logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เมื่อแมงมุมล่วงหล่นมาจากท้องฟ้า ! (Ballooning spider)

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 14 พฤษภาคม 2560
Hits
29395

เมื่อแมงมุมล่วงหล่นมาจากท้องฟ้า ! (Ballooning spider)

    แมงมุม หนึ่งในสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่กระจายตัวกันอยู่ทั่วโลก พวกมันมีพิษตั้งแต่พิษที่อ่อนๆ จนไปถึงพิษที่ร้ายกาจจนทำให้ผู้คนต้องหวาดหลัว นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ให้ความสนใจและศึกษาพวกมัน ทั้งความเฉลียวฉลาดของพวกมัน การวิวัฒนาการของพวกมัน หรือกระทั้งการอพยพของพวกมัน

   เชื่อหรือไม่ว่าแมงมุม มีวิธีการที่พิเศษมากในการอพยพหรือย้ายถิ่นฐาน พวกมันไม่ได้วิ่งมาตามท้องถนน ไต่ไปมาตามต้นไม้ หรือลอยตัวบนทะเลเพื่อข้ามทวีป แต่พวกมันใช้วิธีการลอยตัวไปกับอากาศ !!!

   ฟังดูอาจเป็นเรื่องที่น่าพิศวงอีกเรื่องหนึ่ง เพราะโดยปรกติแค่พวกเราเห็นแมงมุมอยู่ในบ้าน เกาะอยู่ในผนังห้อง หรือวิ่งออกมาจากในดินก็กลัวกันมากพออยู่ หากแมงมุมนับพันนับหมื่น บินลอยอยู่ในอากาศ คงกลายเป็นอีกหนึ่งในภาพความทรงจำอันเลวร้ายของหลายคนเป็นแน่แต่นั้นแหละที่เป็นความน่าสนใจในโลกของทางวิทยาศาสตร์ว่าพวกมันทำแบบนั้นได้อย่างไร

ballooning spider 1

 

          มีภาพๆหนึ่ง เป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแถบชนบทรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย นั้นคือภาพเหล่านี้

ballooning spider 2   ballooning spider 3

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง หลายคนเห็นภาพเหล่านี้แล้วอาจคิดว่า เป็นทิวทัศของน้ำแข็ง หรือหิมะตกค้างในประเทศที่มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น … แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด สีขาวๆที่อยู่ในภาพเหล่านี้คือ ใยแมงมุม ทั้งหมดเลย 

ด้วยเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็เห็นแต่ใยแมงมุมสีขาวปกคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ ปรากฎการณ์นี้ในประเทศออสเตรเลีย จึงถูกตั้งชื่อว่า Spider Frost

ballooning spider 4

 

แล้วใยแมงมุมมากมายขนาดนี้ มาจากไหนในชั่วข้ามคืน คำตอบนั้นก็คือ มันมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของลูกแมงมุมบางชนิด โดยบางชนิดนั้นมีเทคนิคที่เหนือชั้นมากๆฝนการย้ายถิ่นฐาน นั้นคือการทำ Ballooning โดยเป็นการยิงใยขึ้นฟ้า พาตัวเองลอยไปกับกระแสลม  ที่ระดับความสูง 1.5 ไมล์ พวกมันสามารถไปได้ทั่วโลก จนกระทั่งเจอแหล่งถิ่นฐานใหม่

 

ballooning spider 45

 

วิธีที่แมงมุมใช้ในการเหาะนั้นมีชื่อว่า บอลลูนนิ่งสไปเดอร์ (Ballooning Spiders)

       แน่นอนเมื่อนึกถึงแมงมุมสิ่งที่คู่กันก็คือ ใยแมงมุม พวกมันเหาะโดยใช้ ใยแมงมุม โดยเมื่อแมงมุมตัวน้อยฟักออกมาจากไข่ พวกมันจะปีนขึ้นสู่ที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงยอด แมงมุมน้อยจะใช้ขายันพื้นชูก้นชี้ฟ้า แล้วยิงใยออกสู่อากาศ ลมจะพัดใยแมงมุม และยกตัวแมงมุมติดไปด้วย ทำให้พวกมันสามารถบินไปในอากาศได้ ตามกระแสลม

ballooning spider 5

    แน่นอนพวกมันไม่มีระบบลงจอด แมงมุมไม่น้อยต้องจบชีวิตลง เมื่อถูกพัดตกลงในแม่น้ำ ทะเล แต่ด้วยวิธี บอลลูนนิ่ง นี้ทำให้แมงมุมสามารถแพร่ขยายพันธุ์ไปยังเกาะที่ห่างไกลได้อย่างยอดเยี่ยม แมงมุมน้อยสามารถลอยอยู่ในกระแสอากาศได้นานถึง 25 วันโดยไม่จำเป็นต้องกินอาหาร

    มีรายงานจาก Heimer เมื่อปี 1988 ว่าพบมีแมงมุมปลิวมาติดเรือที่ห่างไกลจากชายฝั่งถึง 1,600 กิโลเมตร จากบอลลูนตรวจสภาพอากาศที่ระดับความสูงกว่า 5 กิโลเมตร จากพื้นดินมีการตรวจพบว่ามีแมงมุมลอยขึ้นมาติดในตัวอย่างอากาศ

   จากการศึกษาแมงมุม ที่มีน้ำหนักกว่า 1 มิลลิกรัม ไม่น่าจะสามารถใช้วิธีบอลลูนนิ่งเพื่อลอยตัว แต่ก็มีแมงมุมโตเต็มวัยตัวเมียบางสายพันธุ์เช่น Stegodyphus dumicola และ Stegodyphus mimosarum ที่มีน้ำหนักถึง 100 มิลลิกรัม ขนาดใหญ่ 14 มิลลิเมตร สามารถใช้วิธีบอลลูนนิ่ง โดยไม่ต้องใช้ลมพัด แต่ใช้อากาศร้อนในการยกตัว โดยใช้ใย 10 ถึง 100 เส้น เป็นรูปแผ่นสามเหลี่ยมกว้างประมาณ 1 เมตร

 

    ดังนั้นหากวันหนึ่ง คุณได้เจอกับเหล่าแมงมุมที่เหาะมากับอากาศ หรืออาจเป็นห่าฝนแมงมุมที่ล่วงหล่นลงมาจากท้องฟ้า อย่าได้คิดว่าตัวเองตาฝาดไป สิ่งที่คุณเห็นอาจถูกต้องแล้ว จงตั้งสติ แล้วทำในสิ่งที่ควรจะทำก่อน

 

เนื้อหาจาก

http://www.livescience.com/4142-spiders-fly-hundreds-miles.html

http://wowboom.blogspot.com/2010/10/ballooning-spiders.html

http://petmaya.com/spider-frost-ballooning

http://baabin.com/179246/

ภาพจาก

https://thebeachreview.org/2014/06/14/golden-silk-orb-weaver/

http://www.viralnova.com/spider-snow/

http://faculty.ucr.edu/~chappell/INW/Poland/spiders.shtml

https://artsandsciences.colorado.edu/mag-old/2010/12/spiders-disperse-on-strands-of-silk/

http://baabin.com/179246/

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แมงมุม,แมง,หล่น,ฟ้า
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 มีนาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 6905 เมื่อแมงมุมล่วงหล่นมาจากท้องฟ้า ! (Ballooning spider) /article-biology/item/6905-ballooning-spider
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)