Table of Contents Table of Contents
Previous Page  156 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 156 / 284 Next Page
Page Background

6.1 พันธุวิศวกรรมและการโคลนยีน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายหลักการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการสร้างดีเอ็นเอ

รีคอมบิแนนท์

2. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายการโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของแบคทีเรียและเทคนิค

PCR

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�ภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมชนิดต่างๆ และแหล่งของยีนที่นำ�มาใส่ในสิ่งมีชีวิตนั้น

มาให้นักเรียนศึกษา เช่น แบคทีเรียที่สร้างอินซูลินที่ยีนควบคุมการสร้างอินซูลินได้มาจากมนุษย์

ข้าวโพด BT ที่ยีนควบคุมการสร้างสารพิษได้มาจากแบคทีเรีย

Bacillus thuringiensis

หนูเรืองแสง

ที่ยีนสร้างโปรตีนเรืองแสงได้มาจากแมงกะพรุน แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่า การสร้างสิ่งมีชีวิต

ดัดแปรพันธุกรรมสามารถทำ�ได้ทั้งในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ และแหล่งของยีนที่นำ�มาใช้ก็สามารถ

ได้มาจากทั้งจุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์

ครูชี้แจงเพิ่มเติมว่า การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมีหลายวิธี ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึง

เฉพาะการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ แล้วนำ�ไปใส่ในแบคทีเรียที่เป็น

เซลล์เจ้าบ้านเพื่อให้เพิ่มจำ�นวน เรียกว่า การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย และนอกจากจะ

โคลนยีนในสิ่งมีชีวิตแล้วยังสามารถโคลนยีนในหลอดทดลองได้อีกด้วย

6.1.1 การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยสอบถามความรู้เดิมเกี่ยวกับเซลล์แบคทีเรียที่มีโครโมโซมและพลาสมิด

เป็นสารพันธุกรรมภายในเซลล์ และภาพพลาสมิดที่มียีนต้านยาปฏิชีวนะและบริเวณที่เป็น

ตำ�แหน่งตัดของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะ จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายโดยใช้คำ�ถามดังนี้

การโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของแบคทีเรียคืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไร

เพราะเหตุใดจึงใช้พลาสมิดที่มียีนต้านยาปฏิชีวนะในการสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์

เพราะเหตุใดพลาสมิดจึงต้องมีบริเวณที่เป็นตำ�แหน่งตัดของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะ

ครูอาจให้นักเรียนดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับการโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย และให้นักเรียน

สืบค้นจากหนังสือเรียนเพื่อร่วมกันวิเคราะห์และอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การโคลนยีนโดยใช้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

144