logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • มารู้จัก Lipid Priofile กันเถอะ

มารู้จัก Lipid Priofile กันเถอะ

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันอังคาร, 12 พฤศจิกายน 2562
Hits
482

          เราเคยทำความรู้จักกันไปแล้วกับ ลิพิด (Lipid) ในบทความก่อนหน้านี้สักระยะหนึ่ง ซึ่งก็เคยเกริ่นถึงการตรวจระดับไขมันในเลือดทิ้งกันเอาไว้ สำหรับบทความนี้ก็จะมาอธิบายเกี่ยวกับการตรวจระดับไขมันในเลือด หรือ การตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile หรือ Lipid Panel) ให้ได้อ่านกันโดยสรุปสาระสำคัญ ติดตามอ่านกันได้เลย

10625 1

ภาพที่ 1 การวัดไขมัน
ที่มา https://pixabay.com, mohamed_hassan

          การตรวจวัดค่าไขมันของ Lipid Profile ก็เพื่อต้องการทราบค่าขององค์ประกอบที่สำคัญของไขมันทุกตัวในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับที่ผิดปกติหรือไม่ อย่างที่ทราบกันดีว่า ลิพิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของไขมัน ซึ่งไขมันที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับลิพิด 2 ชนิดก็คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงนั่นเอง และนำไปสู่โรคต่าง ๆ มากมายเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease: CAD) , โรคลมปัจจุบัน หรือโรคอุบัติเหตุขาดเลือดในสมอง (cerebrovascular accident: CVA)

          จะประกอบด้วยการตรวจวัดค่าไขมัน 5 ตัว คือ

          1) cholesterol

          2) triglycerides

          3) low density lipoprotein (LDL)

          4) high density lipoprotein (HDL)

          5) very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL)

คอเลสเตอรอล (cholesterol)

          ร่างกายของคนเราจะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลออกมาจากตับโดยได้รับจากอาหารที่เราทานเข้าไป  เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทะเล ภายในร่างกายของเลือดของเรา คอเลสเตอรอลจะจับตัวรวมกับโปรตีนเรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein) ซึ่งเป็นสารประกอบของโปรตีนผสมกับไขมัน ซึ่งมี 2 รูปแบบที่สำคัญคือ LDL, HDL ดังนั้นค่า cholesterol ที่ตรวจวัดได้จึงเป็นค่าที่รวมกันของ LDL และ HDL

          (LDL) หรือ ไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตรายเพราะเป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบ

          ส่วน (HDL) หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือดต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ HDL ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกายทั้งนี้การตรวจ Total Cholesterol ( TC ) จะเป็นการตรวจปริมาณของค่าของคอเลสเตอรอลในเลือด โดยไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) เป็นไขมันแท้จริง ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่เรารับประทานทานเข้าไปและอัตราการเผาผลาญโดยร่างกาย  เป็นแหล่งของพลังงานสะสม ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ถ้าเราไม่ได้รับประทานอะไร ร่างกายจะไปดึงไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมไว้มาใช้แทน ดังนั้น หากเรามีไตรกลีเซอไรด์สะสมไว้มากในร่างกาย นั่นก็คือ การสะสมของพลังงานที่เกินความจำเป็นซึ่งเป็นสาเหตุของความอ้วนนั่นเอง

          ทั้งหมดที่กล่าวไปทั้งหมดนั้นก็เป็นสรุปง่าย ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปอย่างเรา ๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อคลายข้อสงสัยในการดูผลตรวจทางการแพทย์ไว้เบื้องต้น

แหล่งที่มา

มารู้จักค่าไขมันในเลือดกันเถอะ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 . จาก http://www.bcnsp.ac.th/km/index.php/2016-06-13-07-23-51/38-2016-08-16-02-32-33

การตรวจระดับไขมันในเลือด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 . จาก https://medthai.com/การตรวจไขมันในเลือด/

ลิปิดโปรไฟล์คืออะไร ? ( Lipid Profile ). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 . https://amprohealth.com/checkup/lipid-profile/

ไขมันในเลือดสูง ป้องกันได้ (Dyslipidemia). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 . http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/844/Dyslipidemia

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การตรวจวัดค่าไขมัน , Lipid Profile ,ไขมันในกระแสเลือด, คอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 20 สิงหาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10625 มารู้จัก Lipid Priofile กันเถอะ /article-biology/item/10625-lipid-priofile
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สเตียรอยด์ ภัยเงียบที่ควรรู้
สเตียรอยด์ ภัยเงียบที่ควรรู้
Hits ฮิต (7060)
ให้คะแนน
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสพาเพื่อนคนหนึ่งไปพบแพทย์เนื่องจากเธอมีผื่นผดเม็ดเล็กๆ ...
ตากแดดนาน ๆ สีผิวดำได้อย่างไร
ตากแดดนาน ๆ สีผิวดำได้อย่างไร
Hits ฮิต (8557)
ให้คะแนน
ช่วงอากาศร้อนในหน้าร้อนกิจกรรมที่ขาดไม่ได้เลยคือการไปเที่ยวที่คงไม่มีที่ไหนน่าไปเที่ยวไปมากกว่าทะเล ...
อาหารบำรุงดวงตา
อาหารบำรุงดวงตา
Hits ฮิต (12693)
ให้คะแนน
ดวงตาเป็นอวัยวะที่ใช้สื่อความหมายได้มากมาย และที่สำคัญที่สุด คือ เป็นอวัยวะที่ใช้มองสิ่งต่างๆ รอบตั ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)