logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ยังไม่ทันได้รู้จักก็จะสูญพันธุ์เสียแล้ว

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 23 สิงหาคม 2555
Hits
21684

คำสั่งซื้อสัตว์น่ารักๆ ในตลาดค้าสัตว์ผิดกฎหมายทำให้ประชากรลิงลมหน้าตาจิ้มลิ้มในอินโดนีเซียลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ไม่เพียงแค่สัตว์ที่เราเคยเห็นหน้าค่าตาเท่านั้น ยังมีสัตว์ตะกูลลิงอีกหลายชนิดที่เราอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน ก็กำลังจะสูญพันธุ์ไป บางชนิดอาศัยอยู่ในพื้นที่จำเพาะอันโดดเดี่ยว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่หรือประชากรเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลกระทบมหาศาล

 


มีสัตว์ตระกูลไพรเมท (primate) หรือตระกูลลิงตัวใดบ้างกำลังจะสูญพันธุ์ไปโดยที่เรายังไม่ทันจะได้ทำความรู้จัก? บีบีซีนิวส์ได้รวบรวมไว้ ดังนี้

1.ลิงลม (Slow lorises) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ นิคติซีบัส เอสพีพี (Nycticebus spp)


ด้วยความน่ารักคล้ายทารก รูปร่างเหมือนเด็กอ่อน มีดวงตากลมโตและมือเล็กจิ๋วเกือบเหมือนมือของคน แอนนา เนการิส (Anna Nekaris) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องลิงลมจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดบรูกส์ (Oxford Brookes University) ในอังกฤษ ให้ความเห็นว่าเป็นเหตุผลที่คนจากโลกตะวันตกหลงเสน่ห์สัตว์ชนิดนี้ และเป็นความเอ็นดูที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ และทันทีที่ปรากฏคลิปความน่ารักของลิงลมใน “ยูทูป” ก็ส่งผลให้คำสั่งซื้อลิงลมเพิ่มสูงลิ่ว

ลิงลมเป็นสัตว์หากินกลางคืนและเป็นสัตว์กินเนื้อ พบได้ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหางยาว มีกระดูกสันหลังพิเศษ และมีมือที่เก็บซ่อนนิ้วเพื่อให้มันจับเหยื่อและเคลื่อนที่ไปทั่วได้โดยไม่เป็นที่สังเกต นอกจากนี้ยังมีพิษที่ซ่อนอยู่ในข้อศอก ที่ลิงลมจะใช้ผสมกับน้ำลายเมื่อกัด
ซึ่ง ศ.คอลิน โกรฟส์ (Professor Colin Groves) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) กล่าวว่าเมื่อนำไปเป็นสัตว์เลี้ยง จึงต้องถอนฟันหน้าและเขี้ยวของลิงลมออก

 

 


ลิงลม (ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)

“ผู้จัดหาสัตว์อย่างผิดกฎหมายจะใช้คีมดึงฟันออก ซึ่งเป็นวิธีที่สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก และหมายความว่าลิงลมจะไม่สามารถกินอาหารเองได้ ดังนั้น ปกติแล้วพวกมันก็จะตายในเวลาไม่นานหลังจากมีการซื้อขายกันแล้ว” ศ.โกรฟส์กล่าว


อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือไซเตส (CITES) กำหนดว่าห้ามซื้อขายสัตว์ชนิดนี้อย่างเด็ดขาด แต่เนการิสก็พบว่าลิงลมถูกจับใส่กล่องและถูกขายอย่างไร้มนุษยธรรมบนถนนในกรุงจาร์กาตา อินโดนีเซีย โดยสัตว์ชนิดนี้ถูกขายให้คนรวยในอินโดนีเซีย รัสเซีย จีนและญี่ปุ่น

เนการิสกล่าวว่าเกาะชวาเป็นจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคนร่ำรวยจำนวนมากที่พยายามและอยากได้ลิงลมไว้เป็นสัตว์เลี้ยงแปลกๆ ตอนนี้มีลิงลม 5 ชนิดหรือสปีชีส์ที่ถูกค้นพบแล้ว โดยลิงลมชวา (Javan slow loris) เป็นชนิดที่เสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุด ส่วนลิงลมชนิดอื่นก็ถูกคุกคามจากการค้าสัตว์ผิดกฎหมายเช่นกัน


2. ลิงแคระกาลาโกรอนโด (Rondo dwarf galago) หรือ กาลาโก รอนโดเอนซิส (Galago rondoensis)

 


ลิงแคระกาลาโกรอนโด

เมื่อผู้คนนึกถึงสัตว์ตระกูลไพรเมทก็จะนึกถึงลิงชิมป์และกอริลลา แต่ลืมลิงกาลาโกเหล่านี้ แต่สัตว์หากินกลางคืนจากแทนซาเนียชนิดนี้ก็มีดำรงชีวิตบนสายวิวัฒนาการที่เร่งด่วน โดยแยกสายจากลิงลมเมื่อ 40 ล้านปีก่อน สัตว์หากินกลางคืนชนิดนี้เล็กจิ๋วมาก และหนักไม่ถึง 100 กรัม อีกทั้งยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ สามารถกระโดด ซึ่งลิงลมทำไม่ได้ และถึงแม้ไม่ถูกล่าแต่ก็เสี่ยงสูญพันธุ์ เนื่องจากประชากรของลิงชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางกิโลเมตร พวกมันกำลังทุกข์ร้อนจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย

3.ลิงทาร์เซียร์ส (Tarsiers) หรือ ทาร์เซียส เอสพีพี (Tarsius spp)

สัตว์หากินกลางคืนตัวนี้เป็นไพรเมทที่มีขนาดเล็กสุดบนโลกใบนี้ แต่มีชนิดที่รู้จักแล้วถึง 10 สปีชีส์ หนึ่งในนั้นคือ ลิงทาร์เซียร์สเกาะเซียอู (Siau Island tarsier) กำลังอยู่ในวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ และติดอยู่ในบัญชีแดงวิกฤตเสี่ยงสูญพันธุ์ของสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature)

 


ลิงทาร์เซียร์ส (Tarsiers)

ลิงทาร์เซียสดังกล่าวที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทราเซียส ทัมปารา (Tarsius tumpara) ซึ่งไมรอน เชเกลเล (Myron Shekelle) นักไพรเมทวิทยา กล่าวว่า ลิงทราเซียสชนิดกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์จากการสูญเสียที่อยู่อาศัย และบอกด้วยว่าทั้งลิงทราเซียสและลิงลมต่างเคลื่อนที่อย่างเชื่องช้า กลับขั้วกับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อย่างสิ้นเชิง และเขายังกล่าวถึงความยากลำบากในการทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าเรื่องนี้ยากแค่ไหน การออกกฏหมายและบังคับให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย บางพื้นที่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แต่ก็เป็นพื้นที่ส่วนน้อย ในขณะที่การทำลายล้างกลับเป็นฝ่ายมีชัยเสมอ

ด้วยพื้นที่อาศัยของลิงลมที่อยู่ในเขตภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น และหากเกิดการปะทุขึ้นมาก็สามารถกวาดล้างสิ่งมีชีวิตให้หายไปได้อย่างมาก แต่นักอนุรักษ์ก็ยังต้องเผชิญปัญหาอื่นอีกนั่นคือ “พรานในท้องถิ่น” โดยลิงจิ๋วชนิดนี้จะถูกล่าไปทำเมนูย่างที่เสิร์ฟพร้อมด้วยซอสรสจัดจ้าน ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่เรียกว่า “โตลา-โตลา” (tola-tola) ซึ่งจากสิ่งที่เชเกลเลรู้นั้นคนท้องถิ่นจะให้ความสนใจอาหารพื้นเมืองจากสัตว์ป่านี้ในฐานะเมนูเพิ่มความเป็นชาย


4.ลิงจมูกเชิดพม่า (Burmese snub-nosed monkey) หรือ ไรโนพิเธคัส (Rhinopithecus strykeri)


ลิงจมูกเชิดพม่า

นักวิทยาศาสตร์จำแนกลิงชนิดนี้ได้เมื่อพบพรานท้องถิ่นทางตอนเหนือของพม่าพร้อมกับหนังและกระโหลกของลิง ซึ่งลักษณะพิเศษของลิงชนิดนี้คือมี กระจุกขนสีขาวที่หู และมีหนวดที่คาง มีริมฝีปากยื่นออกมาและกว้างผิดปกติ แล้วก็มีรูจมูกเชิดขึ้น

วินเซนต์ นิชมัน (Vincent Nijman) ผู้เชี่ยวชาญไพรเมทจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดบรูกส์ กล่าวว่าผู้ที่ทำการจำแนกลิงชนิดนี้เชื่อว่ามีลิงดังกล่าวเหลือไม่เกิน 200 ตัว โดยเพิ่งมีการพบและจำแนกชนิดเมื่อปี 2010 และภายใน 5 ปีก็มีโอกาสสูญพันธุ์ได้ โดยเขาเชื่อว่าเมื่อ 2-3 ร้อยปีก่อนน่าจะมีลิงชนิดนี้อยู่หลายพันตัวอยู่ทั่วภาคเหนือของพม่า นอกจากนี้ลิงจมูกเชิดสกุลอื่นๆ ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นในจีนและเวียดนามก็ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเช่นกัน
ไถ้าคุณเป็นไพรเมทในเวียดนาม ลาว หรือตอนล่างของจีน เรื่องราวของคุณคงไม่เป็นไปในทิศทางที่ดีนัก เหลือแค่ว่าจะถึงเวลาที่คุณจะจากไปเมื่อไร และถ้ามองไปยังภูมิภาคอื่นอย่างมาสดากัสการ์ มันจะเป็นเรื่องของการแข่งกับเวลา ว่าใครจะไปถึงก่อนกัน ระหว่าง นักวิทยาศาสตร์ นักล่าสัตว์หรือนายพราน” นิชมันให้ความเห็น

 


5. ลิงคีปันจิ (Kipunji) หรือ รุงเวเซบัส คีปันจิ(Rungwecebus kipunji)


ลิงคีปันจิ

ดร.ทิม ดาเวนพอร์ท (Dr.Tim Davenport) ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society: WCS) ในแทนซาเนีย กล่าวว่าลิงชนิดมีความพิเศษและคาดว่าเหลือในธรรมชาติไม่เกิน 1,200 ตัว และเป็นลิงสกุล (genus) ใหม่ที่ถูกค้นพบเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และแม้ว่าจะเป็นญาติใหล้ชิดกับลิงบาบูน แต่ลิงคีปันจิไม่ได้อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสวันนาเหมือนกัน หากแต่อาศัยอยู่บนต้นไม้ และเพื่อปรับตัวอาศัยอยู่ป่าที่มีต้นไม้สูง ลิงชนิดนี้จึง วิวัฒนาการให้มีขนที่หนายาว มีเครายาว และมีโหนกสูงที่หัว ดร.ดาเวนพอร์ทกล่าวว่าปลายหางสีขาวของลิงอาจใช้เพื่อการสื่อสารบนยอดไม้ และลิงชนิดนี้ยังคงมีบางพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลิงบาบูน นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องเห่าหอนอันดังและแตกต่างไปจากลิงอื่นๆ ส่วนถิ่นที่อยู่นั้นเป็นป่า 2 แห่งที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อมกัน โดยมีพื้นขวางกั้นกว้าง 350 กิโลเมตร แต่ลิงเหล่านี้ก็กำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียพื้นที่ป่าไปเพื่ออุตสาหกรรมการตัดไม้ การเกษตร การผลิตถ่านกิน รวมถึงการถูกล่า สถานการณ์ของไพรเมทชนิดนี้คล้ายกับไพรเมทขนาดเล็กๆ ทั้งหลาย ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ก่อนที่เราจะได้รู้จัก


ขอบคุณข้อมูลจาก  ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สูญพันธุ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 23 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2984 ยังไม่ทันได้รู้จักก็จะสูญพันธุ์เสียแล้ว /article-biology/item/2984-animal750
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)