logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จัก "มังกร" แบบวิทย์ วิทย์!!! (ตุ้งแช่ ตุ้งแช่)

โดย :
yrprincess
เมื่อ :
วันพุธ, 18 กุมภาพันธ์ 2558
Hits
46376

รู้จัก "มังกร" แบบวิทย์ วิทย์

มังกรvอุทยานนครสวรรค์

มังกรอุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

วันตรุษจีน วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติตามประเพณีของชาวจีนทั่วโลก ประเทศไทยก็มีชาวจีนผู้สืบเชื้อสาย ลูกหลานจีนจำนวนมากอาศัยอยู่ เทศกาลไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษและการเฉลิมฉลองจึงยิ่งใหญ่ตระการตา ไม่ว่าจะเป็นที่เยาวราช ที่เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ หรือที่จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับปี 2558 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ คิดว่าวันนี้หลายๆคนคงช่วยกันเตรียมของไหว้ทั้งเป็ด ไก่ ผลไม้ ขนม อาหาร เพื่อไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษกัน และเตรียมตัวพักผ่อนไปเที่ยวในวันถัดไป

คนจีนนั้นมีความเชื่อมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโชคลาภ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพลังอำนาจ ในการแสดงโชว์จึงมักมีทั้งความสวยงามและมีพลังอำนาจแฝงอยู่ โดยเฉพาะ “การแห่มังกร” ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และมังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้นเป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง" ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการออกเสียงของในแต่ละท้องถิ่น ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และเพศชาย

แห่มังกรนครสวรรค์ 2558

การแห่มังกรนครสวรรค์ 2558

การแห่มังกรเริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน (พ.ศ. 254 – 339) จัดเป็นการแสดงเล็กๆ แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 – 763) โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลามังกรมีฤทธิ์เดช โดยปลามังกรนี้คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากินได้ผลบริบูรณ์

มังกร (อังกฤษ: dragon; จากละติน: draco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ มังกรนั้นมีรูปร่างและลักษณะหลายอย่าง แตกต่างไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น


แต่โดยทั่วๆไปแล้วจะมีจุดเด่นคือ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ร่างกายใหญ่โต มีพละกำลังมาก บางครั้งอาจพ่นไฟได้ หรือมีอำนาจเวทมนตร์มหาศาล และที่สำคัญคือ เหาะได้ (อาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้) โดยขนาดรูปร่างและสีนั้น ก็แตกต่างกันไป คนจีนถือว่า มังกรนั้นคือเทพเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ (ซึ่งเป็นสมมติเทพ) แต่ทางยุโรปนั้นมักจะถือมังกรเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย (อันเป็นคติที่สืบทอดมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรป)

ภาพวาดมังกรจีนโบราณ
ภาพวาดมังกรจีนโบราณ

แล้วมังกรในตำนานของจีนนั้น มีจริงหรือเปล่า???

ประวัติศาสตร์เรื่องเล่าของมังกรนั้นแตกต่างกันไปตามแหล่งวัฒนธรรม โดยเราจะเห็นได้จากหนังสือ ภาพยนตร์ ทีวี หรือการแสดงโชว์แห่มังกร จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจุดเริ่มต้นของมังกรนั้นอยู่ที่ใด แต่บางตำราก็บรรยายถึงมังกรไว้เหมือนกับสัตว์บางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ประหลาด ดุร้าย มีปากขนาดใหญ่ มีฟันที่น่ากลัว หลังมีเหมือนเกราะหุ้มอยู่ หายใจแรงเหมือนแสงวาบไฟ ตาเปล่งแสงดั่งรุ่งอรุณ และปากพ่นไฟได้

คาร์ล ซูเคอร์ นักสัตววิทยา ได้บรรยายความหลากหลายของมังกรไว้ในหนังสือเรื่อง "Dragons: A Natural History" ว่าเป็น งูขนาดมหึมา มีเขาเป็นกิ่ง หัวเหมือนสัตว์ประหลาด และเป็นมังกรของเทพเจ้า หรือเป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีสองขา มีหางเป็นงูและปลายหางเป็นลูกศร (Wyverns) เป็นงูร้าย เป็นต้น ซึ่งเขากล่าวว่ารายละเอียดเหล่านี้ยังเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคอีกด้วย

หนังสือ The Evolution & Classification of the Dragon ได้กล่าวตามหลักอนุกรมวิธานไว้ดังนี้

The Evolution & Classification of the Dragon

มังกรจีนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ด้วยนะ !!!!

ปี 1977 Gary Gygax  (หนังสือ Monster Manual) กล่าวว่า มังกรของประเทศจีนนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Draco orientalus sino dux ชื่อสามัญ Gold dragon โดยจัดให้มังกรของจีนอยู่ในสกุล Draco สกุลย่อย Ferrodraco คือมังกรที่มีสีทองเหลือง ทองแดง เงิน บรอนซ์ และสีทอง และแบ่งตามชนิดของการมีปีกได้อีก 3 ชนิด โดยมังกรของจีนนั้นจัดอยู่ในประเภทไม่มีปีก (wingless oriental dragon) คือชนิด gold แต่ปีกนั้นเป็นโครงสร้างที่ไม่ปรากฎเสมอไป ซึ่งตามตำนานของประเทศจีนมีกล่าวไว้ว่าปีกของ gold dragon นั้นจะมีก็ต่อเมื่อมังกรนั้นมีอายุยืนยาวหลายศตวรรษเท่านั้น

ปี 2006 Joseph Nigg (หนังสือ How to Raise and Train a Dragon) ชื่อสามัญ Piasa ชื่อวิทยาศาสตร์ Draco piasaurus

ปี 2009 William O’Connor (หนังสือ Dracopedia) ชั้น Dragonia อันดับ Draconia วงศ์ Dracorexidae ชื่อสามัญ Great Chinese Gold ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracorexus cathidaeus

สุดท้ายแล้วในหนังสือได้สรุปไว้ว่า มังกรนั้นจัดอยู่ในวงศ์ Dracorexidae โดยมังกรจีนอยู่ในสกุล Draconis แทนที่จะเป็น สกุล Draco เพราะเป็นสกุลที่ใช้เรียกจิ้งจก หรือกิ้งก่าในปัจจุบัน มีชื่อสามัญว่า Earthquake Dragon ชื่อวิทยาศาสตร์ Draconis piasaurus (Synonyms: Draco piasaurus) โดยมีลักษณะลำตัวแข็งแรงกำยำ ไม่มีระยะที่เป็นตัวอ่อน มีเขาเป็นกิ่งเหมือนเขากวาง หัวและแผงขนที่ลำคอเหมือนสิงโต ปีกมีลักษณะเหมือนขนนก และปลายหางเหมือนครีบปลา มังกรชนิดนี้มีสีผสมกันของสีฟ้าอมเขียว แดง ขาวและดำ Earthquake Dragon นี้ว่ากันว่าทำให้เกิดแผ่นดินไหวด้วยเสียงคำราม มีหลายตำนานที่กล่าวว่ามังกรชนิดนี้ดุ ใจดี หรืออาจจะแม้กระทั่งกินมนุษย์

เป็นไงกันบ้าง กับอนุกรมวิธานของมังกร !!!

อ้างอิงจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99

http://goo.gl/NGjszl

http://www.scribd.com/doc/16225318/The-Evolution-Classification-of-the-Dragon#scribd

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
รู้จัก,มังกร,วิทย์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 18 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
yrprincess
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4699 รู้จัก "มังกร" แบบวิทย์ วิทย์!!! (ตุ้งแช่ ตุ้งแช่) /article-biology/item/4699-2015-02-17-18-31-12
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    Draco Draconis Dracorexidae Draconis piasaurus ตรุษจีน มังกรจีน ตุ้งแช่ มังกร
คุณอาจจะสนใจ
ธรรมชาติของมังกรโคโมโด
ธรรมชาติของมังกรโคโมโด
Hits ฮิต (15082)
ให้คะแนน
เทพนิยายของชนหลายชาติมักกล่าวถึงมังกรสำหรับคนเอเชีย มังกรเป็นสัตว์ไม่มีปีก และมีจิตใจดีงามนิทานพระอ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)