logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • ตำราดิน...วิธีพลิกแผ่นดินอีสานเป็นสีเขียว

ตำราดิน...วิธีพลิกแผ่นดินอีสานเป็นสีเขียว

โดย :
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
เมื่อ :
วันจันทร์, 07 มิถุนายน 2553
Hits
20892

ตำราดิน วิธีพลิกแผ่นดินอีสานเป็นสีเขียว

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

   บทความเรื่องนี้อ่านเจอในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2547 หน้า 9 เห็นว่าเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับชุดการสอนเรื่องเกี่ยวกับดิน และไส้เดือนดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเมื่อนำไปใช้ก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนและประเทศ จึงได้นำมาจัดลงเว็บไว้ครับ... 

   ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา เพราะปัจจัยการผลิตไม่เอื้ออำนวย เป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในกาคอีสานที่จะต้องทนสู้กับปัญหาความแห้งแล้ง และปัญหาดินมาโดยตลอด

   ความล้มเหลวดังกล่าวเป็นแรงหนุนให้เกษตรกรกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ เริ่มตั้งคำถามต่อความถูกต้องของวิถีการผลิตที่ดำเนินผ่านมาว่าเหตุใดนาข้าว ไร่มัน และสวนมะม่วงที่เดิมแทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงมากนัก กลับเสื่อมถอยคุณภาพลง แม้จะเพิ่มปริมาณปุ๋ยแล้วก็ตาม 

   ความไม่วางใจต่อแนวทางการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจึงเกิดขึ้น แล้วจับเข่าคุยกันถึงปัญหา สรุปได้ว่าแนวทางการเพาะปลูกเดิมผิดพลาดไป เพราะไม่ใส่ใจเรื่อง “ดิน” 

  “ตำราดิน ฉบับชาวบ้าน” หรือชุดความรู้เรื่องดินที่สัมฤทธิ์ผลโดยการนำการจัดการความรู้มาใช้ในงานระดับไร่นา ตามโครงการ “การจัดการความรู้ระดับชุมชน” หรือโครงการฟ้าสู่ดิน จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) 

   ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ และผู้ประสานงานโครงการ “ฟ้าสู่ดิน” กล่าวว่า 1 ขวบปีโครงการ “ฟ้าสู่ดิน” ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผลของการนำการจัดการความรู้มาใช้ในงาน ทำให้ชาวบ้านเริ่มทบทวนกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนำมาเป็นบทเรียนสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม 

   ในโครงการทดลองดังกล่าว ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาบำบัดปัญหาจาก 1 แปลงเกษตรเล็กๆ ที่เรียกว่า “แปลงเกษตรประณีต” ถูกใช้เป็นฐานการทดลองเพื่อพัฒนาดินใน 5 ฐานการเรียนรู้ชุมชน และกลายเป็นแปลงวิจัยและทดลองปฏิบัติจริงของสมาชิก ในเรื่องการพัฒนาดินที่เสื่อมโทรม หลากร้อยวิธีที่ผ่านการระดมสมองถูกนำมาทดลองกันที่นี่ แม้วิธีการจะแตกต่างกันไปในแต่ละฐาน แต่สมาชิกทั้ง 5 ฐานจะนำข้อดีและข้อเสียในแต่ละวิธีมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันประจำทุกเดือน ได้เป็นชุดความรู้เรื่องดินมากมายหลายวิธี อาทิเช่น 

   ฐานการเรียนรู้เรื่อง “เก็บมูลทุกอย่างไปใส่ให้ดินดี: คือวิธีการคืนชีวิตให้ดิน” ของพ่อสมพงศ์ สมาชิกฐานการเรียนรู้บ้านส้มกบ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ที่ใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำเศษใบไม้และสารพัดวัชพืชทุกอย่าง ขนมาใส่ในแปลงนา รวมถึงมูลวัว มูลควาย 

    พ่อสมพงศ์ เล่าว่า ต้องไปเก็บตอนโพล้เพล้ตามถนนในหมู่บ้าน หลังจากที่เพื่อนบ้านนำวัวควายกลับบ้านกันหมดแล้ว จนถูกตั้งสมญาว่าเป็น “เทศบาล” ประจำหมู่บ้าน และถูกหยามเหยียดว่าคิดและทำอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน แต่พ่อสมพงศ์ก็ไม่เคยย่อท้อ แปลงมาเป็นกำลังใจทำต่อ ใช้ผลงานพิสูจน์ให้พวกเขาเห็น 

   พ่อสมพงศ์เป็นผู้คิดค้นเคล็ดลับการตรวจสภาพดินดี โดยเล่าให้ฟังว่าเคล็ดลับนี้ได้มาโดยบังเอิญขณะเดินสำรวจดินในแปลงนาที่ตนใส่ใจบำรุงดินมายาวนานยามค่ำคืน แต่ระหว่างที่เดินอยู่นั้น เกิดความชื้นจับที่ขา ทำให้พ่อสมพงศ์ต้องก้มลงใช้มือลูบคลำดิน ก็พบว่าดินนั้นเย็น แล้วทดลองใช้มือคลำดินบริเวณแปลงนาที่ไม่ได้ปรับปรุง พบว่าดินนั้นกับร้อน จึงเกิดการเปรียบเทียบเมื่อปลูกพืชได้ผลดีในดินที่เย็น

arid-land


   ปัจจุบันที่นาของพ่อสมพงศ์กลับกลายเป็นแปลงปลูกฝ้ายที่งอกงามควบคู่ไปกับไม้ใหญ่และพืชผักสวนครัวสนับสนุนเกื้อกูลกัน ถึงวันนี้พ่อสมพงศ์มีรายได้จากการเก็บผลผลิตขายทุกวัน จนคนในหมู่บ้านอิจฉา

   ต่อมาคือฐานการเรียนรู้เรื่อง “ดิน 5 พลังฐานการเรียนรู้บ้านหนองดุม: ฐานการเรียนรู้บ้านหนองดุม” อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เป็นแปลงทดลองสำหรับสูตรพัฒนาดิน 5 พลัง มีอาจารย์ประสงค์ อาจหาญ หัวหน้าฐานและสมาชิกร่วมกันทดลอง โดยคิดสูตรจากเกร็ดความรู้ที่เก็บเกี่ยวได้จากเพื่อนต่างฐานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน 

   อาจารย์ประสงค์ เล่าว่า ดินบริเวณนี้เป็นดินที่ขุดขึ้นมาจากสระ ถูกนำมาปรับปรุงโดยใส่ใบไม้ แกลบ ปุ๋ยคอก ดินเลน ผักตบชวา ที่เรียกว่า “สูตร 5 พลัง” แล้วปล่อยให้ทับถมกัน สูตรนี้ใช้กับดินที่ไม่มีธาตุอาหารสะสมในดินเลย 

   การสร้างหน้าดินอย่างง่ายนั้น หากให้ธรรมชาติฟื้นชีวิตดินเอง คงต้องใช้เวลานาน ระหว่างนี้กลุ่มเกษตรกรนักทดลองได้ร่วมกันทดลองการสร้างหน้าดินไว้ปลูกพืชอย่างง่ายโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ คือนำกิ่งไม้เปลือกไม้แห้งรองพื้นเป็นแปลง จากนั้นนำปุ๋ยคอกและฟางปูทับ ปิดท้ายด้วยเศษใบไม้แห้งมาคลุม ถ้าอยากให้หน้าดินย่อยสลายเร็วขึ้นก็ใส่จุลินทรีย์ ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 3 เดือน สังเกตกองดินจะยุบตัวเมื่อมีการย่อยสลาย สามารถปลูกพืชผักสวนครัวเจริญเติบโตได้ดี วิธีการนี้ ทุกฐานได้ทดลองทำจริงในแปลงนาแล้วได้ผลดี มีผลผลิตมาแบ่งปันกันทุกเดือน 

   สำหรับฐานการเรียนรู้บ้านแสงจันทร์ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ก็มีชุดความรู้เรื่องดินที่ต่างกันออกไป ที่นี่อาจารย์ไพรัตน์ ชื่นศรี หัวหน้าฐานและสมาชิกได้ทดลอง ขุดดินในแปลงนาให้ลึก 1 เมตรเป็นแนวยาว จากนั้นใช้เศษไม้แห้งและใบไม้แห้ง พร้อมทั้งมูลวัว มูลควาย เศษวัชพืชต่างๆ รองก้นหลุม จากนั้นกลบดินปล่อยให้เศษซากพืชซากสัตว์ย่อยสลายอยู่ใต้ดิน 

  วิธีการนี้อาจารย์ไพรัตน์กล่าวว่า จะช่วยให้รากพืชสามารถชอนไชดูดซึมธาตุอาหารได้ตลอดและเต็มที่

  ในฐานการเรียนรู้บ้านแสงจันทร์ ยังมีกรรมวิธีใช้ต้นไม้ใหญ่ที่ต้านทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีมาปลูกเพื่อให้บุกเบิกปรับสภาพดินให้ดีโดยอาศัยใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมแล้วสะสมธาตุอาหารให้กับดิน 

  อาจารย์ไพรัตน์ เล่าให้ฟังอีกว่า แม้ดินอีสานจะแห้งแล้งไม่เหมาะแก่การปลูกพืชมากนัก แต่ก็สามารถพลิกฟื้นได้โดยการให้ธรรมชาติบำบัดกันเอง อันดับแรกจะต้องไม่ตัดต้นไม้ในแปลงนาก่อน แล้วก็ค่อยๆ พยายามปลูกต้นไม้ร่วมกับพืชชนิดอื่นๆ โดยปลูกทุกอย่างเท่าที่จะปลูกได้ เพื่ออาศัยใบไม้ของต้นไม้ใหญ่ เมื่อเวลาล่วงหล่นลงมาจะเป็นปุ๋ยชั้นดี 

  ส่วนบริเวณใดที่ดินเลวจนไม่สามารถปลูกอะไรได้เลยนั้น ให้ใช้วิธีขุดหลุมแล้วใส่เศษใบไม้ วัชพืช และมูลสัตว์ รองก้นหลุมก่อนปลูกเพื่อให้พืชมีอาหารกักตุนไว้ในระยะสั้นๆ แต่เมื่อต้นไม้เหล่านั้นเติบโตก็จะให้ประโยชน์ในระยะยาว

  ดร.แสวง รวยสูงเนิน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า จากงานทดลองชองชาวบ้านนี้ พบว่าประเด็นสำคัญของการจัดการดินที่ดินอย่างยั่งยืนว่า น่าจะเน้นที่การจัดการความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบต้นไม้ในการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างเพียงพอให้สามารถรักษาระดับในการผลิตของดินได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีต้นไม้ชนิดต่างๆ เป็นแกนของระบบ 

  และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ จากการที่ชาวบ้านได้ลงมือทดลองปรับปรุงดินด้วยตนเองได้ก่อให้เกิดความรู้เชิงประจักษ์ในหลายประเด็น สิ่งที่พิสูจน์ได้อย่างจัดเจน คือ ที่ดินที่เคยปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นเลย วันนี้กลับปลูกอะไรก็ได้ อย่างเช่นที่แปลงทดลองบ้านแสงจันทร์ เห็นได้ชัดในนาก็มีต้นถั่ว มีปลา บนคันนามีต้นไม้ใหญ่ บนต้นไม้ใหญ่ยังมีมดแดง ใต้ต้นไม้ใหญ่มีพืชผักให้เก็บกินได้ทุกวัน 

ผลงานของชาวบ้านครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อชีวิตจริง



เอกสารอ้างอิง
*** หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2547 ,หน้า 9

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แผ่นดิน,เกษตรกร,ความแห้งแล้ง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 07 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 390 ตำราดิน...วิธีพลิกแผ่นดินอีสานเป็นสีเขียว /article-biology/item/390-land
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
คณิตศาสตร์กับการเขียนโปรแกรม
คณิตศาสตร์กับการเขียนโปรแกรม
Hits ฮิต (16873)
ให้คะแนน
การแก้ปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องใช้ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งโดยลำดับการเกิดของศาสตร์ ...
วิธีการเอาชนะเกมเปายิงฉุบตามแบบฉบับนักคณิตศาสตร์
วิธีการเอาชนะเกมเปายิงฉุบตามแบบฉบับนักคณ...
Hits ฮิต (32561)
ให้คะแนน
แม้ว่าคำถามเกี่ยวกับวิธีการในการเอาชนะเกมค้อน กระดาษ กรรไกรจะสร้างความรำคาญใจให้กับนักคณิตศาสตร์และ ...
การเรียนคณิตศาสตร์แนว Why จากแดนโสม
การเรียนคณิตศาสตร์แนว Why จากแดนโสม
Hits ฮิต (34883)
ให้คะแนน
การเรียนคณิตศาสตร์แนว Why จากแดนโสม ในสวนสัตว์มียีราฟและนกยูงรวมกัน 25 ตัว นับขาได้ 68 ขา จงแสดงว่า ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)