logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • ความฝัน อีกคนจำ อีกคนกลับลืม

ความฝัน อีกคนจำ อีกคนกลับลืม

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 13 สิงหาคม 2562
Hits
17277

          สำหรับบางคนสามารถจดจำความฝันของตัวเองได้ชัดเจนเต็มตา ในขณะที่หลายคนยังคงยืนยันว่าเขาไม่ฝันหรืออีกนัยน์ก็คือ พวกเขาเหล่านั้นอาจจำความฝันของตัวเองไม่ได้ ทั้งนี้ความแตกต่างของปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจอธิบายได้ด้วยยีนภายในสมอง

10128 1

ภาพการนอนหลับ
ที่มา https://pixabay.com , cuncon

          การศึกษาใหม่ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Cell Reports เป็นการศึกษาของศูนย์วิจัย RIKEN Center for Biosystems Dynamics Research ในประเทศญี่ปุ่น โดยทีมวิจัยได้ทำการทดลองในหนู และค้นพบ ยีนคู่หนึ่งที่ควบคุมการนอนหลับในระยะ REM (rapid eye movement) ซึ่งเป็นช่วงของการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับความฝันที่แจ่มชัด (vivid dreaming) และการนอนหลับในระยะ non-REM (Non rapid eye movement) ที่เป็นช่วงการนอนหลับตื้น

          การนอนหลับในช่วงเวลากลางคืน ร่างกายจะปรับเข้าสู่กลไกการนอนหลับแบบทั้งในระยะ REM sleep และ non-REM sleep ทั้งนี้การนอนหลับแบบ REM sleep  จะช่วยเพิ่มโอกาสในการฝัน และมีแนวโน้มที่จะจดจำความฝันได้มากขึ้น

          เมื่อการนอนหลับเข้าสู่ระยะ REM sleep สมองจะเต็มไปด้วยสารสื่อประสาทที่เรียกว่า แอซิติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ความคิด กระบวนการทำงานของความจำ รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการนอนหลับ และสำหรับการศึกษานี้ นักวิจัยสามารถระบุยีน 2 ชนิดคือ Chrm1 และ Chrm3 ซึ่งดูเหมือนว่า ยีนทั้ง 2 ยีนนี้จะเข้ารหัสกับตัวรับแอซิติลโคลีน (acetylcholine receptor) ได้ดี และเพื่อค้นหาว่า ยีนเหล่านี้มีบทบาทในช่วงหลับฝันของเราหรือไม่ ทีมวิจัยจึงได้ใช้เครื่องมือทางพันธุกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนยีนของหนู

          การศึกษาค้นพบว่า การลบยีน Chrm1 จะไปลดการนอนหลับในช่วง REM sleep ที่ไม่ต่อเนื่อง (REM sleep fragment) ในขณะที่การลบยีน Chrm3 จะลดความต่อเนื่องของการนอนหลับแบบ non-REM อย่างไรก็ดี เมื่อลบยีนทั้ง 2 ยีน พบว่า แทบจะไม่สามารถตรวจจับการนอนหลับแบบ REM sleep ในหนูทดลองได้เลย หรืออาจกล่าวได้ว่า หนูทดลองไม่มีความฝันนั่นเอง

          แม้ว่าการควบคุมการนอนหลับเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณซึ่งกันและกันของเซลล์ประสาทพิเศษภายในสมอง และแอซิติลโคลีน จะส่งเสริมการนอนหลับแบบ REM sleep แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า กลไกการทำงานของสารสื่อประสาทมีความจำเป็นสำหรับการนอนหลับแบบ REM sleep เนื่องจากความซับซ้อนตั้งแต่วงจรประสาทไปจนถึงระดับโมเลกุล แต่การศึกษาของนักวิจัยทำให้เห็นว่า การลบยีน  Chrm1 และ Chrm3 จะไปรบกวนการนอนหลับแบบ REM sleep และชี้ให้เห็นว่า ตัวรับแอซิติลโคลีน  ยีน Chrm1 และยีน Chrm3 นั้นมีบทบาทสำคัญต่อการนอนหลับแบบ REM sleep ซึ่งนำไปสู่วิธีการศึกษากลไกของเซลล์และโมเลกุล ตลอดจนทำให้สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงข้อสงสัยถึงการจดจำความฝันที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลได้

          แม้การนอนหลับแบบ REM sleep จะช่วยให้สมองจัดการความทรงจำ อารมณ์ และการเรียนรู้ แต่สำหรับหนูที่ไร้ซึ่งความฝันนั้น ดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดการนอนหลับแบบ REM sleep และนี่ยังเป็นข้อสงสัยที่เชื่อมโยงต่อความสามารถในการจดจำความฝันของมนุษย์  อย่างไรก็ดีนักวิจัยยืนยันว่า การที่หนูทดลองไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่ต่อเนื่องหรือขาดการนอนหลับแบบ REM sleep นั่นอาจแสดงให้เห็นว่า ความฝันไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง แต่เป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำงานของสมองในช่วงการนอนหลับแบบ REM sleep

แหล่งที่มา

Tom Hale. (2018, August 29). Why You Remember (Or Forget) Your Dreams. Retrieved April 10,2019, From https://www.iflscience.com/brain/why-you-remember-or-forget-your-dreams/

Muscarinic Acetylcholine Receptors Chrm1 and Chrm3 Are Essential for REM Sleep. Retrieved April 10,2019, From https://www.cell.com/cell-reports/fulltext/S2211-1247(18)31200-2?_returnURL=https%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS2211124718312002%3Fshowall%3Dtrue

Vivid Dreams . Retrieved April 10,2019, From https://www.sleepfoundation.org/narcolepsy/symptoms/vivid-dreams

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความฝัน, REM, sleep
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 10 เมษายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10128 ความฝัน อีกคนจำ อีกคนกลับลืม /article-biology/item/10128-2019-04-19-07-33-40
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ถุงพลาสติกจะไม่ล้นโลกด้วยหนอนผีเสื้อ
ถุงพลาสติกจะไม่ล้นโลกด้วยหนอนผีเสื้อ
Hits ฮิต (22567)
ให้คะแนน
ทุกวันนี้เมื่อเราไปซื้อของตามร้านค้า สิ่งที่เราได้มาหลังจากการจ่ายเงินคือสิ่งของที่เราต้องการบวกกับ ...
สำเร็จไปอีกขั้น กับการโคลนนิ่งที่เงียบหายไปนาน
สำเร็จไปอีกขั้น กับการโคลนนิ่งที่เงียบหา...
Hits ฮิต (22109)
ให้คะแนน
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1
Hits ฮิต (17702)
ให้คะแนน
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1 สุนทร ตรีนันทวัน ไข่เป็นอาหารที่สำคัญของคนเราทุกเพศทุกวัย นอกจากเราจะใช้ไข่ทำ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)