logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!

โดย :
yrprincess
เมื่อ :
วันจันทร์, 02 มีนาคม 2558
Hits
59263

ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!

Antirrhinum majus

“ดอกลิ้นมังกร” คงเป็นชื่อที่คุ้นเคยสำหรับคนที่เคยไปดูเทศกาลดอกไม้ทางภาคเหนือ  ดอกไม้ที่มีความหลากหลายทางสีสัน แต่โดยส่วนมากเราก็จะได้เห็นแค่ความสวยงามของดอกลิ้นมังกรกัน แล้วรู้กันหรือไม่ว่าทำไมจึงเรียกว่า “ดอกลิ้นมังกร” ???

>> ชื่อวิทยาศาสตร์ Antirrhinum majus L. 
>> ชื่อสามัญ (common name) Snapdragon หรือ Bunny rabbits

การจำแนกทางอนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy Classification)

Rank 
 Scientific Name and Common Name
Kingdom
 Subkingdom
  Superdivision
   Division
    Class
     Subclass
      Order
       Family
        Genus
         Species
Plantae – Plants
Tracheobionta – Vascular plants
Spermatophyta – Seed plants
Magnoliophyta – Flowering plants
Magnoliopsida – Dicotyledons
Asteridae
Scrophulariales
Scrophulariaceae – Figwort family
Antirrhinum L. – snapdragon
Antirrhinum majus L. – garden snapdragon

ดอกลิ้นมังกร นั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดยืนต้น แต่ส่วนมากอยู่ได้แค่ 1-2 ปีเท่านั้น มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และอัฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน แถบโมรอคโคและโปรตุเกส เรื่อยไปจนถึง ตุรกีและไซเรีย จนถึงตอนใต้ของฝรั่งเศส เจริญเติบโตได้ดีเมื่ออากาศหนาวเย็น มีแสงแดด แต่ไม่มีลม เพราะจะทำให้ช่อดอกหัก ในสภาพดินที่ระบายน้ำได้ดี ดอกลิ้นมังกรนั้นมีความหลากหลายทางนิเวศน์วิทยา ความสูงของต้นที่ขายทั่วไปมี 3 ขนาด คือ ลิ้นมังกรแคระ สูง 6-8 นิ้ว ขนาดกลางสูง 15-30 นิ้ว และขนาดสูง 30-48 นิ้ว

Illustration Antirrhinum majus

ทำไมเราจึงเรียกดอกชนิดนี้ว่า “ดอกลิ้นมังกร”

โครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนของดอกลิ้นมังกร วิวัฒนาการมาจากการปรับให้เหมาะสมกับการลักษณะการถ่ายละอองเกสรของผึ้ง bumblebee เช่นเดียวกับดอกกล้วยไม้ ซึ่งทำให้สามารถจับสัตว์ที่จะมาถ่ายละออกเกสรได้อย่างจำเพาะ ไม่มีแมลงตัวเล็กๆเข้ามา ซึ่งพืชชนิดนี้จะถ่ายละอองเกสรโดยผึ้ง bubblebee ซึ่งมีความแข็งแรงที่สุดที่จะเข้าไปในปากดอกได้ ดอกลิ้นมังกรนั้นมีลักษณะดอก 2 ชนิดคือ

1. ลักษณะ snapping คือ เนื่องจากลักษณะดอกนั้นเหมือนกับใบหน้าของมังกรในจินตนาการ ซึ่งเมื่อโดนบีบข้างดอก กลีบบนและล่างจะแยกออกจากกันคล้ายเวลาเราบีบด้านข้างปากมังกรจะอ้าและหุบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Snapdragon หรือบางครั้งก็ดูเหมือนจมูกกระต่ายที่กำลังกระตุก จึงเรียกว่า Bunny rabbit ซึ่งดอกชนิดนี้จะเป็นดอกมาตรฐาน (standard)

snapdragon

2. กลีบดอกแบนกว้างเห็นคอดอกชัดเจน ดอกใหญ่บานได้นานแต่ไม่มีลักษณะ snapping ทำให้ไม่สมชื่อ ดอกชนิดหลังนี้เรียกว่า ดอกแบบอเซเลีย (Azalea flowered) หรือดอกแบบผีเสื้อ (Butterfly flowered)

SECRET of SnapDragon ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!

ดอกลิ้นมังกรนั้น มีความลับที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ และเราคงได้เห็นแต่ความสวยงามของมัน เพราะความลับจะเปิดเผยก็ต่อเมื่อดอกได้เหี่ยวแห้งโรยราไปแล้ว

หลังจากที่เกิดการถ่ายละอองเกสร กลีบดอกก็จะหลุดร่วงไป และเปิดเผยให้เห็นความลับอันน่าสะพรึงกลัวที่ซ่อนอยู่ภายใน เพราะแต่ละฝักผลที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะไม่ต่างจากโครงกระดูกศีรษะมนุษย์ !!! บางครั้งก็เหมือนหัวของเอเลี่ยน ^ 0 ^ มี เบ้าตาเป็นโพรง ปากอ้า ซึ่งลักษณะฝักที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นที่มาของความเชื่อของการปลูกดอกลิ้นมังกรไว้รอบบ้านในประเทศแถบยุโรป ว่าเป็นพลังจากธรรมชาติที่จะมาช่วยปกป้องสิ่งหลอกลวง การสาปแช่ง ความชั่วร้าย และเวทมนตร์คาถาต่างๆ

snapdragon seed

ถ้าไปชมดอกลิ้นมังกรที่ภาคเหนือหรือต่างประเทศอีกเมื่อไหร่ ยังจะเห็นแต่ความสวยงามของมันอีกหรือเปล่า

horror !!!

ที่มาจาก :

http://plants.usda.gov/core/profile?symbol=anma3

http://en.wikipedia.org/wiki/Antirrhinum

http://imgkid.com/antirrhinum-seed.shtml

http://www.seedsofeaden.com/ornamental-plants-k7/the-dragon-skull-seed-pod-b107.html

http://goo.gl/C7JWlP

ภาพจาก:

http://www.sazhaemsad.ru/lvinyj-zev-ochen-krasivo-i-sovsem-ne-strashno.html

http://www.mullerseeds.com/media/catalog/product/a/n/antirrhinum_majus_ribbon_mixture.jpg

http://www.fotonatura.org/galerias/fotos/usr3659/11978831MO.jpg

https://edinburghgardendiary.files.wordpress.com/2014/07/cropped-img_01831.jpg?w=850

http://1.bp.blogspot.com/-SrcQSB-oseI/TjhLtVS89tI/AAAAAAAADIw/W3bbYldt4_k/s1600/Butter-and-eggs+%2528Linaria+vulgaris%2529++IMG_9167+bS.jpg

http://2.bp.blogspot.com/-qZe6Jf7okGI/Uds3sn6GhqI/AAAAAAAACWg/ai0-g3hQxsE/s1600/Antirrhinum_majus_b-1.JPG

http://flowers-kid.com/antirrhinum-majus-skull.htm

http://imgkid.com/antirrhinum-seed.shtml

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ดอกลิ้นมังกร,Snapdragon,สวยงาม,น่ากลัว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 02 มีนาคม 2558
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
yrprincess
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4707 ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!! /article-biology/item/4707-antirrhinum-majus-l-snapdragon
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โครงกระดูกศีรษะมนุษย์ Antirrhinum majus snapdragon ดอกลิ้นมังกร
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)