logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฟันแท้ที่งอกใหม่ได้

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันอังคาร, 22 มกราคม 2556
Hits
36800

มีหลายเหตุผลที่สนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงฟัน สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำหลายชนิดสามารถสร้างฟันใหม่ขึ้นมาได้เองเรื่อย ๆ ฉลาม   บางสายพันธุ์สามารถสร้างฟันชุดใหม่ขึ้นมาได้ถึง 2-3 พันซี่ในช่วงชีวิตของมัน  แม้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสูญเสียความสามารถนี้ไป แต่ยังมีโรคที่ผ่านการ สืบทอดทางพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้บางคนมีฟันพิเศษงอกเพิ่มขึ้นมาจาก จำนวนปกติ และการที่กระดูกซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับฟัน สามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่และสมานได้เองหลังจากแตกหัก

เหตุใดฟันถึงไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ในทำนองเดียวกันกับกระดูก?

จากองค์ประกอบของฟัน จะเห็นว่าฟันประกอบขึ้นด้วยเนื้อเยื่อต่าง ๆ กันหลายชนิด รวมทั้งเดนทีนและ ชั้นบางๆ ของอีนาเมลซึ่งเป็นสารที่แข็งที่สุดในร่างกาย กระบวนการสร้างฟัน ถูกกำหนดโดยการรับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial) ของเหงือกและ เซลล์มีเซนไคมัล (mesenchymal cells) ที่อยู่ข้างใต้

มีเซนไคมัลเซลล์ จะให้ โอดอนโทบลาสท์ (odontoblasts) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สร้างเดนทีน (dentine-producing cells) ส่วนเซลล์เยื่อบุผิวจะกลายเป็นอะมีโลบลาสท์ (ameloblasts) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ สร้างอีนาเมล (enamel-producing cells) ข้างในฟันจะมีโพรงเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ ประสาทฟัน (pulp chamber) ซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดจากเหงือกมาหล่อเลี้ยง ส่วนของรากฟันจะถูกยึดอย่างแข็งแรงด้วยชั้นบาง ๆ ของสารคล้ายกระดูก ที่เรียกว่าซีเมนตัม (cementum) และเส้นใยขนาดเล็กจำนวนนับพันที่เรียกว่า periodontal ligament ซึ่งจะทำการยึดฟันให้ติดกับกราม

 



การเจริญของเนื้อเยื่อ เหล่านี้เป็นไปอย่างมีแบบแผน สอดคล้องและประสานกันตามลำดับสัญญาณ เคมีที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าฟันงอกขึ้นมาใหม่จะต้องมีการทำเลียนแบบสัญญาณเหล่านี้ จะเห็นว่าการสร้างฟันให้สำเร็จได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อน ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเพาะเลี้ยงฟันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อมีการพบ stem cells ในฟัน stem cells เป็นเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้หลายชนิด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกคิดว่ามีอยู่เฉพาะในตัวอ่อนเท่านั้น ที่จริงแล้ว stem cells ยังคงพบอยู่ได้ในเนื้อเยื่อหลายชนิดแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งถ้าเพียงแต่รู้ วิธีการแยกออกมา และจัดการเพื่อเปลี่ยนเซลล์นี้ไปเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ตาม ต้องการ เราก็จะสามารถสร้างอวัยวะต่าง ๆ ได้


การใส่ฟันปลอมก็ไม่สะดวกสบาย หรือแม้แต่การใช้รากฟันเทียมไทเทเนียม ซึ่งเป็น งานศัลยกรรมที่ใช้ฝีมือ ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้เทียบเท่ากับฟันจริง การทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อเพาะเลี้ยงฟันขึ้นมา  จึงเป็นอีกหนทางที่จะได้ฟันใหม่ งอกขึ้นมาทดแทนฟันที่หลุดไป จากการที่ฟันไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญในการ ดำรง ชีวิตเหมือนพวกตับหรือหัวใจ ดังนั้นถ้าฟันที่เพาะเลี้ยงไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ หมอฟันก็สามารถเอาออกและทำการปลูกถ่ายใหม่ได้ทันที ไม่มีอันตรายเหมือน การปลูกถ่ายตับที่ประสบความล้มเหลว

นอกจากนี้การปลูกถ่ายยังเป็นศัลยกรรม ที่ไม่ซับซ้อน เพียงผ่าเปิดไปยังบริเวณที่จะปลูกฟันเท่านั้น อีกประการ ที่เป็น เหตุผลในการดึงดูดให้เกิดงานวิจัยทางด้านนี้คือ ความรักสวยรักงามที่เป็น ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าจะมีแหล่งเงินทุนจากบริษัทใหญ่ ๆ ให้การสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ในอีก 10 ปีข้างหน้า หมอฟันจะสามารถทำการปลูกให้ฟันงอกขึ้นมาในตำแหน่งที่ต้องการได้ โดยใช้เพียงเซลล์ของคนไข้ที่ผ่านการทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อมาแล้ว



ความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสร้างความเป็นไปได้ ที่จะเพาะเลี้ยงอวัยวะขึ้นมาจากเซลล์  เพื่อมาทดแทนส่วนที่สึกหรอหรือล้มเหลวในการทำงาน หากจะกล่าวถึงงานวิจัยทางด้านนี้ ทุกคนคงจะนึกถึงงานที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต หรือหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และฟันคงเป็นอันดับสุดท้ายที่จะนึกถึง อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มนักวิจัยที่ให้ความสนใจ และกำลังพัฒนางานวิศวกรรมเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม เป็นที่ทราบกัน อยู่แล้วว่าตราบจนทุกวันนี้ ยังไม่มีวิธีการใดที่จะรักษาฟันผุได้อย่างแท้จริง ฟันที่ผุต้องถูกถอนออกแล้วแทนที่ด้วยวัสดุอื่น ซึ่งทางเลือก ที่มีอยู่ก็ยังไม่ดีพอ
ขอบคุณข้อมูลจาก  ดร. สิริพร โตนดแก้ว  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟัน,แท้,งอก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 22 มกราคม 2556
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 3298 ฟันแท้ที่งอกใหม่ได้ /article-biology/item/3298-2013-01-22-07-25-40
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)