logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

นิโคติน ช่วยให้มะเร็งเติบโตได้อย่างไร

โดย :
สุทธิพงษ์ พงษ์วร
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
23603

นิโคติน ช่วยให้มะเร็งเติบโตได้อย่างไร

สุทธิพงษ์ พงษ์วร

                   ทุก คนได้ได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหู ชินตา จากสื่อต่างๆ มากมายหลายแบบ และได้พบ ได้เห็น ได้เรียนกันมาตั้งแต่ในสมัยเด็กๆ กันเลยทีเดียว ว่าบุหรี่สูบแล้วเป็นมะเร็ง ควันบุหรี่มีอันตรายมากมาย ทำให้เป็นมะเร็งปอด เล็บเหลือง ขนาดได้ยินได้ฟังได้เรียนกันมาขนาดนี้ ก็ยังมีคนหลายคนที่สวมวิญญาณนักวิทยาศาสตร์ บวกกับความอยากรู้ อยากทดลอง จนต้องวางแผนและลงมือทดลองและพิสูจน์ด้วยตนเองว่าการสูบบุหรี่จะเป็นมะเร็ง จริงหรือไม่ ซึ่งเป็นการทดลองระยะยาวที่กว่าจะเห็นผล สุดท้ายก็สูบกันต่อมาเรื่อยๆ จะเนื่องจากติดแล้วเลิกสูบไม่ได้ หรือกำลังรอผลการทดลองอยู่ก็ไม่รู้

                    ต่อ มาเมื่อมีงานวิจัยสนับสนุนเรื่องโทษของควันบุหรี่อันพึงเกิดกับคนใกล้ตัวที่ ไม่ได้สูบ จึงเริ่มมีการรณรงค์กันในสังคมไทยมากขึ้นว่า “คนไม่สูบแต่อยู่ใกล้ยิ่งได้รับอันตรายมากกว่า” เพียงแค่สูดดมเอาควันบุหรี่จากคนที่สูบบุหรี่อยู่ข้างๆ ก็มีโอกาสได้รับสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ได้มากกว่าคนสูบเองซะอีก ซึ่งการรณรงค์ในรูปแบบนี้ได้สร้างแรงกดดันให้คนสูบอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้หลายคนตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ไปเลย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีนักทดลองรุ่นใหม่หันเข้าร่วมโครงการสูบบุหรี่เพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

q6



                    ไม่ เป็นไร ยังมีมาตรการป้องกันอีกชั้น นั่นคือ การขึ้นราคาบุหรี่ และการบังคับให้มีรูปน่ากลัวๆ ที่เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ติดข้างซองบุหรี่ แต่ก็ไม่วายที่นักสูบควันก็หาทางออกโดยการเอาบุหรี่มาใส่ซองหรือกล่องอื่นๆ แทน และหันไปประหยัดรายจ่ายด้านอื่นเพื่อเก็บเงินเอาไว้สูบควันแทน

                    และไม่ว่าบุหรี่จะมีโทษขนาดไหน ก็ยังมีคนยอมเสี่ยงที่จะทดลองมันอยู่ดี ....

                    จากงานวิจัยที่รายงานการตรวจสอบเพื่อหาสารต่างๆ ในบุหรี่ มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ บริษัท Brown&Williamson บริษัทผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ที่สุดในอเมริกา ในปี 2537 ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสารต่างๆ ที่ใช้ใส่ลงในบุหรี่ของบริษัท ว่ามีมากถึง 599 ชนิด (ดูรายชื่อสารและสิ่งที่ใส่ลงในบุหรี่ทั้งหมดได้จากลิงค์ในเว็บไซต์อ้างอิง ที่ 2) และกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศแคนาดา ก็ได้รายงานผลการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่ามีสารต่างๆ ในควันบุหรี่ มากกว่า 4,000 ชนิด ส่วน นักวิทยาศาสตร์อย่างศาสตราจารย์ John Gorrod นักเคมีที่ใช้เวลากว่า 25 ปีเลยทีเดียว สำหรับการศึกษาเรื่องควันบุหรี่ ทีมวิจัยของท่านได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรการกุศลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และเงินทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตบุหรี่ ท่านกล้าที่จะฟันธงเลยว่า “การสูบบุหรี่เนี่ย มันแย่ อันตราย แล้วก็ยังทำร้ายคนในสังคมอีกด้วย ท่านยังสนับสนุนให้มีการรณรงค์และชูประเด็นเรื่องการให้ข้อมูลที่เป็นความ จริง เน้นไปที่การศึกษา การให้ข้อมูลที่ทำให้ประชาชนตื่นตัวและเข้าใจถึงพิษภัยของบุหรี่ และยังเน้นเพิ่มอีกว่าบุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้กัน อย่างจริงจัง ความจริงเกี่ยวกับบุหรี่เท่านั้นที่จะช่วยทำให้ประชาชนตระหนักได้ถึงอันตราย จากบุหรี่”

                    สาร ตัวที่โดดเด่นในบุหรี่ที่เรารู้จักกันดีก็คือ “นิโคติน” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของ นิโคติน เอาไว้ว่า “นิโคติน (คำนาม) สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด 247 องศาเซลเซียส เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ” (หน้า 586)

                    ข้อมูล การค้นพบกลไกการทำงานของนิโคตินกับการทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตเร็วขึ้นนี้ได้ ถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยของ Srikumar Chellappan จาก University of South Florida in Tampa สหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้เราพบว่ามีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า คนไข้หญิงที่สูบบุหรี่และเป็นมะเร็งเต้านม จะมีแนวโน้มของการเกิดมะเร็งปอดตามมาด้วย โดยเกิดขึ้นมากกว่ากลุ่มหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งต่อมาก็ พบว่านิโคติน นี่เองที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอด)

                    เขา กล่าวว่า “พอเราศึกษามากขึ้น แล้วลงลึกในระดับโมเลกุล เราพบว่า นิโคติน ทำให้มะเร็งทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร ตรงนี้เอง…ที่เป็นคำถามสำหรับการทดลองในครั้งนี้ ทีมวิจัยเราจึงเริ่มเพิ่งเล็งไปดูในระดับโมเลกุล ดูสิว่าโมเลกุลของสารตัวใดที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับนิโคตินบ้าง”

                    เขา เล่าเพิ่มเติมอีกว่า “เราจึงเริ่มทดลอง โดยเอาเซลล์มะเร็งปอดมาทดสอบกับนิโคติน ในปริมาณความเข้มข้นเท่ากับนิโคตินที่อยู่ในกระแสเลือดของคนที่สูบบุหรี่วัน ละซอง เชื่อไหมว่า นิโคติน มันไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้น (replicate) พอเราศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดอีก เราพบว่า นิโคติน มีผลไปทำให้โมเลกุลที่ชื่อว่า Raf-1 ไปจับกับโมเลกุลของโปรตีนที่ชื่อว่า Rb ซึ่งปกติเจ้าโปรตีนโมเลกุลนี้จะทำหน้าที่ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง (suppress tumour) (พอโดน Raf-1 จับเข้าก็ทำหน้าที่ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งไม่ได้)”

 

 

 q5

                    “จะ เห็นได้ว่าการที่นิโคตินเข้าไปรบกวนการทำงานของโปรตีน Rb นี่เอง ที่ทำให้การเติบโตของเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และการวิเคราะห์เซลล์มะเร็ง 8 ใน 10 ชนิด ทีมวิจัยของเราพบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นก็คือ มี Raf-1 และ Rb จับตัวกันเยอะมาก ซึ่งผลที่ตรวจได้นี้ได้สนับสนุนแนวคิดของทีมวิจัยเรา ที่จะหาสารที่มายับยั้งการทำปฏิกิริยากันของ Raf-1 และ Rb ถ้าทำได้ก็จะทำให้เรามียาต้านการเกิดมะเร็งที่มีประสิทธิภาพเลยทีเดียว”

 

เอกสารอ้างอิง

1. How nicotine helps cancer grow. – NewScientist.com news service. 21 Jul 2006.
       (Online). Available: http://www.newscientist.com/article.ns?id=dn9598&print=true
       (Retrieved 27/09/06).
2. What’s in a cigatette? – BBC worldservice. (Online). Available:
http://www.bbc.co.uk/worldservice/sci_tech/features/health/tobaccotrial/inacigarette.html
       (Retrieved 27/09/06). 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
บุหรี่,นิโคติน ,โรค,เซลล์มะเร็ง,เซลล์,มะเร็ง,แพร่กระจาย, กระตุ้น
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุทธิพงษ์ พงษ์วร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 295 นิโคติน ช่วยให้มะเร็งเติบโตได้อย่างไร /article-biology/item/295-nicotin
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)