logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

โรคตาขี้เกียจ

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 10 พฤษภาคม 2556
Hits
31911

 

โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia)


สายตาขี้เกียจคืออะไร?

สายตาขี้เกียจ หมายถึง ภาวะที่ความสามารถในการมองเห็นของดวงตา ข้างใดข้างหนึ่งด้อยกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยดวงตาข้างที่เป็นสายตาขี้เกียจจะมองเห็นภาพต่าง ๆ มัวกว่าดวงตาอีกข้างที่เป็นปกติ ภาวะสายตาขี้เกียจนี้มักเกิดขึ้นในเด็กเฉพาะเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 -7 ปี ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจจะทำให้มีอาการตามัวเช่นนี้อย่างถาวร และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้แว่นตา ทานยา หยอดยา การผ่าตัด หรือการทำเลสิกเพื่อรักษาปัญหาทางสายตา

อาการของโรคสายตาขี้เกียจ โดยปกติแล้ว มนุษย์เราจะมีการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการทางด้านต่างๆ ตามปกติ “ดวงตา” ก็เช่นกัน จะมีการพัฒนาความสามารถในการมองเห็นโดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด

แต่หากมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตาและทำให้ดวงตาทั้งสองหรือข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่จะทำให้ดวงตาข้างที่ใช้น้อยนั้นมีพัฒนาการในการมองเห็นไม่เต็มที่ เพราะไม่ได้รับการกระตุ้น สมองจะสั่งการให้ตาข้างที่ไม่ชัดมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเช่นนั้นตลอดไป  โดยสมองจะจดจำว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ชัดที่สุดที่สามารถมองเห็นได้แล้ว

โรคสายตาขี้เกียจนี้หากพ่อแม่คอยสังเกตพฤติกรรมของลูก และพาไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่า สายตาขี้เกียจคืออะไร จึงไม่ได้พาลูกไปเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้พลาดโอกาสในการรักษาไปอย่างน่าเสียดาย เพราะโดยมากแล้ว หากมาเข้ารับการรักษาหลังจากที่เด็กอายุเกิน 7 ปีไปแล้ว พัฒนาการของการมองเห็นจะยุติลง การรักษาให้หายขาดจึงเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะไม่มีเลย

สาเหตุของโรคสายตาขี้เกียจ

สายตาขี้เกียจ จากโรคตาเหล่ : เด็กที่มีอาการตาเหล่ เช่นตาเหล่เข้าด้านใน จะเกิดการมองเห็นภาพซ้อนหากใช้ดวงตาทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน สมองจึงสั่งการให้ไม่ใช้งานในดวงตาข้างที่ผิดปกติจึงทำให้ดวงตาข้างนั้นไม่ได้รับการพัฒนาทางการมองเหมือนกับดวงตาอีกข้าง

สายตาขี้เกียจ จากสายตาทั้งสองข้าง สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงไม่เท่ากัน : เช่น สายตาข้างหนึ่งสั้นมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ภาวะเช่นนี้เด็กมักจะใช้ดวงตาข้างที่มองเห็นได้ชัดกว่าเป็นหลักในการมองภาพ ส่วนอีกข้างจะถูกใช้งานน้อย หรืออาจจะไม่ได้ใช้เลย

สายตาขี้เกียจ จากสายตาสั้น สายตายาวหรือเอียงมากทั้งสองข้าง : ภาวะนี้อาจทำให้เกิดสายตาขี้เกียจได้ในตาทั้งสองข้าง เนื่องจากจะมองเห็นภาพไม่ชัดทั้งสองข้าง

โรคทางตาอื่น ๆ : เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด โรคกระจกตาดำขุ่นมัว หนังตาตกมากจนปิดรูม่านตา หรือโรคเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น โรคต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้แสงเดินทางผ่านเข้าไปในดวงตาไม่ดีจึงมองเห็นภาพไม่ชัด เด็กก็จะใช้ดวงตาอีกข้างที่ดีกว่าเป็นหลักในการมอง

 

วิธีรักษาโรคสายตาขี้เกียจ

การรักษาโดยการผ่าตัด : กรณีที่สามารถทำการผ่าตัดเพื่อรักษาได้ เช่น ผ่าตัดต้อกระจก, เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา, หนังตาตก ควรได้รับการผ่าตัดก่อน จากนั้นจึงค่อยรับการทำการพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ดวงตาอีกข้างที่ด้อยกว่าได้ถูกใช้งานบ้าง

การรักษาโดยการใช้แว่นสายตา : ในกรณีที่สายตาขี้เกียจจากปัญหาความผิดปกติทางสายตา จะเริ่มโดยการใช้แว่นสายตาก่อน ซึ่งหากเด็กเริ่มมองเห็นชัดจากการใช้แว่น ก็ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้

การรักษาในกรณีที่มีตาเหล่ หรือเริ่มมีอาการตาขี้เกียจแล้ว : จะกระตุ้นโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้รับการใช้งาน ซึ่งควรปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติ แต่ละรายอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ทั้งนี้ การรักษาโรคสายตาขี้เกียจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากคุณพ่อคุณแม่ เริ่มตั้งแต่สังเกตพฤติกรรมในการมองของลูก หากพบอาการผิดปกติควรรีบพาไปพบจักษุแพทย์ และหากต้องการได้รับการรักษา เช่น การปิดตานั้น ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในความสำเร็จของการรักษา โดยจะต้องดูแลให้เด็กปิดตาในข้างที่กำลังรักษาตามเวลาที่แนะนำ หากเด็กไปโรงเรียนแล้วถูกเพื่อนล้อ อาจจะต้องคอยให้กำลังใจ และพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


โรคตาขี้เกียจนี้ สามารถรักษาได้หากพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ทางที่ดีควรหมั่นสังเกตุบุตรหลานของท่าน หรือพาไปตรวจเช็คสายตากับจักษุแพทย์ก่อนวัยเข้าเรียนก็จะช่วยป้องกันปัญหาได้อีกทางหนึ่งนะคะ







ที่มา : Laservision International LASIK Center (Bangkok)

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โรค,ตา,ขี้เกียจ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 10 พฤษภาคม 2556
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 3522 โรคตาขี้เกียจ /article-biology/item/3522-2013-05-10-08-11-08
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)