logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

จุลชีววิทยาสำหรับนักเรียน

โดย :
ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์
เมื่อ :
วันอังคาร, 29 พฤศจิกายน 2565
Hits
1578

                จุลชีววิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ซึ่งก็คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ยีสต์ โพรโทซัว และสาหร่ายขนาดเล็ก แต่สามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผู้สอนและผู้เรียนรวมทั้งบุคคลทั่วไปเริ่มหันมาให้ความสำคัญเรียนรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์มากขึ้นเพราะจุลินทรีย์มีบทบาทกับมนุษย์ในหลาย ๆ ด้านทั้งประโยชน์และโทษ ทั้งทางด้าน อุตสาหกรรม การเกษตร และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ และสาธารณสุขซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของมนุษย์ทุกคน

                ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในโรงเรียนมากขึ้นโดยเฉพาะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและปลอดภัยจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียนรวมทั้งการทำโครงงานที่อาจต้องใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ผู้เรียนรวมทั้งผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะปฏิบัติการพื้นฐานด้านจุลชีววิทยา

microbio 1

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

                แต่เนื่องจากจุลชีววิทยาเป็นวิชาเฉพาะด้านจึงจัดการเรียนการส่อนในคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผู้สอนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประถมศึกษาอาจจะขาดพื้นความรู้และทักษะปฏิบัติการที่ถูกต้องในแขนงวิชานี้

                สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ทำงานร่วมกับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา Dr. Margaret Whalley จาก Microbiology in Schools Advisory Committee (MiSAC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลชีววิทยาในโรงเรียนของสหราชอาณาจักร ในการกำหนดทั่วข้อการเรียนรู้ด้านจุลชีววิทยา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนต้นไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือให้ผู้สอนสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนเสริมเพิ่มเติมด้นจุลชีววิทยาได้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น

                ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น แนะนำให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหัวข้อ เชื้อโรคและสุขลักษณะ (Germ and hygiene) นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นเป็นช่วงวัยที่มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายเนื่องจากยังดูแลสุขลักษณะของตนเองได้ไม่ดี ทำให้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะการอยู่รวมกันในโรงเรียน มีโอกาสเกิดการแพร่กระจายหรือการติดต่อของโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเชื้อโรคและสุขลักษณะตั้งแต่วัยเด็กจะเป็นการปลูกฝังให้มีสุขลักษณะที่ดีและปฏิบัติจนกลายเป็นนิสัย

 

microbio 2

 

                เนื้อหาที่ควรกล่าวถึงพอสังเขปคือ เชื้อโรคพบได้ที่ไหนเชื้อโรคคืออะไร เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร การป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทำได้อย่างไร และทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรค โดยการนำเสนอเนื้อหาควรเน้นเป็นภาพวาดการ์ตูนของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ และภาพการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับนิสัยสุขลักษณะที่ดี โดยเฉพาะการล้างมือที่ถูกต้องจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดการติดต่อและแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดี

 

microbio 3

 

                ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย แนะนำให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหัวข้อ อาหารจากจุสินทรีย์ (Food from microbes) นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่า จุลินทรีย์ทุกชนิดไม่ใช่เชื้อโรคจุลินทรีย์หลายชนิดมีประโยชน์ใช้ในการทำอาหารหรือใช้ในการผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารประเภทต่าง ๆ สนุกกับการเรียนรู้เรื่องราวของจุลินทรีย์ผ่านทางอาหารที่รับประทาน หรือวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่พบเห็นได้ง่ายในห้องครัวหรือร้านค้า นอกจากนี้การเรียนรู้เรื่องดังกล่าวยังช่วยให้เกิดความระมัดระวังในการเลือกอาหารรับประทาน แยกแยะอาหารที่เน่าเสียซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ได้เช่นเดียวกัน

 

microbio 4

 

                เนื้อหาที่ควรกล่าวถึงพอสังเขปคือ แนะนำให้รู้จักจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว และเน้นบทบาทของจุลินทรีย์ในการนำมาใช้ทำอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขนมปัง โยเกิร์ต ซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว จุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ในวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผักสด ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำนมดิบ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล นอกจากนี้ควรเรียนรู้ว่าจุลินทรีย์สามารถทำให้อาหารเน่าเสียได้ด้วยเช่นกัน

 

microbio 5

จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว

                ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แนะนำให้นักเรียนเรียนรู้ในหัวข้อ จุลินทรีย์กับโรคภัยไข้เจ็บ (Microbes and disease ) การเรี่ยนรู้ในหัวข้อนี้จะช่วยให้เรียนรู้รับข่าวสารเกี่ยวกับจุลินทรีย์และโรคติดต่อต่าง ๆ ได้ถูกต้อง มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกลไกการป้องกันตัวของร่างกายจากจุลินทรีย์ การรับวัคซีน เชรุ่ม และการใช้ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันตัวและแนะนำผู้คนรอบข้างให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่มักเกิดการแพร่กระจายในแหล่งชุมชนได้ง่ายเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นช่วงวัยที่เริ่มสนใจในเรื่องทางเพศการได้เรียนรู้ถึงสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเกิดจากเชื้อ HIV จะช่วยให้นักเรียนเกิดความตระหนักทำให้เกิดการระวัง และป้องกันตัวลดความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นจำนวนผู้ติดเชื้อในวัยรุ่นได้

 

microbio 6

Human Immunodeficiency Virus (HIV)

                เนื้อหาที่ควรกล่าวถึงพอสังเขปมีดังนี้ แนะนำจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ฟังไจ โพรทิสต์ และไวรัสศึกษาจุลินทรีย์ได้อย่างไร (การใช้แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์) พบจุลินทรีย์ได้ที่ไหนบ้าง จุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ ได้อย่างไรร่างกายมนุษย์ป้องกัน/กำจัดจุลินทรีย์ได้อย่างไร (กลไกของร่างกายในการป้องกันเชื้อโรค แอนติเจน  และแอนติบอดี) การได้รับวัคซีนและยาปฏิชีวนะสามารถช่วยให้ร่างกายป้องกัน/กำจัดจุลินทรีย์ได้อย่างไร เรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสและโรคที่เกิดจากไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด / ไข้หวัดใหญ่ / ไข้หวัดนก รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคเอดส์ กล่าวถึงสาเหตุของโรค วิธีการติดต่อ และการดูแลป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัส

                ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แนะนำให้นักเรียนเรียนรู้ในหัวข้อ บทบาทูของจุลินทรีย์ต่อโลก (Microbes rule the earth) ในหัวข้อนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าจุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกโดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งได้มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์และยารักษาโรค การเกษตรพลังงาน สิ่งแวดล้อม และพันธุวิศวกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ เกี่ยวกับปฏิบัติการโดยเทคนิคทางจุลชีววิทยาพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถนำความรู้และทักษะในการปฏิบัติการไปต่อยอดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือจัดการเรียนการสอนแบบ Problem base ได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้จุลินทรีย์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

                เนื้อหาที่ควรกล่าวถึงพอสังเขปคือ การจัดหมวดหมู่ของจุลินทรีย์ เพิ่มเติมข้อมูลทางชีววิทยาของจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ แบคที่เรีย  อาร์เคี้ย  ไซยาโนแบคทีเรีย  และฟังไจ รวมทั้งไวรัส เนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของจุลินทรีย์ทั้งด้านอุตสาหกรรม (อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค) ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม (พลังงานและการบำบัดน้ำเสีย) และด้านพันธุวิศวกรรม เนื้อหาเกี่ยวกับปฏิบัติการทางจุลินทรีย์เช่น เทคนิคปฏิบัติการเบื้องต้นทางจุลชีววิทยา (เทคนิคปลอดเชื้อ pour plate / streak plate / spread plate / incubate) การย้อมสีจุลินทรีย์ และอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์

microbio 7

เทคนิคการขีดเชื้อ (streak plate)

                นอกจากการกำหนดเนื้อหาให้เหมาะสมกับการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนจุลชีววิทยาในแต่ละช่วงชั้นแล้ว สสวท. ยังได้พัฒนาต้นแบบสื่อประเภทต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการผลิตสื่อเพื่อการเรียนการสอนจุลชีววิทยาในชั้นเรียนต่าง ๆ อย่างเหมาะสมได้

                ระดับประถมศึกษาพัฒนาสื่อประเภทเกม แผ่นภาพและการ์ตูน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการใช้และได้รับความรู้ไปในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่นหนังสือการ์ตูน แอนิเมชั่นประกอบเพลงแผ่นภาพโปสเตอร์การ์ตูนแอนิเมชัน จิกซอว์ และเกมต่าง ๆ ระดับมัธยมศึกษาพัฒนาสื่อประเภทแอนิเมชัน และวีดิทัศน์ ที่ให้เห็นการนำความรู้ทางจุลชีววิทยาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

                ครู นักเรียน และผู้ที่สนใจยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมหรือดูสื่อเกี๋ยวกับจุลชีววิทยาได้จากบทความต่ง ๆ บนเว็บไชต์ของสาขาชีววิทยา สสวท.(http://biology.ipst.ac.th) หรือเว็บไซต์ของ MiSAC (http://www.misac.org.uk)

 

                บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/   

บรรณานุกรม

Burdass, D. (2009). The Good, The Bad& The Ugly-Microbes.Spencers Wood, UK: The Society for General Microbiology (SGM)

Burdass, D. (2011). The Secret World of Microbes. Spencers Wood, UK: The Society for General Microbiology (SGM)

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
จุลชีววิทยา, การแพทย์, สาธารณสุข
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12615 จุลชีววิทยาสำหรับนักเรียน /article-biology/item/12615-2022-07-25-08-20-30-19
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    สาธารณสุข จุลชีววิทยา การแพทย์
คุณอาจจะสนใจ
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 22 ศาสตราจารย์เกี ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (4243)
ให้คะแนน
มีนักคณิตศาสตร์มากมายหลายท่านที่ได้รับการยกย่องและกล่าวขานถึงผลงานและคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากทั่ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)