...สัตว์เคี้ยวเอื้อง....
สุนทร ตรีนันทวัน
มีหลายๆคนสงสัยกันนะครับว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง คือสัตว์พวกไหนบ้าง ทำไมต้องเคี้ยวเอื้อง ระบบย่อยอาหารมีลักษณะเป็นอย่างไร เคยแต่ได้ยินเฉพาะชื่อเท่านั้นเองว่าเคี้ยวเอื้อง
ผมจะชี้แจงเรื่องนี้ให้ทราบนะครับ มีสัตว์อยู่บางชนิดนะครับ เมื่อกินอาหารหรือกินหญ้าเข้าไปแล้ว ก็จะมีการขยอกเอาหญ้าที่กินเข้าไปนั้นออกมาเคี้ยวอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า เคี้ยวเอื้อง ครับ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น
สัตว์เคี้ยวเอื้องพวกนี้ จะมีระบบย่อยอาหารแตกต่างไปจากคนเราและสัตว์อื่นๆครับ คือ สัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีกระเพาะ 4 กระเพาะครับ ได้แก่
กระเพาะที่ 1. เรียกว่า รูเมน ( Rumen ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะผ้าขี้ริ้ว ครับ คนที่ชอบรับประทานต้มเครื่องในคงจะเคยเห็นนะครับ เป็นกระเพาะส่วนแรกมีขนาดใหญ่มาก อาหารหรือหญ้าที่กินเข้าไปจะอยู่ในกระเพาะนี้ก่อน ภายในกระเพาะนี้ไม่มีเอนไซม์มาช่วยย่อยครับ แต่มีจุลินทรีย์ต่างๆหลายชนิด มาช่วยย่อยในเบื้องต้น เช่น ย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แล้วจุลินทรีย์ก็จะสะสมหรือใช้อาหารที่ย่อยแล้วเก็บไว้ภายในเซลล์ของจุลินทรีย์ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จุลินทรีย์ ต่อมาหญ้าที่กินรวมทั้งจุลินทรีย์ก็จะเคลื่อนมาที่กระเพาะที่ 2
กระเพาะที่ 2. เรียกว่า เรติคิวลัม ( Reticulum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะผ้าขี้ริ้ว จะทำหน้าที่ขยอกเอาหญ้าที่จุลินทรีย์ช่วยย่อยมาแล้วในเบื้องต้นออกมาสู่ปาก เพื่อเคี้ยวอีกทีหนึ่ง เรียกว่า เคี้ยวเอื้อง ครับ แล้วหญ้าที่เคี้ยวเอื้องก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 3 ต่อไป
กระเพาะที่ 3. เรียกว่า โอมาซัม ( Omasum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ ซึ่งภายในมีลักษณะเป็นแผ่นหลืบๆซ้อนกัน ทำหน้าที่กระจายอาหารให้เข้ากัน แล้วอาหารก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 4 ต่อไปครับ
กระเพาะที่ 4. เรียกว่า อะโบมาซัม ( Abomasum ) เป็นกระเพาะแท้ เหมือนกับของคนเราหรือสัตว์อื่นที่ไม่เคี้ยวเอื้อง อาหารหรือหญ้าที่ถูกย่อมมาก่อนแล้วตอนต้นพร้อมจุลินทรีย์ ก็จะถูกเอนไซม์ต่างๆหลายชนิดย่อยต่อไป ต่อจากกระเพาะแท้ก็เป็นลำไส้เล็ก ซึ่งที่ลำไส้เล็กนี้ก็จะมีการย่อยด้วยเอนไซม์อีก อาหารที่ย่อยแล้วครั้งสุดท้ายก็จะแพร่เข้าสู้กระแสเลือดในบริเวณลำไส้เล็กนี่เอง และถูกลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เหมือนกับของคนเราและสัตว์อื่นๆนั่นเอง
ถึงตอนนี้ก็คงจะทราบกันแล้วนะครับ ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องมีกระเพาะอาหาร 4 กระเพาะ แต่ละกระเพาะ ก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป สำหรับกระเพาะที่ 4 ซึ่งเป็นกระเพาะช่วงสุดท้าย เป็นกระเพาะแท้ มีเอนไซม์ต่างๆมาย่อยอาหารต่างๆเหมือนของคนเราและสัตว์อื่นเช่นกัน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)