logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สาหร่าย กับความสำคัญในอนาคต

โดย :
สุนทร ตรีนันทวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 26 สิงหาคม 2553
Hits
39697

สาหร่าย  กับความสำคัญในอนาคต

สุนทร  ตรีนันทวัน

 

 


 

 

สาหร่าย ครับ  มีทั้งสาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็ม  จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ  มีโครงสร้างแบบง่าย ๆ  ไม่มีราก  ใบ  ลำต้นที่แท้จริง  อาจจะเป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ก็ได้  มีทั้งขนาดเล็กมาก  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรือแทบไม่เห็น  จนกระทั่งขนาดใหญ่ยาวกว่า 100 ฟุต

สาหร่ายที่มีสีเขียวสามารถสร้างอาหารได้เอง  โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงครับ  เนื่องจากมีคลอโรฟิล (Chlorophyll) มนุษย์ร็จักสาหร่ายมานานแล้ว  แต่ยังนำมาใช้ประโยชน์กันได้น้อยมาก  ส่วนใหญ่นำมาทำเป็นอาหารครับ  แต่ปัจจุบันนี้มนุษย์เห็นความสำคัญของสาหร่ายมากขึ้น  มีการค้นคว้า   วิจัย    และพัฒนาเกี่วกับวิธีการนำสาหร่ายมาใช้แระโยชน์มากขึ้น  ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

 

ประโยชน์ของสาหร่าย

เรามาดูประโยชน์ของสาหร่ายในปัจจุบันนี้   ใช้ทำอะไรได้บ้าง

1. เป็นอาหาร มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาเป็นอาหารตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  ชาวจีน  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  อินเดีย  ใช้สาหร่ายสีแดงชนิดที่เรียกว่า จีฉ่าย มาปรุงเป็นแกงจืด

ชาวฮอกไกโดของประเทศญี่ปุ่น  นำมาตากแห้งไว้รับประทาน  นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไป นำสาหร่ายสีน้ำตาล  ตากแห้งบดละเอียดรับประทานเป็นอาหารปรุงผสมกับเนย

สำหรับในประเทศไทยนั้น  คนไทยทางภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้ใช้สาหร่ายที่เรียกว่า เทาน้ำ (Spirogyra sp.) มาปรุงเป็นอาหารผสมลงในแกงต่าง ๆ  นอกจากนี้แล้วประชากรในแถบต่าง ๆ ของโลกก็ได้รับประทานสาหร่ายต่าง ๆ กันแพร่หลาย

2. ด้านเกษตรกรรม ชาวญี่ปุ่น ชาวยุโรป  ได้ใช้สาหร่ายพวก Kelp  มาทำปุ๋ยเนื่องจากมีธาตุโปแตสเซี่ยมมาก  สาหร่ายสีเขียวแถบน้ำเงิน  สาหร่ายสีเขียวตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศได้แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรทหรือเป็นปุ๋ยแก่พืชได้

 

3. ด้านการแพทย์ ชาวจีนใช้สาหร่ายพวก  Sargassum sp. รับประทานแก้โรคคอพอก  เพราะมีธาตุไอโอดีนมาก  นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายอีกหลายชนิด  รักษาโรคต่าง ๆ ได้อีก

 

4. ด้านอุตสาหกรรม สาหร่าย Kelps นำมาสกัดไอโอดีนโปแตช  และเมื่อนำโปแตสนี้มาเผาจะได้โซดา (SODA)   นำไปทำอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว  สาหร่ายแดงพวก Chondrus นำมาสกัดสารบางอย่างมาทำอุตสาหกรรมอาหาร  เครื่องสำอาง  และ ทำยาบางอย่าง

 

5 ด้านระบบนิเวศ สาหร่ายที่มีสีเขียวเป็นผู้ผลิตอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนให้สิ่งมีชีวิต  เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำพวกปลาต่าง ๆ และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำบางชนิด

นอกจากนี้แล้วสาหร่ายยังมีประโยชน์ด้านต่าง ๆ อีกมากมาย  ผู้ฟังโดยเฉพาะนักเรียนลองไปค้นคว้าหาความรู้ดูนะครับว่าใช้ประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง


หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สาหร่าย, ประโยชน์สาหร่าย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 26 สิงหาคม 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 585 สาหร่าย กับความสำคัญในอนาคต /article-biology/item/585-algae
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)