logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 3 Wildlife Crossings

โดย :
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
เมื่อ :
วันอังคาร, 26 มกราคม 2564
Hits
4899

          เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยของเราได้มีทางเชื่อมสัตว์ป่าแห่งแรกในประเทศ กรมทางหลวงได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2562 เชื่อมผืนป่าเขาใหญ่-ทับลาน บนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี-อ.ปักธงชัย เรามาทำความรู้จักกับทางเชื่อมสัตว์ป่ากันดีกว่าว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

11635 1

ภาพที่ 1 สัตว์ป่าข้ามถนน
ที่มา https://unsplash.com/ , Nicolas Tissot

          ทางเชื่อมสัตว์ป่าเป็นเหมือนความฝันของนักอนุรักษ์ในการพยายามแก้ไขปัญหา Roads Kills ตอน 1 และ 2 ในบทความก่อนหน้านี้ที่ได้นำเสนอให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงภาพการสูญเสียสัตว์ป่าบนท้องถนน ความจริงแล้ว animal bridge มีมากว่า 70 ปีแล้ว สะพานสัตว์แห่งแรกสร้างขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1950 อีกทั้งยุโรปยังเป็นผู้นำในการใช้ทางเชื่อมปกป้องสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากยกตัวอย่างเช่นประเทศเนเธอร์แลนด์มีทางเชื่อมสัตว์ป่า 66 จุดทั่วประเทศและยังมีทางเชื่อมที่ยาวที่สุดถึงครึ่งไมล์ Natuurbrug Zanderij Crailoo ผ่านแม่น้ำ รางรถไฟ และบริเวณเขตกิจกรรมธุรกิจ จนกลายเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์สัตว์ป่ากว่า 600 ชีวิต

11635 2

ภาพที่ 2 Wildlife Crossing Bridge
ที่มา https://www.pexels.com/ , Frank Cone

          การกระจายตัวของที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทำให้เกิดสิ่งกีดขวางที่มนุษย์สร้างขึ้นถนน ทางรถไฟ คลอง การประปา สาธารณูปโภคบริโภค สายไฟฟ้า ตึก บ้าน ที่อยู่อาศัยเป็นตัวแบ่งแยกที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ถนนเหล่านี้สร้างผลกระทบที่แพร่หลายและเป็นอันตรายมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าระบบถนนในสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างน้อยหนึ่งในห้าของพื้นที่ที่ดินของประเทศ นักนิเวศวิทยาและนักอนุรักษ์ได้บันทึกความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนักระหว่างถนนกับสัตว์ป่า ผลกระทบจาก Road Kils ทำให้ประชากรสัตว์ป่าลดจำนวนลงเนื่องจากถูกลดพื้นที่ที่อยู่อาศัยและคุณภาพ เพิ่มอัตราการตายจากยานพาหนะชนสัตว์ป่า สัตว์ป่าถูกกีดกันและแบ่งออกเป็นประชากรย่อยขนาดเล็กและอ่อนแอกว่า การกระจายตัวของที่อยู่อาศัยสามารถนำไปสู่การสูญพันธุ์หรือการทำลายล้างหากแหล่งพันธุกรรมของประชากรถูกจำกัด สัตว์ที่เป็น Interior species คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้านในป่าห่างจากถนนบริเวณขอบป่าถึงป่าชั้นใน 1 กิโลเมตร สัตว์เหล่านี้จะเกิดความเครียดต่อการดำรงชีวิตจากที่เคยหาอาหารในบริเวณกว้างเมื่อถูกจำกัดพื้นที่จึงทำให้หาอาหารได้น้อยลงส่งผลกระทบไปถึงห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่มีจำนวนประชากรน้อยจะทำให้การสืบพันธุ์เกิดในวงแคบ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Bottleneck effect อย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนหน้า สัตว์เหล่านี้จึงเกิดความเครียดและต้องการเคลื่อนย้ายไปบริเวณอื่นๆ ออกหาอาหารในพื้นที่ชาวบ้าน และเกษตรกร รวมถึงถนนที่มีรถยนต์ความเร็วสูง

          Wildlife Crossing เป็นทางเชื่อมสัตว์ป่าที่อนุญาตให้สัตว์ข้ามกำแพงที่มนุษย์สร้างขึ้นได้อย่างปลอดภัย รูปแบบของทางข้ามสัตว์ป่าถูกออกแบบเพื่อให้เหมาะกับสัตว์ที่มีความหลากหลายสูง

- underpass tunnels เป็นทางเชื่อมรูปแบบอุโมงค์ใต้ถนนสัตว์ตัวใหญ่เช่นช้างข้ามได้สะดวก

- overpasses or green bridges รูปแบบสะพานสีเขียวด้านบนตัดข้ามถนนสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้ทางข้ามนี้เป็นพวกสัตว์ขนาดใหญ่หรือฝูงสัตว์ที่มักจะอยู่รวมกันหากินเป็นฝูง

- amphibian tunnels อุโมงค์สัตว์เลื้อยคลาน

- fish ladders สะพานปลา

- canopy bridge สะพานสูงที่ห้อยโหนบนเรือนยอดสำหรับกระรอกและลิง

- culverts ท่อระบายน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก นาค เม่น แบรดเจอร์

- green roofs หลังคาเขียวนกและผีเสื้อ

11635 3

ภาพที่ 3 canopy bridge
ที่มา https://unsplash.com/ , Erik-Jan Leusink

          จุดประสงค์หลักของ Wildlife Crossing bridge เพื่อเชื่อมที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เกิด habitat fragmentation คือการที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์แตกออกเป็นหย่อมๆ ด้วยความหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่หาอาหารการกระจายพันธุ์และลดการสูญเสียชีวิตของสัตว์ป่าบนท้องถนนให้พ้นภัยหรือที่เรียกว่า Road Kills อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เป็นความพยายามของมนุษย์และสัตว์ป่าซึ่งถือได้ว่านิมิตหมายที่ดีของการอยู่ร่วมกันไปอีกขั้น แต่จะตอบโจทย์ได้มากน้อยแค่ไหนมาติดตามกันต่อในบทความต่อไป ใน Wildlife Crossing ตอน2 ความหวังหรือหลอกฝันนักอนุรักษ์

แหล่งที่มา

Panee. (2562, 16 เมษายน) “10 สะพานอุโมงค์มหัศจรรย์สร้างให้สัตว์ป่าข้าม สวยงามตามธรรมชาติ” สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://sdthailand.com/2019/04/wildlife-crossings-animal-safety/

Pimnara.(2562, 21 มีนาคม) “เปิดแล้วทางเชื่อมผืนป่าเขาใหญ่ทับลานอุโมงค์สัตว์ข้ามแห่งแรกของไทย”ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จากhttps://progreencenter.org/2019/03/21/เปิดแล้ว-ทางเชื่อมผืนป่/

ขัตติยา ดีอาเกียเร่.(2562, 16 มีนาคม) “อุโมงค์ทางลอด ทล.304 เชื่อมผืนป่ามรดกโลก-เส้นทางสัญจร” เปิดมุมมอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-302744

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Wildlife Crossing, ทางเชื่อมสัตว์ป่า, สะพานข้ามสัตว์ป่า, road kills, ตัดถนนผ่านป่า, ตัดไม้ทำลายป่า
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 พฤษภาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11635 Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 3 Wildlife Crossings /article-biology/item/11635-road-kills-3-wildlife-crossings
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ตัดไม้ทำลายป่า ตัดถนนผ่านป่า road kills สะพานข้ามสัตว์ป่า ทางเชื่อมสัตว์ป่า Wildlife Crossing
คุณอาจจะสนใจ
Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 2
Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 2
Hits ฮิต (11016)
ให้คะแนน
“ไม่ได้เป็นแค่ทางตายแต่เป็นฝันร้ายของระบบนิเวศ” มาต่อกันในตอนที่ 2 Road Kills (สำหรับใครที่ยังไม่ได ...
Road Kills หายนะสัตว์ป่า
Road Kills หายนะสัตว์ป่า
Hits ฮิต (12733)
ให้คะแนน
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ สื่อหลายช่องทางต่างนำเสนอเรื่องราวอันน่าหดหู่ใจเกี่ยวกับปัญหาการสูญเสี ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)