logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เหตุผลที่คนกลัวความสูง

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 09 มีนาคม 2564
Hits
20931

          ความกลัวเป็นอารมณ์ทั่วไปของมนุษย์ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยคุกคามทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์จากภัยหรืออันตรายเหล่านั้น แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกกลัวที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ และไม่สมเหตุสมผลเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง

11647 1

ภาพมุมมองจากที่สูง
ที่มา https://pixabay.com/images/id-2040575, Alexas_Fotos

โรคกลัวความสูงคืออะไร?

          แม้จะมีคนประมาณหนึ่งในสามที่ประสบกับความกลัว ความวิตกกังวลและไม่สบายใจเมื่อต้องเผชิญกับความสูง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการของโรคกลัวความสูง (Acrophobia) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของโรคกลัว (Phobia) ที่เป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะมีอาการกลัวเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งของหรือสถานการณ์ที่ผู้ป่วยกลัว หลีกเลี่ยงสิ่งที่กลัว พร้อมกันนั้นยังเกิดอาการวิงเวียน ใจสั่น หายใจลำบาก และอาจหมดสติ ร่วมด้วย

          ความกลัว (Fear) เป็นการตอบสนองทางอารมณ์ต่อภัยคุกคามที่รับรู้ได้ว่าเป็นอันตราย ในขณะที่โรคกลัว (Phobia) มีลักษณะคล้ายกับความกลัว แต่มีความแตกต่างตรงที่ความกลัวและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้น สามารถรบกวนคุณภาพชีวิต และความสามารถในการทำงานได้ อย่างไรก็ดี โรคกลัวความสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยกลัวสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสูง หรือการต้องอยู่ห่างจากพื้นดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคกลัว เนื่องด้วยบางคนอาจมีความกลัวที่จะต้องอยู่บนอาคารสูงมากพอๆ กับการปีนบันได

          ผู้ที่เป็นโรคกลัวความสูง มักจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องอยู่กับความสูง แต่การหลีกเลี่ยงนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอไป เมื่อต้องเผชิญกับความสูง ระบบประสาทจะถูกกระตุ้นให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ความตื่นตัว (arousal) จะนำไปสู่การตอบโต้ที่เรียกว่า การตอบสนองแบบสู้หรือหนี ( fight-or-flight response) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อการถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อความสูญเสียชีวิต ผู้ป่วยโรคกลัวความสูงจะมีอาการวิงเวียน มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ เหงื่อออก วิตกกังวล ตัวสั่น และอาจมีอาการคลื่นไส้และปวดท้อง

การเรียนรู้ต่อการกลัวความสูง

          สำหรับการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม นักพฤติกรรมนิยม (Behaviourist) ส่วนใหญ่ทำการศึกษาความกลัวและโรคกลัวความสูง โดยใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning) และเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ทฤษฎีดังกล่าวอธิบาย ให้ลองพิจารณาถึงการปีนต้นไม้ครั้งแรก ซึ่งตามมุมมองของนักพฤติกรรมนิยม คนที่ปีนต้นไม้ครั้งแรกจะไม่มีความกลัว
แต่หากว่าคุณตกต้นไม้ นั่นจึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความกลัว

          นักพฤติกรรมนิยมคาดการณ์ว่า ด้วยประสบการณ์การขึ้นที่สูงและได้รับบาดเจ็บจากการตกจากที่สูง เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงลบที่เกี่ยวข้องกับความสูง จะมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้คนกลัวความสูงได้  อย่างไรก็ดี การเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรม พบปัญหาบางอย่างซึ่งยากต่อการอธิบายถึงสาเหตุของคนเป็นโรคกลัวที่ไม่เคยประสบสถานการณ์ที่ทำให้กลัว แต่เกิดอาการกลัวอย่างรุนแรงได้ ซึ่งคำอธิบายที่ดีที่สุดอาจหมายถึงเหตุผลในเรื่องของการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมและมุมมองเชิงวิวัฒนาการ แต่ถึงอย่างนั้น โรคกลัวความสูงสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการลงได้ เช่น การใช้จิตบำบัด การบำบัดด้วยการสัมผัส (Exposure therapy) การใช้ยา เป็นต้น

          นอกจากนี้การผ่อนคลายด้วยการทำโยคะ หายใจลึก ๆ ทำสมาธิ หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อยังเป็นวิธีการที่สามารถช่วยในการรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลจากอาการของโรคกลัวความสูงได้ และการออกกำลังกายเป็นประจำก็เป็นอีกวิธีการง่ายๆ ที่ช่วยบำบัดและบรรเทาความเครียดจากอาการกลัวได้เช่นกัน

แหล่งที่มา

Rebekah Boynton and Anne Swinbourne, (2017, October 16), Health Check: why are some people afraid of heights? Retrieved June 26, 2020, from https://theconversation.com/health-check-why-are-some-people-afraid-of-heights-82893

Lisa Fritscher,(2020,June 25), Symptoms, Causes, and Treatment of Acrophobia. Retrieved June 26, 2020, from https://www.verywellmind.com/acrophobia-fear-of-heights-2671677

Roger Covin(2012,June 16), The Difference Between Phobia and Fear. Retrieved June 26, 2020, from https://www.huffingtonpost.ca/roger-covin/phobia-and-fear_b_1596640.html#:~:text=Psychologists%20often%20make%20a%20distinction,or%20their%20ability%20to%20function.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กลัวความสูง, ความสูง, โรคกลัวความสูง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 26 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11647 เหตุผลที่คนกลัวความสูง /article-biology/item/11647-2020-06-30-03-41-37
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โรคกลัวความสูง ความสูง กลัวความสูง
คุณอาจจะสนใจ
เหตุใดความสูงของคนเราจึงลดลงตามอายุ?
เหตุใดความสูงของคนเราจึงลดลงตามอายุ?
Hits ฮิต (13601)
ให้คะแนน
สายตายาว หูตึง ขี้หลงขี้ลืม กระดูกพรุน ไขข้อเสื่อม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนัง และเนื้อเยื ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)