logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 14 กันยายน 2555
Hits
31591
7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"



สำหรับหลาย ๆ คน เรื่อง "สายตา” ยังถือเป็นเรื่อง “เร้นลับ” ที่ยากจะเข้าใจ และยิ่งพูดถึงเรื่อง สายตาเอียง (Astigmatism) ด้วยแล้ว มีคนอีกไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ยังมีความเข้าใจผิด มีคำถามคาใจ รวมถึงมีความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังมาต่างๆ วันนี้จึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตา จะมาคลายปัญหาคาใจ แนะนำเคล็ดลับและเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ “สาเหตุ” “การดูแลรักษา” ตลอดจน “การแก้ไข” เรื่องน่าปวดหัวอย่าง สายตาเอียง

ความเชื่อ #1  คนที่ “สายตาเอียง” ต้องใส่แว่นสายตาเพียงอย่างเดียว!
ความจริง  :  ไม่จริง!

อาจมีหลายๆ คนเชื่อว่า แว่นสายตา คือคำตอบเดียวสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเอียง แต่ในปัจจุบันมีคอนแทคเลนส์ที่พัฒนาและผลิตขึ้นมาพิเศษสำหรับคนกลุ่มนี้ เพื่อแก้ไขค่าสายตาเอียงได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น โดยเฉพาะคอนแทคเลนส์รายวันสำหรับสายตาเอียงที่ไม่เพียงช่วยแก้ไขค่าสายตา เท่านั้น ยังให้ความรู้สึกชุ่มชื้นสบายตา สะดวกสบาย และสะอาดถูกสุขอนามัยในการสวมใส่ เราจึงมั่นใจได้ว่าผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยกังวลกับปัญหาด้านสายตา รวมถึงผลข้างเคียงต่างๆ ทั้งอาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะอีกต่อไป

ความเชื่อ #2  ปกติแล้วคนเราไม่ “สายตาเอียง” กันง่ายๆ หรอก!
ความจริง  :  ไม่จริง!

จาก สถิติพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีปัญหาสายตา มักมีสายตาเอียง ร่วมอยู่ในค่าสายตาด้วย และที่สำคัญสายตาเอียง ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีค่าสายตาเยอะๆ เท่านั้น สายตาเอียงเป็นอาการทางสายตาชนิดหนึ่ง แตกต่างจากสายตาสั้น หรือสายตายาว อธิบายวิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือสายตายาว จะมองเห็นตัวเลข ตัวอักษร ชัดเท่าๆ กันทุกตัว หรือมัวเท่าๆ กันทุกตัว แต่ผู้ที่มีสายตาเอียง จะมองเห็นตัวเลข หรือตัวอักษรบางตัวชัด บางตัวไม่ชัด

ความเชื่อ #3  คนที่สายตาเอียง มักเป็นเพราะนอนอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ มากเกินไป!
ความจริง  :  ไม่จริง!

สายตาเอียง คือความผิดปกติของสายตาที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ซึ่งนับเป็นความผิดปกติทางกายภาพ (ปัจจัยภายใน) และถึงแม้ว่า การนอนอ่านหนังสือ รวมถึงการดูโทรทัศน์ในที่มืดบ่อยเกินไป อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของดวงตาเนื่องจากการเพ่งสายตาในระยะเวลานาน แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสายตาเอียงแต่อย่างไร



ความเชื่อ #4  คนที่สายตาเอียง จะรู้สึกเวียนหัวง่าย เมื่อดูโทรทัศน์ 3 มิติ  ใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ทโฟนมากเกินไป!
ความจริง  :  จริง!

ผู้ที่มีสายตาเอียง มักรู้สึกวิงเวียนง่ายกว่าผู้อื่นเมื่ออ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ที่มี ลักษณะ 3 มิติ เนื่องจากผู้ที่มีสายตาเอียงจะไม่สามารถจับภาพที่มีลักษณะเบลอ รวมถึงภาพที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้อย่างชัดเจนนัก

ความเชื่อ #5  การ “หรี่ตา” คือ อีกหนึ่งสัญญาณ ว่าเราอาจจะมีปัญหา “สายตาเอียง”!

ความจริง  :  จริง!

การหรี่ตา คือสัญญาณของปัญหาหลายอย่าง เพราะนอกจากจะทำให้สาวๆ เสียบุคลิก การหรี่ตาเป็นประจำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบหรี่ตาบ่อยๆ อาจกำลังประสบปัญหาสายตาเอียง เนื่องจากผู้ที่สายตาเอียงจะมองเห็นภาพไม่ชัด จึงมักจะพยายามเพ่งสายตาเพื่อปรับโฟกัสของภาพตามธรรมชาติ ด้วยการหรี่ตานั่นเอง



ความเชื่อ #6  คนที่มีสายตาเอียงน้อย สามารถทดค่าสายตาได้ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสายตาเอียง!
ความจริง  :  ไม่จริง!

หลายคนเชื่อว่าค่าสายตาเอียงเล็กน้อย สามารถแก้ไขได้ด้วยการทดค่าสายตา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเราใช้สายตามากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟน หรือดูทีวี ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็สามารถกระตุ้นให้มองเห็นภาพเบลอ และอาจทำให้เริ่มมึนหัวได้

ความเชื่อ #7  “สายตาเอียง” ไม่ได้มีผลอะไรมากนักกับชีวิตประจำวัน เราไม่ต้องไปสนใจนักก็ได้!

ความจริง  : ไม่จริง!

ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง หากไม่แก้ไข นอกจากจะทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา เวียนหัว รวมถึงปวดศีรษะได้ และแน่นอนว่าอาการเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงกับประสิทธิภาพในการทำงานและ ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ตลอดจนการเดินทางขับรถ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ที่สายตาจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนนัก




ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยรัฐออนไลน์
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สายตา,เอียง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 14 กันยายน 2555
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 3030 7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง" /article-biology/item/3030-astigmatism
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)