logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

แหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน

โดย :
สุทธิพงษ์ พงษ์วร
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
27037

แหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน

สุทธิพงษ์ พงษ์วร

ครานี้ขอนำเสนอเรื่องเบาๆ แบบสบายๆ เกี่ยวกับการสร้างแหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัด หรือโรงเรียนที่มีพื้นที่ค่อนข้างจะมากและมีต้นไม้เยอะๆ คงจะได้เปรียบสักหน่อย สำหรับในเรื่องของการสร้างแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน ถ้าในโรงเรียนไม่มีพื้นที่ก็สามารถดัดแปลงไปใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนก็ได้ครับ 
แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมีอะไรบ้าง?

ขอให้หันกลับไปถามตัวคุณเองว่าคุณอยากจะสร้างแหล่งเรียนรู้อะไร ให้กับเด็กนักเรียนระดับไหน เพื่ออะไร ผมไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าใดนักว่าการที่ครูคนหนึ่งคิดจะทำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิชาการขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง ทำไมถึงต้องค้นข้อมูลดูว่ามีคนทำหรือยัง ถ้ายังไม่มีคนทำก็จะพลอยไม่กล้าทำไปด้วย หากเป็นเช่นนี้เราคงไม่ได้ทำอะไรกันเลย หรือทำแล้วทุกโรงเรียนก็จะมีรูปแบบของแหล่งการเรียนรู้ที่เหมือนกัน เป็นพิมพ์เดียวกัน ไม่เกิดกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาได้เลย 

ไม่เห็นต้องหาเอกสารอ้างอิง หรือคนอ้างอิงกันมากมายขนาดนั้นเลย ทำไมไม่คิดว่า "ฉันนี่แหล่ะ จะเป็นคนแรกที่จัดทำขึ้น และจะพัฒนาต่อๆ ไป" ขอเพียงแต่ต้องมีความพร้อมของข้อมูลทางวิชาการที่จะทำมาใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้นก็พอ 

หัวข้อแหล่งการเรียนรู้อาจจะมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันได้ เช่น สวนหิน สวนพฤกษศาสตร์ สวนนก สวนงู ถ้าให้ยิ่งใหญ่ก็ทำสวนสัตว์ในโรงเรียนไปเลย จัดทำสวนน้ำ ห้องสมุดพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น หรือไม่อาจทำเป็นห้องเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น (แทนที่จะเก็บหนังสือแทน) ห้องเก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าวในจังหวัดจัดแสดงพร้อมภาพต้นข้าวแต่ละพันธุ์ หรืออาจจัดทำเป็นสวนวิทยาศาสตร์กับการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ยังอาจทำเป็นสวนเกษตรกรรมแบบผสมผสานโดยอาจทำบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงสัตว์ปีกเหนือบ่อ ปลูกแปลงผักใกล้ๆ บ่อเลี้ยงปลา และให้เด็กเข้ามาดูแล ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็กนักเรียนอีกด้วย แปลงปลูกผักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีก็เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้เช่นกัน ยิ่งถ้าได้ทำเทียบกับแปลงปลูกผักแบบใช้สารเคมีและทำให้อยู่ในบริเวณที่ห่างกันพอสมควร เด็กนักเรียนจะได้เห็นถึงความแตกต่างกันของคุณภาพดิน ปริมาณสิ่งมีชีวิตในแปลงผัก ความเป็นกรดเบสของน้ำและดิน ต้นทุนการผลิต ความร่วมมือ การจัดการ โภชนาการ และเรื่องอื่นๆ ที่เราอยากให้เด็กศึกษาค้นคว้า 

แม้แต่กองขยะของโรงเรียนก็สามารถทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้ การจัดแหล่งเรียนรู้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของคุณครูผู้จัดว่าจะทำให้เด็กตระหนักรู้ในเรื่องใด ได้ทำกิจกรรมจากประสบการณ์จริง ได้เห็นภาพจริง อย่างเรื่องขยะไม่ว่าจะเป็นเศษอาหาร เศษกระดาษ และอื่นๆ ถ้าไม่พาไปดูภาพรวมของกองขยะ หลายคนอาจไม่ได้ตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างขยะ และขยะที่เรารู้สึกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นของแต่ละคน จะมารวมกันเป็นขยะกองโตอย่างที่เห็น เศษอาหารที่กินเหลือคนละนิดรวมเป็นเศษอาหารหลายกิโลกรัมอยู่ และอื่นๆ พอแยกประเภทขยะและนำมาคำนวณออกมาเป็นเงินสิครับ จะเห็นได้ว่าเราสูญเสียอาหารเหล่านั้นไปเป็นมูลค่าเท่าใด 

ความจำเป็นแรกสำหรับการสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน คือ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแหล่งเรียนรู้ 
2. กำหนดขอบเขตและความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่จะนำมาสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ 
3. ค้นข้อมูลและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวกับเนื้อหาของแหล่งเรียนรู้ 
4. กำหนดพื้นที่ รูปแบบ รวมถึงการออกแบบสร้างแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา 
5. เสนอของบประมาณ 
6. ดำเนินการสร้าง 

จากหลักการคร่าวๆ จะเห็นได้ว่าข้อหนักใจน่าจะอยู่ในข้อ 2, 3, และ 4 เพราะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบุงโตทีเดียวครับ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผมมีตัวอย่างมาให้ดูกันครับ 

s1 
Picture Ref.: "สวนหิน พร้อมคำบรรยายที่ สสวท."

ตัวอย่าง สวัสดีค่ะ ดิฉันอาจารย์ 1 ระดับ 5 อยากจะจัดแหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องหินและแร่ ดิฉันควร เริ่มต้นอย่างไรก่อนคะ 

ข้อที่ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน 
ซึ่งอาจารย์ได้กำหนดไว้แล้วจากคำถาม คือ สร้างสวนหินและแร่ ถ้าจะใหญ่โตหน่อยก็อาจจะเรียกว่าเป็นอุทยานหินและแร่ก็ได้ครับ 

ข้อที่ 2. กำหนดขอบเขตและความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่จะนำมาสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ 
เช่นต้องการให้เด็กรู้จักชนิดของหินและแร่ ลักษณะทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นสี เนื้อหิน ความแข็ง ความเปราะ เป็นต้น ลักษณะทางเคมีถ้าจะให้ศึกษาควรทำเรื่องอะไรบ้าง หินชนิดใดเปลี่ยนไปเป็นชนิดใด หินชนิดใดมีลักษณะเกิดที่คล้ายกัน ก็ให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ไว้ 

ข้อที่ 3. ค้นข้อมูลและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวกับเนื้อหาของแหล่งการเรียนรู้ 
คุณครูจะต้องค้นหาเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหินและแร่ ต้นกำเนิดของหินและแร่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหินและแร่ กลุ่มของหินและแร่ ชนิดของหินและแร่ หินและแร่ที่พบในประเทศไทย แหล่งที่พบ เป็นต้น 

ข้อที่ 4. กำหนดพื้นที่และรูปแบบ รวมถึงการออกแบบการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา 
พื้นที่มีลักษณะอย่างไร รูปแบบการนำเสนอ การจัดวางหิน จะวางไว้บนพื้นกลางแจ้ง หรือวางบนฐานที่จัดเตรียมขึ้น พร้อมป้ายคำอธิบาย และควรมีแท่นสำหรับการทำกิจกรรมทางเคมีเกี่ยวกับการทดสอบทางเคมีของหินหรือไม่ ถ้ามีควรจัดวางที่ใด อย่างไร ทางเดินควรกำหนดตัวเลขลำดับของการเรียนรู้หรือไม่ ควรมีการวางแผนก่อนทำการสร้างและจัดวางหิน และจัดทำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลและตัวอย่างหินที่มีอยู่หรือที่คาดว่าจะจัดหาได้

ข้อที่ 5. เสนอของบประมาณ

ข้อที่ 6. ดำเนินการสร้าง

เป็นอย่างไรบ้างครับ คงจะเห็นได้ว่าการจัดแหล่งเรียนรู้ สิ่งสำคัญอยู่ที่ใจกับความพยายามของคุณครับเท่านั้นเองครับ แหล่งเรียนรู้ 1 ชนิด หรือ 1 แบบ ถ้ามีการวางแผนที่ดี การออกแบบ และการจัดการเกี่ยวกับการนำเสนอที่ดี จะสามารถบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบทีเดียวครับ

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สร้าง, แหล่งการเรียนรู้ ,เรียนรู้ ,โรงเรียน, วิทยาศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุทธิพงษ์ พงษ์วร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 268 แหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน /article-biology/item/268-2010-06-03-07-09-02
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)