logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 14 พฤษภาคม 2560
Hits
30486

ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ'

 

     การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายก็จะบ่งบอกถึงลักษณะที่แตกต่างกันไปรวมถึงโชคลาภวาสนาตามความเชื่อ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์นั้น ถือว่าเป็นความผิดปกติของผิวหนัง ต่อให้คนที่มีผิวเกลี้ยงเกลาสักเพียงใด ผิวพรรณผ่องใสขนาดใดก็ต้องมีไฝฝ้า หรือขี้แมลงวันอยู่บ้างสักเม็ดสองเม็ด ส่วนใครจะมีน้อยมีมากขนาดไหน หรือเป็นไฝชนิดใดแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แล้วไฝเกิดจากอะไรทำไมคนเราถึงมี ไปดูคำตอบที่เรานำมาฝากกันเลย…

     ไฝ (Nevus or Mole) เกิดจากเมลาโนไซ (เซลล์สร้างสี) รวมตัวกันสร้างเมลานินมากผิดปกติ หรือเป็นตุ่มเนื้อที่มีขนาดแตกต่างกันไปทั้งสีและรูปร่าง สามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งเม็ด อาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิดแต่บางคนก็มีขึ้นเมื่อตอนโตแล้ว และจะเพิ่มมากที่สุดในช่วงวัยรุ่นแต่หลังจากนั้นจะหยุดการเพิ่มจำนวน

    ไฝมีหลายชนิด โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Nevocellular nevus หรือที่เรียกว่า Pigmented Nevus ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกัน คือ อาจจะเป็นจุดเรียบ ๆ สีน้ำตาล หรือ เกือบดำโดยมากมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ถึง 1 เซนติเมตร รูปร่างกลมหรือรี หรือเป็นตุ่มนูนสีน้ำตาลหรือดำ ผิวเรียบหรือขรุขระ หรืออาจจะเป็นชนิดไม่มีสีเลยก็ได้ บางครั้งอาจมีขนงอกอยู่บนไฝด้วย ไฝประเภทต่าง ๆ ส่วนมากไม่มีอันตราย แต่ส่วนใหญ่คนมักจะนิยมเอาออกเนื่องจากเหตุผลทางด้านความสวยความงาม หรือความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์

 

เซลล์ไฝ

     ไฝมีหลายชนิด หลายสี สีดำพบบ่อยที่สุด มักพบเห็นเป็นตุ่มนูนเดี่ยว ๆ ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว ประกอบด้วยเซลล์ไฝ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณใบหน้าและคอ บางครั้งเซลล์ไฝมารวมกันเกิดปื้นนูนคล้ายปาน บางรายใหญ่ขนาดครึ่งลำตัวมีขนขึ้นยาวด้วย เรียกว่า 'ไฝยักษ์' ซึ่งชนิดนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นมะเร็งได้ จึงควรตัดเม็ดที่มีขนาดใหญ่ ๆ ออก โดยวิธีการผ่าตัด และต้องเอาผิวหนังจากที่อื่นมาปิดทดแทน แต่ถ้าเป็นเม็ดเล็ก ๆ สามารถรักษาโดยการผ่าตัดออกด้วยวิธีผ่าตัดธรรมดา หรืออาจเอาออกโดยใช้แสงเลเซอร์ก็ได้

     ไฝส่วนใหญ่ที่แพทย์ตัดออกให้มักเป็นในแง่ความสวยงามเท่านั้น บางคนมาตัดออกเพื่อให้โหงวเฮ้งดีขึ้น โดยมากใช้วิธีตัดออกแล้วเย็บผิวหนังบริเวณนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและไม่สิ้นเปลืองนัก หากแพทย์ไม่แน่ใจว่าไฝนั้นเป็นมะเร็งของผิวหนังหรือไม่ ก็จำเป็นต้องส่งชิ้นเนื้อที่ตัดออกมาไปให้พยาธิแพทย์ส่องกล้องตรวจดูว่า มีเซลล์มะเร็งปนอยู่หรือไม่ ไฝบางอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมะเร็งมากกว่าทั่ว ๆ ไป เช่น ไฝที่เป็นตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ที่เรียกว่า 'congenital pigmented nevi' ไฝชนิดหนึ่งที่มีสีไม่สม่ำเสมอ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า 'dys-plastic nevi' มีโอกาสเป็นมะเร็งของผิวหนังได้มากกว่าปกติ โดยพวกนี้มักมีขนาดใหญ่กว่าไฝปกติ ซึ่งมักมีขนาดเล็กกว่ายางลบที่ติดดินสอ และมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ

 

ตารางเปรียบเทียบไฝปกติ (Normal Mole) กับ ไฝที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง (Melanoma)

ด้านซ้ายคือไฝปกติ (Normal Mole)/ ด้านขวาคือไฝที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง (Melanoma)

 

ไฝชนิดใดควรกำจัด

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไฝธรรมดา หรือไฝมะเร็ง ?

  • หากอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็น เช่น ไฝที่หลัง หรือในที่ลับ เหล่านี้ ควรกำจัดออก เพราะเราไม่สามารถสังเกตเห็นการเจริญเติบโตหรือความผิดปกติได้
  • ไฝที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ เช่น ไฝบนฝ่าเท้า ควรกำจัด เพราะการที่ถูกเสียดสีเป็นประจำ โอกาสที่จะกลายเป็นเนื้อร้ายก็มีสูง

ความแตกต่างของไฝธรรมดากับไฝมะเร็ง คือ ขนาดและสี ไฝที่กลายเป็นมะเร็งจะมีสีไม่สม่ำเสมอ อาจะมีหลายสีปนกัน เช่น มีทั้งสีน้ำตาล ดำ แดง น้ำเงิน ม่วง เทา และมีสีเข้มขึ้น โตเร็ว มีเลือดออก บริเวณขรุขระจากเดิมที่เคยเรียบ

ไฝและขี้แมลงวันจะโตตามการเจริญเติบโตของร่างกาย ยิ่งปล่อยไว้รากของไฝและขี้แมลงวันก็จะลึกลงเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 20 - 30 ปี จึงจะหยุดการเจริญเติบโต หากคุณมีอายุเกิน 30 ปี และไฝยังมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค หรือถึงแม้จะอายุน้อยแต่หากไฝโตเร็วมากก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คเช่นกัน

 

แพทย์วินิจฉัยไฝบนแผ่นหลังคนไข้

 

ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

           1. ผิวขาวจัด หรือเป็นคนเผือก

           2. ตากแดดจัด ๆ เป็นประจำ หรือค่อนข้างบ่อย และแต่ละครั้งที่ออกแดดจะตากแดดเป็นเวลานาน

           3. ถูกแสงแดดทำร้ายผิวมากจนเกินไป

           4. อยู่ในพื้นที่แดดจัด และอยู่ในเขตร้อน

           5. มีไฝบนร่างกาย

           6. มีรอยโรคมะเร็งผิวหนังมาก่อน หรือมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน

           7. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

           8. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

           9. ผิวหนังถูกรังสีอัลตราไวโอเลตทำร้ายอย่างต่อเนื่องและรุนแรง

           10. เคยเข้ารับบริการทำสีผิวแทน ด้วยเครื่องฉายแสงทำสีแทนเทียม

           11. เคยเข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสี

           12. ได้รับสารหนูสะสมอย่างต่อเนื่องยาวนาน

           13. คนที่เป็นโรคหนังแข็ง

           14. อยู่ในพื้นที่ที่มีสารเคมีเป็นเวลานาน ๆ

 

     หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของไฝ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความสวยความงาม หรือในแง่ว่าจะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่ ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษาและรับคำแนะนำที่ถูกต้อง ไฝที่มีสีแปลก ๆ หลาย ๆ สี เช่น สีแดง ขาว น้ำเงิน หรือดำอยู่ในเม็ดเดียวกัน มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งของผิวหนังได้สูงกว่าปกติ

 

 

เนื้อหาจาก

http://pewdeeclinic.com/content.php?content_id=77

http://health.kapook.com/view132367.html

http://health.mthai.com/howto/health-care/10332.html

https://www.bumrungrad.com/th/skin-dermatology-center-bangkok-thailand/conditions/mole

 

ภาพจาก

http://health.mthai.com/howto/health-care/10332.html

http://dodeden.com/63221.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไฝ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 มีนาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 6904 ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ” /article-biology/item/6904-2017-05-14-06-47-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
พลาสติกย่อยสลายได้
พลาสติกย่อยสลายได้
Hits ฮิต (3172)
ให้คะแนน
พลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถปรับปรุงสมบัติได้อย่างหลา ...
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว!!
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว!!
Hits ฮิต (49357)
ให้คะแนน
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว !! เร็ว ๆ นี้ทุกคนคงมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ "ANT MAN" มนุษย์มดมหากาฬ หนังคุณภาพด ...
เรื่องของมังคุด...มังคุด
เรื่องของมังคุด...มังคุด [ข้างในมังคุดมี...
Hits ฮิต (50311)
ให้คะแนน
เรื่องของมังคุด...มังคุด ปฏิเสธไม่ได้ว่าฤดูร้อนอย่างนี้ หลายๆคนคงเคยได้ไปเที่ยวชมสวนผลไม้อย่างมังคุ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)