สารกลุ่มแคโรทีนอยด์นั้นเป็นสารที่มีรงควัตถุมาก (pigment) ซึ่งพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี ผักขม กะหล่ำปลี ผักกาดหอม แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ ข้าวโพดสีเหลือง ผลมะเดื่อ ส้ม มะม่วง กีวี แคนตาลูป มะละกอ ลูกพีช สับปะรด แอปเปิล ไข่ นม เนย ชีส สาหร่ายทะเล
เบต้าแคโรทีนและสีผิวหนัง
ส่วนมากนั้นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ จะมีรงควัตถุที่สำคัญคือเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีสีส้มถึงสีเหลือง เว็บไซต์ MedlinePlus.com ของสหรัฐอเมริการายงานว่าการบริโภคเบต้าแคโรทีนในระยะเวลาที่ยาวนานอย่างมีนัยสำคัญนั้นเป็นสาเหตุให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้มได้ ซึ่งพบมากในทารกและเด็กเล็ก โดยจะพบที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือบริเวณที่มีชั้นบนของหนังกำพร้าหนา หรือบริเวณเนื้อเยื่อที่มีชั้นไขมันใต้ผิวหนังมาก
ปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคเบต้าแคโรทีน
ยังไม่มีรายงานปริมาณแนะนำในการบริโภคเบต้าแคโรทีน ส่วนการบริโภคเบต้าแคโรทีนเสริมอาหารนั้นไม่แนะนำในประชาชนเช่นกัน เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้นเรามักได้รับปริมาณโปรวิตามินกันเพียงพออยู่แล้วจากมื้ออาหารหลัก ซึ่งพบว่าการบริโภคผักและผลไม้ วันละ 5 มื้อ จะได้เบต้าแคโรทีน 6-8 มิลลิกรัม แต่หากบริโภคเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่มากเกินไปถึง 30 มิลลิกรัม ก็จะสามารถทำให้สีผิวเปลี่ยนได้
จมูกของเด็กทารกที่มักจะได้รับปริมาณเบต้าแคโรทีนมากเกินไปในอาหารบดที่มีแครอท
ระยะเวลาที่จะเกิดผิวสีเหลือง (xanthoderma)หรือมีเบต้าแคโรทีนในเลือดสูง (Carotenemia)
อาการผิวเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองหรือส้มเนื่องจากการบริโภคเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่มากเกินไปนั้นเรียกว่า carotenemia สาเหตุที่ทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้มได้นั้นเกิดจาก เบต้าแคโรทีนนั้นเข้าไปในกระแสเลือด และจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง งานวิจัยจากวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 1993 รายงานไว้ว่าใช้เวลาประมาณ 10 วัน เบต้าแคโรทีนในปริมาณที่มากเกินไปนั้นจะเข้าสู่กระแสเลือดและใช้เวลาสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อหลายสัปดาห์ ซึ่งอาการ carotenemia นี้ ส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากการบริโภคเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่มากเกินไปในช่วง 2-3 สัปดาห์
ไม่เฉพาะแค่ผิวเท่านั้นที่เปลี่ยนสีได้ แม้กระทั่งอุจจาระและปัสสาวะก็จะเปลี่ยนสีออกเป็นส้มและเหลืองเนื่องจากเบต้าแคโรทีนนั้นถูกขับออกมาเช่นกัน
การรักษาอาการ Carotenemia
อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการบริโภคผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีนสูงหลายชนิด เช่น แครอท ผักสีเขียว หรือผลไม้ในตระกูลส้ม ถ้าหากคุณบริโภคเบต้าแคโรทีนเสริมอาหาร ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการนี้ การรักษานั้นแพทย์มักจะตรวจหาสาเหตุการบริโภคและให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น โดยอาการผิวเปลี่ยนสีนี้จะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากการสะสมของเบต้าแคโรทีนในชั้นผิวหนังนั่นเอง
ที่มาจาก:
http://en.wikipedia.org/wiki/Carotenosis
http://www.livestrong.com/article/528786-can-beta-carotene-change-your-skin-color/
http://emedicine.medscape.com/article/1104368-overview
http://www.todayifoundout.com/index.php/2012/02/if-you-eat-an-excessive-amount-of-carrots-your-skin-will-turn-an-orangishyellow-shade/
ภาพจาก:
http://kitchentablescraps.com/wp-content/uploads/2011/05/orange-foods-1024x708.jpg
http://babyjackbehler.blogspot.com/2006/02/overalls.html
http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Beta-carotene.svg
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)