logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ข้าวกล้องกับข้าวกล้องงอกให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันอย่างไร (25 พ.ค. 52)

โดย :
อรลา ชูกุล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
27513

ข้าวกล้องกับข้าวกล้องงอกให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันอย่างไร (25 พ.ค. 52)

นางสาว อรลา ชูกุล


ในสังคมปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจกับสุขภาพของตนเองมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกกำลังกาย หรือการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ บริษัทหลายบริษัทต่างก็มุ่งเน้นที่จะผลิตสินค้าที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ  ข้าวกล้องงอกก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื่องจากข้าวกล้องงอกมีคุณค่าทางอาหารมากมาย  แล้วทราบหรือไม่ว่าข้าวกล้องงอกมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างจากข้าวกล้องอย่างไร 

ข้าวจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ส่วนที่นำมาบริโภคคือส่วนของผลหรือที่มักเรียกกันว่าเมล็ด ซึ่งมีเปลือกหุ้มผลที่แข็งที่เรียกว่าแกลบ เมื่อจะรับประทานจึงต้องกะเทาะเปลือกหุ้มออกก่อนจึงจะได้ส่วนของผลข้าวหรือเมล็ดข้าว  โดยปกติผลข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีจะเรียกว่าข้าวกล้อง ส่วนผลข้าวที่ผ่านกระบวนการขัดสีจนได้เมล็ดข้าวที่มีสีขาว เราเรียกว่าข้าวสาร ดังนั้นข้าวกล้องจึงมีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้ว  ส่วนประกอบที่สำคัญของผลข้าวกล้อง (ดังภาพที่ 1)

bo3
ภาพที่ 1 องค์ประกอบที่สำคัญของผลข้าวกล้อง
ที่มาภาพ : จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4  สสวท.


สารอาหารที่สำคัญในข้าวกล้อง ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัว วิตามินบี 1 (Thiamiin) วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacin) วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) วิตามินอี กรดโฟลิก (Folic acid)  เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และซีลิเนียม  นอกจากนี้ในข้าวกล้องยังมีเส้นใยอาหารอีกด้วย   
ตารางแสดงประโยชน์ของสารอาหารที่สำคัญในข้าวกล้อง  

ตารางแสดงประโยชน์ของสารอาหารที่สำคัญในข้าวกล้อง

สารอาหาร ประโยชน์
คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
โปรตีน ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ
ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว  ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย
วิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยในการทำงานของระบบประสาทเพื่อบังคับกล้ามเนื้อ
วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก
วิตามินบี 3 ช่วยในการทำงานของระบบผิวหนังและระบบประสาท
วิตามินบี 5 ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในเนื้อเยื่อ ช่วยต่อต้านความเครีย
วิตามินอี  มีสารแกมมา ออริซานอล  (Gamma-Oryzanol) ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด  และมีสารแกมมา อะมิโนบิวทิริก แอซิต (Gamma Amino butyric acid; GABA) ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล
กรดโฟลิก  ช่วยบำรุงเลือด
เส้นใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่


สำหรับข้าวกล้องงอก คือ ข้าวกล้องที่นำมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก ซึ่งข้าวกล้องที่จะนำมาแช่น้ำ ต้องผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่เกิน 2 สัปดาห์  ในขณะที่เมล็ดข้าวกล้องเริ่มงอก สารอาหารที่เก็บสะสมไว้ในเมล็ดข้าวจะถูกย่อยสลายโดยกระบวนการทางชีวเคมี โดยสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายได้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง  และน้ำตาล  ส่วนสารอาหารพวกโปรตีนจะถูกย่อยสลายได้เป็นกรดอะมิโน และมีการสะสมสารเคมีที่สำคัญ เช่น แกมมาออริซานอล  (Gamma-Oryzanol) และโดยเฉพาะสารแกมมา อะมิโนบิวทิริก แอซิต (Gamma Amino butyric acid; GABA) ซึ่งจากงานวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าข้าวกล้องงอกมีปริมาณสาร GABA  สูงมากกว่าข้าวกล้องปกติ 15.2-19.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมจะเห็นได้ว่าสารอาหารที่สำคัญในข้าวกล้องงอกไม่แตกต่างไปจากข้าวกล้องปกติเพียงแต่ว่าข้าวกล้องงอกจะมีปริมาณของสาร GABA เพิ่มสูงขึ้น  

สาร GABA นั้น เป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก   สาร  GABA  ช่วยทำให้เกิดการรักษาสมดุลในสมอง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ช่วยลดความดันโลหิต ลดอาการอัลไซเมอร์ และช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย  เนื่องจากสาร GABA ไปกระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต  ดังนั้นการเลือกซื้อข้าวเพื่อบริโภคในครั้งต่อไปขอแนะนำให้เลือกซื้อข้าวกล้องงอก เพราะให้คุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าข้าวกล้องปกติ  



เอกสารอ้างอิง

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. 2544. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 4.พิมพ์ครั้งที่ 5. 

องค์การค้าของสกสค, กรุงเทพมหานคร. 
http://esciencenews.com/articles/2008/07/28/compound.helps.rice.grow.reduces.nerve.vascular.damage.diabetes
http://en.wikipedia.org/wiki/GABA
http://www.fostat.org/article_detail.php?select=93

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ข้าว, ข้าวกล้อง, ข้าวกล้องงอก, คุณค่าทางอาหาร, อาหาร ,เมล็ดข้าว, ข้าวสาร, ขัดสี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อรลา ชูกุล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 265 ข้าวกล้องกับข้าวกล้องงอกให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันอย่างไร (25 พ.ค. 52) /article-biology/item/265-25-52
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)