logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ปรากฎการณ์ปลายลิ้น

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 31 พฤษภาคม 2556
Hits
24961

เคยมีอาการเหล่านี้กันบ้างมั๊ยคะ เช่น อยู่ดีๆ ก็นึกชื่อเพื่อนคนนั้นไม่ออก ทั้งๆ ที่เมื่อชั่วโมงที่แล้วก็ยังจำได้อยู่เลย ได้แต่พูดว่า "คนนั้นไงๆ ที่ชื่อเล่นมี บ.ใบไม้ อะ" "ชื่อจริงชื่อ วรรณๆ อะไรซักอย่างอะ จำไม่ได้ละ" นั่งเล่นคำใบ้อยู่นาน สุดท้ายชื่อนั้นก็ไม่หลุดจากปากซักที แต่พอกลับมาบ้านปุ๊บคิดออกเลยค่ะ    ตอนแรกคิดว่าตัวเองกำลังจะเป็นอัลไซเมอร์ แต่พอมาหาข้อมูลดู มันเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ค่ะ เรียกว่าเป็น ปรากฏการณ์ "ปลายลิ้น" คือ คุ้นๆ เหมือนจะนึกออก แต่นึกไม่ออก บอกไม่ถูก ปรากฏการณ์ปลายลิ้นอย่างนี้ในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า tip-of-the-tongue เขาเปรียบเทียบกันว่าการที่เรากำลังนึกถึงชื่อของอะไรสักอย่าง แต่ไม่สามารถเรียกออกมาได้ เหมือนกับสิ่งๆ นั้นติดอยู่ที่ปลายลิ้น ไม่ยอมหลุดออกจากปากมานั่นเอง



 



ปรากฎการณ์ปลายลิ้นถือว่าเป็น ภาวะทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับกลไกการทำงานของระบบความจำ และกลไกการดึงข้อมูลออกมาจากสมอง ซึ่งเดโบราห์ เอ็ม. เบิร์ก และเอน แมกเคย์ นักจิตวิทยา ได้อธิบายแนวคิดไว้ว่าเกิดจากการที่สมองไม่สามารถเชื่อมโยงความหมายและเสียงของคำที่ต้องการได้ อาจเกิดจากการที่เราไม่ได้ยินหรือพูดคำนั้นเป็นเวลานานค่ะ ดังนั้นต่อให้ชื่อนั้นฝังอยู่ในความจำระยะยาวก็ไม่สามารถดึงความจำออกมาได้ทั้งหมด โดยสิ่งที่นึกออกจะมาเป็นพยางค์ หรือตัวอักษรบางตัวเท่านั้น เช่น พยัญชนะตัวแรก หรือคำที่ลงท้าย หรือคำที่ใกล้เคียง

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนชื่อ "สมศรี" เมื่อเกิดภาวะติดที่ปลายลิ้นขึ้นมา เราจะบอกได้แค่ว่าชื่อเพื่อนคนนี้ "เหมือนขึ้นต้นด้วย ส.เสือ " "เพื่อนคนนี้ชื่อ สมๆ อะไรซักอย่างนี่แหละ" หรือ "ใช่คนที่ชื่อ สมหวัง หรือเปล่าไม่แน่ใจนะ" จะเห็นได้ว่าคำพูดที่ออกมามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำที่ต้องการสื่อทั้งนั้น แต่กลับสื่อได้เพียงนิดเดียวหรือผิดความหมายทั้งหมด

ซึ่งปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นกับคำเฉพาะมากกว่าคำสามัญทั่วไป เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ ซึ่งแน่นอนชื่อพวกนี้เรารู้จักดี แต่บางเวลาอาจดึงนำออกมาใช้ไม่ได้นั่นเอง และมักจะไปนึกออกในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ได้นึกถึงคำนั้นๆ



นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเยอะเลยค่ะ เช่น ปรากฏการณ์ปลายลิ้นเกิดขึ้นกับหลายๆ ชาติเลยนะคะไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทย โดยสามารถเกิดได้กับทุกคนก็จริง แต่พบได้ในคนที่อายุมากกว่า และคนที่อายุมากกว่าก็จะใช้เวลาในการระลึกคำนั้นนานกว่า เช่น ในช่วงวัยเด็ก อาจคิดคำที่ต้องการพูดได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากหน่อยอาจต้องใช้เวลาเป็นวันๆ เลยทีเดียว

สำหรับวิธีการที่ช่วยให้นึกคำนั้นออกมาได้ มีการทดลองมาแล้วว่าการใบ้ด้วยท่าทางหรือขยับมือในขณะพูด ช่วยให้นึกคำออกมาได้มากกว่า ในขณะที่กลุ่มที่ทดสอบโดยไม่ให้ขยับมือนึกออกได้น้อยมาก ดังนั้นใครที่ติดอยู่ในอาการนี้ ลองขยับไม้ขยับมือประกอบอาจช่วยให้คิดออกมาได้เร็วขึ้นค่ะ



ที่มา : www.dek-d.com

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ปลาย,ลิ้น
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 31 พฤษภาคม 2556
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 3571 ปรากฎการณ์ปลายลิ้น /article-biology/item/3571-2013-05-31-08-51-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)