logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อันตรายจากภาชนะบรรจุอาหาร

โดย :
สุนทร ตรีนันทวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 26 สิงหาคม 2553
Hits
30227

อันตรายจากภาชนะบรรจุอาหาร

สุนทร  ตรีนันทวัน

 


 

เราเคยสังเกตและคิดกันบ้างไหมครับ  เวลาเราไปซื้ออาหาร ผู้ขายจะเอาอาหารใส่ภาชนะต่างๆ ให้เรา  เช่น  ถุงพลาสติก  กล่องโฟม  กล่องพลาสติก  กล่องโลหะ  และภาชนะอื่น ๆ อีกครับ  ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกนั่นเองครับ  สะดวกต่อการใช้งาน  ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของคนเราแทบจะทุกหนทุกแห่ง   เราใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่หลากหลาย   เช่น

1. พลาสติก การใช้ภาชนะพลาสติก  ควรใช้อย่างระมัดระวัง  ใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ของภาชนะ  เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่สุขภาพและร่างกายของผู้ใช้

 

ข้อแนะนำในการใช้ภาชนะพลาสติก

1. ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกธรรมดาใส่อาหารร้อนจัด  และไม่ควรนำกระติกน้ำแข็งพลาสติกมาใส่เครื่องดื่มร้อนจัด  ทั้งนี้ถุงพลาสติกและกระติกน้ำแข็งพลาสติก  ทำจากเนื้อพลาสติกที่ไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิสูง  อาจมีบางส่วนละลายเข้าสู่อาหารได้

2. ไม่ใช้ถังน้ำชนิดหูหิ้วและอ่างพลาสติกใส่อาหารร้อนจัดหรือผักผลไม้ดอง  เนื่องจากเนื้อพลาสติกบางส่วนอาจละลายปนเปื้อนกับอาหารได้  สำหรับผักและผลไม้ดองนั้น  มีสภาพเป็นกรดละลายโลหะหนักออกจากพลาสติกได้ดี

3. ไม่นำถังพลาสติกหรือภาชนะอื่น ๆ ที่บรรจุสารเคมี  น้ำกรด  ยาฆ่าแมลง  ที่ใช้มาบรรจุอาหาร  น้ำดื่ม  น้ำแข็ง  น้ำส้มสายชู  น้ำปลา  เนื่องจากสารที่เคยบรรจุอยู่ก่อนจะละลาย  ปนเปื้อนออกมาในอาหารได้

4. ไม่ควรใช้แผ่นใยสังเคราะห์  หรือฝอยเหล็กขัดถู  จาน  ชาม  ถ้วยพลาสติก  เพราะแผ่นใยสังเคราะห์หรือฝอยเหล็กจะทำลายผิวของภาชนะเกิดรอยขูดขีด  คราบสกปรกต่าง ๆ จึงฝังอยู่ในรอยขูดขีดนั้นได้  จะทำให้เศษอาหาร  คราบสกปรกต่าง ๆ  หลุดออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้

 

2. โลหะ โลหะที่นิยมสำหรับบรรจุอาหารกระป๋องมี 3 ประเภท คือ

1. แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก

ใช้ดีบุกเคลือบผิวเหล็กไว้ทั้งสองด้าน  เพื่อป้องกันการขึ้นสนิม

2. แผ่นเหล็กชุบโครเมียม  ทำจากแผ่นเหล็กที่ผ่านกระบวนการเคลือบด้วยโครเมียม หรือโครเมียมออกไซด์ แล้วเคลือบด้วยแลคเกอร์เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างโลหะกับอาหาร  กระป๋องชนิดนี้ทนความร้อนและทนการกัดกร่อนได้ดี

3. อลูมิเนียม  นิยมผสมอลูมิเนียมกับแมงกานีส  หรือแมกนีเซียมทำกระป๋องสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม  เช่น  เบียร์  น้ำผลไม้  น้ำอัดลม  เป็นต้น  กระป๋องชนิดนี้คุณสมบัติดีเด่น  คือ  น้ำหนักเบา  ทนความร้อนได้สูง  ทำให้เย็นได้เร็ว  ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก

 

อาหารที่มีความเป็นกรดสูงจะมีปริมาณดีบุกละลายปะปนลงในอาหารสูง  ถ้าเป็นอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ  จะมีปริมาณดีบุกละลายลงในอาหารน้อย  สรุปได้ว่าความเป็นกรดเป็นด่างของอาหารที่บรรจุ  จะมีอิทธิพลต่อการละลายดีบุกลงในอาหาร

 

สำหรับผู้บริโภคอาหารกระป๋อง

1. อาหารกระป๋องที่เก็บไว้นานเกินไป  อาจจะมีดีบุกละลายออกมาในปริมาณสูงพอที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

2. การเก็บอาหารกระป๋องที่เหลือหลังจากเปิดกระป๋องแล้ว  ควรจะถ่ายอาหารออกใส่ในภาชนะอื่นจะปลอดภัยกว่า

3. ไม่ควรนำอาหารกระป๋องที่เปิดฝาแล้วไปอุ่น  โดยไม่ถ่ายอาหารออกใส่ในภาชนะอื่น  เนื่องจากความร้อนจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการละลายของโลหะปนเปื้อนลงไปในอาหารมากขึ้น

 

การใช้ภาชนะในการบรรจุอาหาร  เราต้องดูพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนนะครับ  โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด  ซึ่งสำคัญมากครับ


หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อันตราย,ภาชนะ, บรรจุอาหาร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 26 สิงหาคม 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 590 อันตรายจากภาชนะบรรจุอาหาร /article-biology/item/590-danger
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)