์นั้นเป็นรูปแบบที่ผิดจรรยาบรรณในเรื่องของการใช้ยา เนื่องด้วยไม่ได้รับความยินยอมจากแต่ละบุคคล ทั้งยังเป็นเรื่องที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ และการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่มก็อาจทำให้กลุ่มคนบางจำพวกเช่น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องไตไม่สามารถควบคุมปริมาณการใช้ยาได้ ทั้งยังมีการอ้างถึงความไม่จำเป็นในการใช้น้ำผสมฟลูออไรด์ เนื่องจากเริ่มมีการใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์แล้ว  โดย Crest คือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ยี่ห้อแรกที่ถูกนำมาใช้ในปี 1955

          นอกจากนี้ยังอ้างอิงผลการศึกษาต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพอาทิเช่น ระดับความเข้มข้นของฟลูออไรด์มีความเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยในด้านของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ พัฒนาการบกพร่องทางสมองของทารก ไอคิวที่ลดลงในเด็ก  และความผิดปกติของกระดูก  แต่สำหรับผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดจากการได้รับฟลูออไรด์ส่วนเกินคือ การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Fluorosis หรือฟันตกกระ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นคราบขาวที่ผิวฟัน และเมื่อรุนแรงขึ้นก็จะกลายเป็นคราบสีน้ำตาลเข้ม เป็นหลุม และทำให้สารเคลือบฟันแตกได้

7572 4

ภาพที่ 4 การดื่มน้ำที่มีการเติมฟลูออไรด์ในระดับที่มีความเหมาะสมจะได้รับประโยชน์มากกว่าโทษ

ที่มา  masterstudio/Pixabay

ฟลูออไรด์ไม่ใช่สารที่ดีสำหรับผู้บริโภคจริงหรือ?

           คำตอบของคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน แน่นอนว่าฟลูออไรด์เป็นสารพิษอย่างไม่ต้องสงสัยที่ระดับความเข้มข้นสูง  การศึกษาฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับฟลูออไรด์ถูกตีพิมพ์ในปี 2006 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติซึ่งทำตามคำร้องขอของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (Environmental Protection Agency-EPA) พบว่าระดับการปนเปื้อนสูงสุดของฟลูออไรด์ (Maximum Contaminant Level Goal - MCLG) ในน้ำดื่มที่ 4 PPM เป็นปริมาณที่สูงเกินกว่าจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพของช่องปากและฟัน ทั้งยังทำให้เด็กได้รับฟลูออไรด์ส่วนเกินจนเกิดภาวะฟันตกกระ จึงได้มีคำแนะนำให้สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ผู้ควบคุมดูแลแนวทางในการจัดการน้ำดื่มพิจารณาลดเกณฑ์สูงสุดของความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่อนุญาตให้ใช้ในน้ำดื่มลง

          ในท้ายที่สุด สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรสำหรับระบบน้ำในชุมชนที่เติมฟลูออไรด์ในน้ำ เพื่อเป็นรักษาประโยชน์ในการป้องกันโรคฟันผุและลดความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจากการได้รับฟลูออไรด์ส่วนเกิน

แหล่งที่มา

Douglas Main. (2015, 30 April). Facts About Fluoridatio. 
            Retrieved September 27, 2017, from https://www.livescience.com/37123-fluoridation.html

 

Fluoride in Drinking Water: A Scientific Review of EPA's Standards (2006) . 
           Retrieved September 27, 2017, from https://www.nap.edu/read/11571/chapter/2

Is Fluoridated Drinking Water Safe?. 
          Retrieved September 27, 2017, from https://www.hsph.harvard.edu/magazine/magazine_article/fluoridated-drinking-water/

Joseph Mercola. (2015, 28 January). Harvard Study Confirms Fluoride Reduces Children’s IQ. 
         Retrieved September 27, 2017, from http://www.huffingtonpost.com/dr-mercola/fluoride_b_2479833.html?ncid=engmodushpmg00000003

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟลูออไรด์,สารประกอบ ,น้ำ ,ไอออนิก, ฟลูออรีน, แหล่งน้ำ,ธรรมชาติ, ทันตกรรม, เข้มข้น ,ดิน ,หิน, รักษา, ป้องกัน, ฟันผุ,น้ำ, ดื่ม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7572 เรื่องเล่าของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม /article-biology/item/7572-2017-10-17-01-57-49
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)