logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

โรค SLE

โดย :
นางสาวยุวศรี ต่ายคำ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
26141
โรค SLE

เรียบเรียงโดย นางสาวยุวศรี  ต่ายคำ

จากที่สาขาชีววิทยาได้ปรับโฉมเว็บใหม่ และได้เพิ่มประเด็นเนื้อหาที่มีปัญหาในหน้าคุยกันหลังโต๊ะครูนั้น ก็ได้คำถามมาจากผู้ใช้ส่งมายังเราเรื่อย ๆ และคราวนี้ก็เช่นกันได้มีคำถามจากคุณ pop เกี่ยวกับโรค SLE  "รู้จักโรค SLE ใหม ช่วยอธิบายหน่อยนะครับ" ดังนั้นนักวิชาการของเราจึงได้สืบค้นและสรุปเกี่ยวกับโรค SLE มาฝากกันค่ะ

 

s3

โรค SLE หมายถึง
SLE เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือ autoimmune disease และย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus ที่เรียกเช่นนั้นเพราะโรคนี้ โดยรวมเกิดจากขบวนการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เกิดขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง (ซึ่งโดยปกติจะสร้างไว้เพื่อทำลายและป้องกันการติดเชื้อ) ถูกสร้างเพื่อต่อต้านเนื้อเยื่อของร่างกายตนเอง การอักเสบจะเกิดได้กับอวัยวะใดก็ได้ในร่างกาย ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นการรักษาจึงมักจะแตกต่างกันไป   

สาเหตุของโรค SLE
เนื่องจาก SLE เป็นโรคที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อของตนเอง จะพบว่า ระบบการควบคุมการสร้างและทำลายภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ปกติ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าน่าจะเกิดมาจากปัจจัยทั้งทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดโรค SLE ได้แก่แสงอัลตร้าไวโอเลตที่มีผลค่อนข้างแน่ชัด และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรค SLE กำเริบได้ และในยาบางตัวโดยเฉพาะยาในกลุ่มลดความดันโลหิตสูง ยาโรคหัวใจ และยากันชักก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค SLE ได้เช่นกัน ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนในแถบเอเชียจะป่วยเป็นโรค SLE มากกว่าคนในแถบทางตะวันตก 

ความแตกต่างระหว่างโรค SLE ในเด็ก และในผู้ใหญ่
จากการศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาในประเทศไทยพบว่า ประมาณ 15 - 20 % ของโรค SLE เกิดขึ้นในเด็กก่อนอายุ 18 ปีบริบูรณ์ โดยอาการของโรคเกิดได้ตั้งแต่หลังคลอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ จะเกิดมากในช่วงอายุ 10 - 14 ปี (40 %) รองลงมาเป็นช่วงอายุ 15 - 19 ปี และช่วงอายุ 5 - 9 ปี ตามลำดับ 
อาการแสดงของโรค พบว่าจะมีอาการเกี่ยวกับไขข้อ ผิวหนัง ไต และอาการทางประสาท ดูเหมือนจะพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ซึ่งโรค SLE ในเด็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าโรคจะกำเริบได้เร็วกว่าในผู้ใหญ่  
การรักษาและการใช้ยาในเด็กต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลระยะยาวที่อาจส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ  
การตอบสนองต่อการรักษาและผลข้างเคียงจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบในเด็กแตกต่างกับในผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยเด็กยังเป็นวัยที่เซลล์มีการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา ทำให้การตอบสนองต่อยาบางชนิดอาจจะดีกว่า ถ้าได้รับการบำบัดในระยะแรกๆของโรค และผลข้างเคียงของยาก็น้อยกว่าในผู้ใหญ่  

 

อาการที่มักแสดงออกในผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE
โรค SLE เกิดจากการอักเสบของหลายๆอวัยวะในเด็กอาการโดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยจำเพาะจึงทำให้การวินิจฉัยล่าช้าเป็นผลให้การรักษาล่าช้าตามไปด้วย อย่างไรก็ตามให้สังเกตว่าหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรสงสัยว่าจะเป็นโรค SLE ไว้ก่อน  

1) มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ 
2) มีอาการเพลียมากผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 
3) มีอาการเบื่ออาหาร รวมถึงน้ำหนักลด 
4) รู้สึกเพลียมากขึ้นหรืออาจมีผื่นขึ้นร่วมด้วยเมื่อถูกแสงแดด 
5) มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะที่หน้า และส่วนอื่นๆของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดจากผื่นแพ้ 
6) มีอาการปวด บวมตามข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าๆหลังตื่นนอน 
7) มีอาการผมร่วงมากขึ้น 
8) มีอาการบวมตามตัว ตามหน้า หรือ ตามเท้า 
9) มีประวัติเป็นโรคที่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน 

การวินิจฉัยโรค SLE
เนื่องจาก SLE ยังเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เช่นเดียวกับโรครูห์มาติกหรือโรคแพ้ภูมิตนเอง จึงได้มีการกำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยเอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัย สื่อสารระหว่างแพทย์ และการวิจัยต่อไป โดยผู้ป่วยจะต้องมี 4 อาการ ใน 11 อาการ ดังจะกล่าวต่อไป ซึ่งจะมีความแม่นยำถึง 96 % แต่อาการทั้ง 4 ไม่จำเป็นต้องมีในเวลาเดียวกัน แพทย์เฉพาะทางโรคข้อและรูห์มาติกเด็กสามารถจะบอก และให้การวินิจฉัยได้เร็วกว่า ซึ่ง บางครั้งอาการแสดงดังกล่าวอาจจะรอไม่ได้ 

การรักษา
ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆก็สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ ดังที่ทราบกันว่า การอักเสบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะเปลี่ยนไปในทางที่แก้ไขไม่ได้ คือ เกิดพังผืด (fibrosis) ของอวัยวะนั้นๆ เช่น ที่ผิวหนัง --> เกิดรอยแผลเป็น  ที่ไต --> ไตจะทำงานไม่ปกติหรืออาจเกิดไตวาย สมองและกล้ามเนื้อ --> เกิดพังผืดหรือแผลเป็น เป็นต้น  
ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive agents) แพทย์จะตัดสินใจใช้ยาตามอาการและอาการแสดง ตลอดจนอวัยวะที่อักเสบ ฉะนั้น การรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจึงแตกต่างกันไป และผลของการรักษาก็แตกต่างกันไปด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า เด็กชายมักมีอาการของโรคที่รุนแรงกว่าในเด็กผู้หญิง  
ยากลุ่มหลักๆที่มักใช้ในการรักษาผู้ป่วย SLE มีดังนี้  

1. ยากลุ่มลดการอักเสบหรือ NSAIDS. 
2. ยากดภูมิคุ้มกัน ในการรักษาอาการอักเสบของอวัยวะหลัก

- ยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าใช้นานมีผลข้างเคียงมากมายและบางครั้งเป็นผลระยะยาวด้วย จึงทำให้มีการใช้ยาอื่น ทำให้แพทย์สามารถลดการใช้ยานี้ได้และในขณะเดียวกันสามารถคุมการอักเสบหรือโรคได้

- ยากลุ่มแก้มาลาเรีย เช่น hydroxychloroquine

- ยารักษามะเร็ง แต่ใช้ในขนาดยาต่ำกว่า เพื่อหวังผลลดการอักเสบ เช่น azathioprine, cyclophosphamide, cyclosporin - A, mycophenolate mofetil เป็นต้น 

ผลข้างเคียงของยาใช้รักษา SLE แพทย์ผู้รักษาจะต้องอธิบายและปรึกษากับผู้ปกครองก่อนจะเริ่มใช้โดยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานผลข้างเคียง ระยะเวลาที่ใช้และข้อควรระวัง ก่อนใช้ยาแต่ละตัวเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อผู้ป่วยและผู้ปกครอง ลดการเข้าใจผิดและการใช้ยาผิดพลาด ซึ่งผลเสียจะอันตรายมาก  
โรค SLE เป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆในวงการแพทย์ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีจะเกิดการเสียอวัยวะไปอย่างถาวรจากการเกิดพังผืดหรืออาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่โรคสามารถควบคุมได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยสามารถจะดำเนินชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิมทั่วๆไปได้  

สาเหตุการตายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นได้จาก

1) จากตัวโรคเอง โดยเฉพาะการอักเสบของหัวใจ ไต หลอดเลือด และสมอง 
2) จากการรักษาดังกล่าวข้างต้น โดยส่วนใหญ่ของยาที่ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกันทำให้โอกาสติดเชื้อต่างๆ สูงมากขึ้น ฉะนั้นหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค SLE และได้รับยากลุ่มนี้ จึงต้องระวังมากขึ้นในการป้องกันการติดเชื้อ และถ้าเกิดขึ้นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวให้เร็วที่สุด 

ควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อเป็นโรค SLE

1) เรียนรู้โรค SLE จากแพทย์และสื่ออื่นๆเพื่อทำความเข้าใจโรคให้ดีขึ้น 
2) เอาใจใส่มากขึ้นต่อการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆของผู้ป่วย

3) หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดให้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วย เช่น วิชาพลศึกษากลางแดดที่โรงเรียน

4) แน่ใจว่า ผู้ป่วยได้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และไม่ควรให้ผู้ป่วยรับยาอื่นที่ไม่ได้มาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญไม่ควรลดหรือเพิ่มยาโดยไม่ได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้สั่ง

5) เมื่อมีข้อสงสัยในอาการของผู้ป่วย หรือไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรกับผู้ป่วยควรรีบติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาผู้ป่วยโดยทันที

6) ต้องแน่ใจว่ามีวิธีติดต่อแพทย์ผู้รักษาได้ในกรณีฉุกเฉิน 24 ชม.

7) ไม่ควรจำกัดการเล่น เข้าสังคม หรือ activity ของผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วยมีชีวิต สังคมและครอบครัวให้เป็นปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเอง ถ้าผู้ป่วยจะต้องถูกจำกัด activity

8) ควรรักษาการนัดและติดตามกับแพทย์โดยเคร่งครัด

9) หากผู้ป่วยมีอาการทางไตร่วมด้วยหรือได้รับยาสเตียรอยด์ อาจจะต้องมีการจำกัดอาหารบางประเภท ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำ

10) สำหรับลูกที่เป็นวัยรุ่น การใช้ยาคุมกำเนิดควรได้รับการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ เนื่องจากยาคุมกำเนิดบางประเภทสามารถทำให้โรค SLE กำเริบและควบคุมยากขึ้น 

สรุป
โรค SLE เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หาย แต่สามารถถูกควบคุมได้ ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติ ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีและถูกต้องก่อนที่จะมีการทำลายของอวัยวะโดยถาวร อัตราการเสื่อมของอวัยวะและการเสียชีวิตได้ลดต่ำ ลงมาจากในอดีต เนื่องจากได้มีข้อมูลจากการศึกษาเรียนรู้โรคมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กซึ่งผลระยะยาวของโรคหรือยาลดน้อยลงและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กดีขึ้นมาก ส่วนหนึ่งจากสาเหตุข้างต้น อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากวิธีการรักษาดูแลผู้ป่วย ตลอดจนยาที่ใช้รักษาดีขึ้นตามลำดับ ฉะนั้นผู้ป่วยเด็ก SLE สามารถจะมีคุณภาพชีวิตได้เป็นปกติเฉกเช่นเด็กอื่นๆได้  

ที่มา 
โดย นายแพทย์ธัชวีร์ อรรคฉายศรี หัวหน้าหน่วยโรครูห์มาติกหรือโรคข้อเด็ก โรงพยาบาลศิริราช  

แพทย์ประจำศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์   

ที่มา : http://women.sanook.com/mom-baby/toddler/health1-3_13207_2.php

 
 
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
SLE, โรคแพ้ภูมิตนเอง,autoimmune disease, Systemic Lupus Erythematosus, แพ้, ติดเชื้อ ,ภูมิคุ้มกัน,
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวยุวศรี ต่ายคำ
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 279 โรค SLE /article-biology/item/279-sle
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)