logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • อาวุธชีวภาพเป็นไฉน ?

อาวุธชีวภาพเป็นไฉน ?

โดย :
มาลินี นิ่มเสมอ
เมื่อ :
วันจันทร์, 07 มิถุนายน 2553
Hits
19400

อาวุธชีวภาพเป็นไฉน ?

มาลินี นิ่มเสมอ

    ในศตวรรษนี้เทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจของสังคม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและเทศโนโลยีชีวภาพ เฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ    ในอนาคตคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร การสาธารณสุข 

 

 

3438455881799px-InsulinMonomer

                         ที่มา:ภาพประกอบจาก http://th.wikipedia.org

 เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำเอาสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์มากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี  เทคโนโลยีชีวภาพก็เหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีผู้นำประโยชน์ของเทคโนโลยีไปใช้ในทางลบ เช่น นำเอาสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อพืช สัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์มาใช้เป็นอาวุธทำลายล้างกัน ที่เรียกว่าอาวุธชีวภาพ ซึ่งเป็นมหันตภัยที่คุกคามมวลมนุษย์อย่างมาก สิ่งมีชีวิตที่นำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้แก่พวกจุลินทรีย์ ที่เป็นเชื้อโรค รวมทั้งชิ้นส่วนของจุลินทรีย์ เช่น สปอร์ หรือเส้นใยของราหรือแบคทีเรีย รวมทั้งพรีออน ( Prion : เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคที่ไม่ใช่เซลล์และไม่มีสารพันธุกรรมมีแต่โปรตีน) และสารพิษที่สกัดจากสิ่งมีชีวิต 

   ในอดีตมีการนำจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพมานานแล้วแต่เป็นการผลิตตามธรรมชาติ ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ผลิตได้รวดเร็ว ก่อให้เกิดโรคที่แตกต่างจากลักษณะของโรคที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม และระบาดหรือแพร่กระจายในวงกว้าง จุลินทรีย์บางชนิดอาจสร้างสารพิษได้ไม่มากเท่าไร แต่ถ้ามีการนำเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุวิศวกรรมมาใช้ จุลินทรีย์ชนิดนั้นจะสามารถผลิตสารพิษได้มากขึ้น หรือทนต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น เมื่อนำไปใช้เป็นอาวุธก็จะเกิดความรุนแรงอย่างมากหรือดื้อต่อยาต้านจุลชีพ หรือการให้วัคซีนไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จะแพร่กระจายได้ดีสมบัติจะเปลี่ยนไปจากเดิม ยากต่อการจำแนกและรักษา 

    จุลินทรีย์ที่จะใช้เป็นอาวุธชีวภาพควรมีลักษณะอย่างไร ?

คำตอบคือ ต้องทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและมีผลกระทบต่อมนุษย์ หรือมีผลต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้ยังต้องผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ มีความคงทนในการผลิตและในการเก็บรักษา เก็บไว้ได้นาน กลายพันธุ์ยาก มีความสามารถในการแพร่กระจายสูง และมีระยะฟักตัวสั้น ทนต่อสภาพแวดล้อม ใช้ปริมาณน้อยแต่มีพิษร้ายแรง นอกจากนี้ต้องมีคุณสมบัติเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น โรคแอนแทรกซ์ ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางเดินหายใจก็จะทำให้เกิดโรคที่ปอด แต่ถ้าเข้าทางผิวหนังก็จะเกิดอาการทางผิวหนัง ถ้าเข้าทางเดินอาหารก็จะเกิดอาการในกระเพาะอาหารและลำไส้ เชื้อโรคที่ใช้เป็นอาวุธชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ หรือโรคกาลี ไข้ทรพิษ ไทฟอยด์ กาฬโรค ไวรัสไข้เลือดออก โรคทูลารีเมีย ฯลฯ สารพิษที่ใช้เป็นอาวุธชีวภาพ เช่น สารพิษบอทลึซึม 

   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างอาวุธชีวภาพสัก 2 - 3 ชนิด

    Antrax หรือโรคกาลี เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นรูปแท่ง ทำให้เกิดโรคระบาดในสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินหญ้า เช่น โค กระบือ และติดต่อมาถึงคน เมื่อคนสูดลมหายใจเอาสปอร์ของ เชื้อโรคนี้ที่อยู่ในอากาศเข้าไปสัมผัสหรือกินสัตว์ที่เป็นโรคนี้ ถ้าเข้าสู่ทางเดินอาหารจะทำให้อุจจาระร่วง อาจจะถ่ายออกมาเป็นเลือด ถ้าเข้าทางเดินหายใจจะทำให้เกิดปอดบวม หายใจไม่ออก ถ้าเข้าทางผิวหนัง ผิวหนังจะเป็นแผล 
ข้อมูลเพิ่มเติม - ภาษาอังกฤษ
1. Information Paper - Anthrax as a Biological Warfare Agent

Smallpox หรือไข้ทรพิษ เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในสภาพแห้งหรืออุณหภูมิได้นาน ถ้าผู้อ่านมีอายุประมาณ 40 - 50 ปี คงจำได้ว่า จะมีการฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันไข้ทรพิษ แต่ในปี พ.ศ. 2523 ก็มีการหยุดฉีดวัคซีนกัน เนื่องจากองค์การอนามัยโลกประกาศว่าไข้ทรพิษหมดไปจากโลกนี้แล้ว โรคนี้พวกเรากลัวกันมาก เพราะเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดตุ่มนูนแดงทั่วตัวต่อมาตุ่มจะใสแล้วเป็นหนอง ถ้าเชื้อโรคนี้เข้าสู่กระแสเลือดจะกระจายไปทั่วร่างกายก็จะตายได้ 
ข้อมูลเพิ่มเติม - ภาษาอังกฤษ
2. Smallpox as a Biological Weapon: Medical and Public Health Management

Botulism เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง สามารถสร้างสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ติดต่อกันได้ทางการกินและบาดแผล เช่น กินอาหารกระป๋องที่มีพิษของแบคทีเรียนี้เข้าไปอาจทำให้ตายได้ พบว่าเพียง 1 กรัม ทำให้คนตายได้ถึง 1.5 ล้านคน 
ข้อมูลเพิ่มเติม - ภาษาอังกฤษ
3. Botulinum Toxin as a Biological Weapon: Medical and Public Health Management

   อาวุธชีวภาพมีฤทธิ์และพิษภัยร้ายแรงมากกว่าสารเคมีหลายเท่า เรามอง ไม่เห็น ไม่รู้รส และไม่ได้กลิ่น รับเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว การป้องกันจึงทำได้ยาก 

   มีผู้กล่าวว่าในอนาคตการต่อสู้กันในรูปแบบสงครามจะลดลง และการต่อสู่กันโดยผู้ก่อการร้ายจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการใช้อาวุธชีวภาพในการก่อการร้าย ประเทศต่างๆ คงจะต้องให้ความสนใจในเรื่องอาวุธชีวภาพมากขึ้นกว่านี้ ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง รวดเร็ว กว้างขวาง ต่อชีวิตพืช สัตว์ หรือมนุษย์อาจเป็นไปได้ที่เกิดจากอาวุธชีวภาพ จะต้องมีการสกัดทำลายอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ถ้าปล่อยปละหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะสร้างความหายนะสุดที่จะคณานับได้ 


เอกสารอ้างอิง
ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2544. อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพกับประเทศไทย หน้า 20. ใน เอกสารเผยแพร่ 
ในรายงานการสัมมนาเรื่อง อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพกับประเทศไทย, 3 เมษายน 2544. โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค, 
กรุงเทพมหานคร. 

อ่านเพิ่มเติม - ภาษาไทย
1. ข่าว-กรุงเทพธุรกิจ: เผยโฉมอาวุธเชื้อโรค
2. UPDATE Magazine Online: อาวุธชีวภาพกลับมาอีกครั้ง พร้อมภาพประกอบ 
3. ข่าว-กรุงเทพธุรกิจ: สธ.เกาะติดอาวุธชีวภาพเผย19เชื้อโรคร้ายที่ใช้ในสงคราม
4. ThaiClinic.Com-Medical Education-การปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อจากสงครามเชื้อโรค นอกจากนี้ 
ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของสงครามเชื้อโรค และลักษณะอาการของโรคอีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม - ภาษาอังกฤษ
4. CNN.com In-Depth Specials Reports and Analysis มีภาพแผนที่โลกแสดงประเทศที่มีการพัฒนาอาวุธ 
ชีวภาพ และสามารถ click เข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละประเทศได้ นอกจากนี้ยังมีภาพแสดงอาการของโรค 
ที่ถูกนำมาใช้ในการทำสงครามด้วย

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อาวุธ,ชีวภาพ, สิ่งมีชีวิต, เทคโนโลยี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 05 มิถุนายน 2553
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 378 อาวุธชีวภาพเป็นไฉน ? /article-biology/item/378-biotechnology
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สนามแม่เหล็กโลก
สนามแม่เหล็กโลก
Hits ฮิต (38978)
ให้คะแนน
สนามแม่เหล็กโลก เรา คงเคยเรียนลูกเสือกันมาบ้าง ในการเดินทางไกล นอกจากจะต้องเตรียมอาหารและน้ำดื่มให้ ...
เครื่องบิน บินสูงเเค่ไหน!?
เครื่องบิน บินสูงเเค่ไหน!?
Hits ฮิต (32600)
ให้คะแนน
เครื่องบินที่ลอย ๆ ล่อง ๆ อยู่บนฟ้า เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นกันมาบ้าง หรือถ้าใครที่มีบ้านหรือใช้ชีว ...
Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 2
Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 2
Hits ฮิต (11096)
ให้คะแนน
จากตอนที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับแอมะซอนกันแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นป่าที่มีความมหัศจร ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)