Table of Contents Table of Contents
Previous Page  158 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 158 / 284 Next Page
Page Background

เช่น

Eco

RI มีลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ� 6 คู่เบส และมีจุดตัดจำ�เพาะเป็น G↓AATTC คือ

จุดตัดระหว่าง G และ A ส่วน

Hae

III มีลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ� 4 คู่เบส และมีจุดตัดจำ�เพาะเป็น

GG↓CC คือ จุดตัดระหว่าง G และ C อย่างไรก็ตามมีเอนไซม์ตัดจำ�เพาะบางชนิดที่มีบริเวณจดจำ�

และจุดตัดจำ�เพาะเหมือนกัน เช่น

Xma

I และ

Xcy

I

เมื่อเอนไซม์ตัดจำ�เพาะตัดสาย DNA สายคู่ จะทำ�ให้เกิดปลายสายที่แตกต่างกันแล้วแต่ชนิด

ของเอนไซม์ ถ้าตัดสาย DNA แล้วทำ�ให้เกิดปลายสายเดี่ยวที่มีนิวคลีโอไทด์ยื่นออกมา เรียกว่า

ปลายเหนียว ถ้าเอนไซม์ตัดจำ�เพาะมีจุดตัดอยู่ตรงกันทั้งสองสายของ DNA จะทำ�ให้เกิดปลายทู่

ครูขยายความรู้ให้กับนักเรียนว่า เอนไซม์ตัดจำ�เพาะชนิดเดียวกันจะตัดสาย DNA ที่

จุดตัดจำ�เพาะที่มีลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ�เดียวกัน จึงสามารถใช้ตัดสาย DNA จากสิ่งมีชีวิต

ทั้งจุลินทรีย์ พืช สัตว์ หรือ DNA ที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ PCR

คำ�ถามในหนังสือเรียนมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้

บริเวณจดจำ�ของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะแต่ละชนิดมีจำ�นวนเบสเท่ากันหรือไม่ อย่างไร

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะแต่ละชนิดอาจมีจำ�นวนลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ�เท่ากัน เช่น

Eco

RI และ

Pst

I หรือไม่เท่ากันก็ได้ เช่น

Eco

RI และ

Hae

III

การเรียงลำ�ดับเบสของ DNA แต่ละสายในบริเวณจดจำ�ของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะมีลักษณะ

ร่วมกันอย่างไร

การเรียงลำ�ดับเบสในแต่ละสายจากปลาย 5’ ไปปลาย 3’ พบว่าจะเหมือนกันทั้งสองสาย เช่น

5’… G A A T T C …3’

3’… C T T A A G …5’

ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับการเชื่อมสาย DNA ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสจากหนังสือเรียน

หรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยมีประเด็นการอภิปรายดังนี้

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่ตัดสาย DNA ที่มียีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิต และเอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่

ใช้ตัดพลาสมิดควรเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ อย่างไร

ปลาย DNA ที่ถูกตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำ�เพาะสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

146