logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ผักเซียงดา ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือ

โดย :
สุนทร ตรีนันทวัน
เมื่อ :
วันพุธ, 25 สิงหาคม 2553
Hits
28241

ผักเซียงดา...ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือ

สุนทร      ตรีนันทวัน

 


 

ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่าผักพื้นบ้าน  มากมายหลายชนิดทุกทุกภาคของประเทศ  บางชนิดก็มีประจำภาคนั้น ๆ ซึ่งภาคอื่น ๆ ไม่มีหรือมีก็น้อยมาก  ผักพื้นบ้านของทางภาคเหนือชนิดหนึ่ง  คือ ผักเซียงดา ซึ่งชาวเหนือจะรู้จักกันอย่างดี  จัดเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือ  ก็เพราะผักชนิดนี้มีมากทั่ว ๆ ไปและมีความอร่อยด้วย

http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=4363.0

ผักเซียงดา  มีชื่อวิทยาศาสตร์ จีมนีมา  อิโนดูรัม (Gymnema inodurum Decne) คำว่าผักเซียงดา  เป็นชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองของทางเหนือ  มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยไปได้ไกลขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้  ลำต้นมีสีเขียว  ทุก ๆ ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินจะมียางสีขาว ๆ ขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 5.0   เซนติเมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวมีสีเขียวเข้ม  ใบมีลักษณะเป็นคลื่นเล็กน้อย  ผิวใบเรียบ  ปลายใบแหลม  ลักษณะคล้ายกับใบชะพลู  แต่มีเส้นใบน้อยกว่า  ฐานใบแหลมใบมีก้านใบยาว    3.5 – 6   เซนติเมตร     ใบกว้าง 9 – 11   เซนติเมตร    ใบยาวประมาณ 14.5 – 18.5    เซ็นติเมตร  ใบออกตรงข้อเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้ามกัน

 

ชาวบ้านทางภาคเหนือนิยมปลูกผักเซียงดาไว้ตามริมรั้วบ้าน  ในสวนครัวหรือตามค้างที่ทำไว้ให้เลื้อย  เป็นพืชผักที่ปลูกง่าย  มีอายุยืนทนแล้งได้ดี  แตกยอดได้ตลอดปี  ถ้าหากแล้งจัด ๆ จะทิ้งใบหรือใบจะร่วง  และแตกยอดใหม่ได้ในฤดูฝน  ขยายพันธุ์โดยการปักชำ  โดยตัดส่วนเถาที่แก่พอควร  ยาวประมาณ     1    ฟุต  นำไปปักชำ    ต่อมาก็จะเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป

 

ประโยชน์ทางอาหารของผักเซียงดา      คือ  ยอดอ่อน  ใบอ่อน  รับประทานเป็นผัก  ใช้ใส่แกง  เช่น  แกงแค  ใช้ทำแกงจืด    แกงเลียง  ใช้จิ้มน้ำพริก   ฯลฯ  ผักเซียงดา  มีความเผ็ดเล็กน้อย  จึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนทางภาคเหนือทั่ว ๆ ไป  มีให้รับประทานได้ตลอดปี  ยิ่งเด็ดยอดก็จะมียอดใหม่แตกออกมาอีก  โดยเฉพาะในฤดูฝนจะแตกยอดใหม่ออกไปเรื่อย ๆ ตลอดปี  ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ  เป็นพืชผักที่ไม่มีแมลงมารบกวน  ยอดผักเซียงดา สด   มีรสมัน  เผ็ดร้อนนิดหน่อย

 

จุลสารข้อมูลสมุนไพร  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รายงานว่าจากการวิจัยพบว่าพืชชนิดนี้มีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดได้  และมีศักยภาพในการรักษาโรคเบาหวาน  มีชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาศึกษาผักเซียงดา   และรวบรวมผักเซียงดาของไทย  เพื่อนำไปวิเคราะห์สร้างสายพันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น  และมีการผลิตเป็นยาชงสมุนไพรผักเซียงดา    ดื่มเพื่อลดน้ำตาลในเลือด  แต่อย่างไรก็ตามยังจะต้องมีการศึกษาวิจัยถึงคุณประโยชน์ของผักเซียงดาอีกต่อไป

 

สำนักงานคณะกรรมการ    สาธารณสุขมูลฐาน  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  สถาบันการแพทย์แผนไทย        กระทรวงสาธารณสุข    ได้รายงานว่าใบของผักเซียงดา มีสารอนุมูลอิสระสูงมาก      นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ    สูงเช่นกัน   ใบผักเซียงดา   100 กรัม  จะมีสารเบต้าคาโรทีน     5905    ไมโครกรัม     มีวิตามิน ซี   153   มิลลิกรัม  เนื่องจากผักเซียงดาของไทยมีสิ่งดี ๆ มาก  จึงควรช่วยกันระมัดระวัง  ในการอนุรักษ์และปกป้องพันธุกรรมของพืชผักชนิดนี้  อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติของชาติไทยเราให้คงอยู่กับประเทศไทยตลอดไป

 


หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ผักเชียงดา, ผักพื้นบ้าน , ภาคเหนือ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 25 สิงหาคม 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 546 ผักเซียงดา ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือ /article-biology/item/546-gymnema-inodurum-decne
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)