logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

น้ำวุ้นลูกตา... สำคัญไฉน

โดย :
ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
24899

น้ำวุ้นลูกตา... สำคัญไฉน

ดร.วนิดา  ธนประโยชน์ศักดิ์   



ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ช่วยให้เรามองเห็นภาพต่าง ๆ ได้ดีกว่าคำบรรยายใด ๆ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” นั่นเอง  คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่าการมองเห็นทำให้การดำเนินชีวิตของเรามีอรรถรสมากขึ้น  มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสที่จะมองเห็นเนื่องมาจากความพิการทางสายตา   ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับสายตามากขึ้นและพบได้ในทุกเพศทุกวัย  ไม่ว่าจะเป็นโรคสายตาสั้น  สายตายาว  โรคต้อกระจก  โรคต้อหิน  โรคจอประสาทตาเสื่อม  และการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น 

น้ำวุ้นลูกตา (vitreous) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของตา  มีลักษณะคล้ายเจลใสอยู่ศูนย์กลางของตา  มีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาตรน้ำในตา  มีความสำคัญในการช่วยรักษาและทำให้ตาคงรูปร่างปกติ  ในคนช่วงแรกเกิดน้ำวุ้นลูกตาจะใสเหลวเหมือนกับไข่ขาวแต่เมื่อเติบโตขึ้นน้ำวุ้นลูกตาจะค่อย ๆ มีความหนืดมากขึ้นเหมือนวุ้นหรือเจล (ภาพที่ 1)

e4            e2

 

ภาพที่ 1 ก. แสดงโครงสร้างของนัยน์ตา  ข. ภาพสามมิติแสดงตำแหน่งของน้ำวุ้นลูกตา
(ดัดแปลงจาก www.stlukeseye.com)

ภาพที่ 1 ก. แสดงโครงสร้างของนัยน์ตา  ข. ภาพสามมิติแสดงตำแหน่งของน้ำวุ้นลูกตา(ดัดแปลงจาก www.stlukeseye.com)

 

การที่ตาของคนสามารถมองเห็นภาพได้นั้น  เกิดจากแสงจากวัตถุผ่านมาที่กระจกตา โดยมีทางเดินของแสงผ่านไปที่น้ำในช่องลูกตาด้านหน้า  ผ่านเลนส์ตา  น้ำวุ้นลูกตา  และเรตินาหรือจอประสาทตาตามลำดับ    โดยที่เรตินานี้จะมีเซลล์รูปแท่ง (rod cell) ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่างและมีเซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งแยกความแตกต่างของสีต่าง ๆ ได้  และมีเซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทส่งไปยังใยประสาทของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2  และส่งไปยังสมองส่วนเซรีบรัมเพื่อแปลเป็นภาพตามที่ตามองเห็น

e3

ภาพที่ 2  แสดงตะกอนอยู่ในน้ำวุ้นลูกตา   (ดัดแปลงจาก http://www.stlukeseye.com/)

ผู้ที่มีอาการของน้ำวุ้นลูกตาเสื่อมมักจะมองเห็นเงาดำหรือใยแมงมุมนี้ได้ชัดตอนอยู่ในที่สว่างหรือมองไปยังผนังพื้นที่สว่าง ๆ หรือฉากที่ขาว ๆ  เช่น  การมองอ่านตัวหนังสือบนกระดาษ  เป็นต้น  อาการแบบนี้ทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรค  ไม่อันตราย และไม่มียารักษา  ผู้ที่เป็นมักเกิดความรำคาญ  ซึ่งไม่นานก็จะปรับตัวได้และชินไปเอง    สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงจากน้ำวุ้นลูกตาเสื่อมถึงขั้นจอประสาท ตาลอก (retinal detachment) หรือวุ้นลูกตาลอก (posterior vitreous detachment; PVD) จะมีอาการเห็นแสงฟ้าแลบ (flashing) เกิดขึ้นทั้งในที่มืดและสว่าง เนื่องจากปกติน้ำวุ้นลูกตากับจอประสาทตาอยู่ติดกัน บางส่วนอยู่ติดกันแบบหลวม ๆ บางส่วนอยู่ติดกันแน่น โดยเฉพาะที่บริเวณขอบของจอประสาทตา ตะกอนในน้ำวุ้นลูกตาอาจไปดึงกระชากจอประสาทตา  ทำให้เกิดการกระตุ้นและส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองแปลผลเป็นแสงฟ้าแลบเกิดขึ้นในตา  ถ้าหากเป็นมากอาจทำให้จอประสาทตาถูกดึงแรงจนฉีกขาดและอาจทำให้มีเลือดออกลอยอยู่ในน้ำวุ้นลูกตา  ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัดขึ้น  การที่จอประสาทตาลอกเกิดจากน้ำวุ้นลูกตาไหลออกมาทางรูที่ฉีกขาดของจอประสาทตาและเซาะให้จอประสาทตาลอกออกจากผนังลูกตา  ทำให้ตามัวมากยิ่งขึ้น  และเวลามองทำให้ขอบภาพหายไป หรือมีลานสายตาแคบลง 

 ปกติการเห็นแสงฟ้าแลบมักเป็นอาการที่มีปัญหาทางประสาท เช่น การปวดไมเกรน พบว่าผู้ป่วยจะมองเห็นแสงฟ้าแลบในตาทั้ง 2 ข้างประมาณ 20-30 นาทีก่อนอาการปวดศีรษะจะเริ่มขึ้น  แต่การเห็นแสงฟ้าแลบอันเกิดจากจอประสาทตาลอกจะไม่มีอาการปวดศีรษะเกี่ยวข้อง 


             กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา  ได้แก่ คนที่สายตาสั้นมาก ๆ  คนที่เคยมีการอักเสบหรือติดเชื้อภายในลูกตา  คนที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางตาอย่างรุนแรง  คนที่เคยได้รับการผ่าตัดต้อกระจก  คนที่มีวุ้นลูกตาลอกหรือจอประสาทตาลอกมาแล้วข้างหนึ่ง  และคนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคน้ำวุ้นลูกตาเสื่อมหรือจอประสาทตาลอก นอกจากบุคคลในกลุ่มดังกล่าวนี้ที่มีโอกาสเสี่ยงแล้ว  ในปัจจุบันยังพบว่าผู้ที่ใช้สายตามากเกินไปจากการใช้คอมพิวเตอร์ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม  หรือผู้ที่ประกอบอาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้สายตามากเช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย  ก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคภัยจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ในเว็บบอร์ด : highlight.kapook.com/view/23928) 

             การดูแลเบื้องต้นหากสังเกตเห็นเงาดำหรือใยแมงมุมมากขึ้นผิดปกติ  ตามัวมากขึ้น หรือเห็นแสงฟ้าแลบร่วมด้วย  ต้องรีบไปหาจักษุแพทย์ และให้หมั่นตรวจสอบเสมอ ๆ ว่าลานสายตาแคบลงหรือผิดปกติหรือไม่  โดยวิธีการใช้มือปิดตาทีละข้างแล้วมองตรงไปข้างหน้าในระยะ 3-4 เมตรโดยประมาณ  หาจุดสังเกต (จุดที่จะโฟกัส) ไม่กลอกตาไปมา  สังเกตดูขอบเขตของการมองเห็นภาพ (ลานสายตา) มากน้อยแค่ไหน  ถ้าลานสายตาแคบลง  อาจเกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาก็เป็นได้  ถ้ามีการฉีกขาดของจอประสาทตาต้องรักษาโดยการยิงแสงเลเซอร์เพื่อป้องกันจอประสาทตาลอกต่อไป  ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการรักษา  คุณก็อาจมีสิทธิ์ตาบอดอยู่ในโลกมืดก็เป็นได้ 
 
  

เอกสารอ้างอิง

หนังสือเรียนชีววิทยาพื้นฐานและเพิ่มเติม เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

http://www.rcopt.org/
https://www.lasereyesurgeryhub.co.uk/
http://www.coopereyecare.com/

 

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
น้ำวุ้นลูกตา,vitreous, ตา , อาการ, ผิดปกติ, รำคาญ, วุ้น , เสื่อม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 269 น้ำวุ้นลูกตา... สำคัญไฉน /article-biology/item/269-2010-06-03-07-10-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)