logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาโครงงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
หมวดวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • โครงงานทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์
  • อื่น ๆ

การทดสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเนสที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันทางพันธุกรรม

ชื่อผู้ทำโครงงาน
นายวัฒน์ มิตรธรรมศิริ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้
สถาบันการศึกษา
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
ระดับชั้น
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
การทดสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเ ... รูปภาพ 1
บทคัดย่อ

จากการที่เคยได้ทำโครงการเกี่ยวกับเอนไซม์ไคติเนส ทำให้ได้ข้อสังเกตว่าเอนไซม์ไคติเนสที่ได้จากแบคทีเรียคนละชนิดกันจะมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งหากเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของสิ่งมีชีวิตกับคุณสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเนส การคัดเลือกเอนไซม์มาใช้ประโยชน์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเนสกับความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อย่างน้อยที่สุด แม้จะไม่สามารถบ่งชี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ชัดเจนแต่ก็จะได้ทราบสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์จากสิ่งมีชีวิตที่นำมาศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานให้เหมาะสม ในการศึกษาความสัมพันธ์นี้ ได้อาศัยเอนไซม์จากสิ่งมีชีวิต 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา 1 ชนิด และเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด โดยคัดเลือกเชื้อที่ผลิตเอนไซม์ออกมานอกเซลล์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการเกิดวงในบนวุ้นอาหารที่ผสมคอลลอยด์ไคตินลงไปด้วย จากนั้นแยกเชื้อมาเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีเพียงแร่ธาตุกับคอลลอยด์ไคติน เพื่อให้เชื้อราและแบคทีเรียผลิตเอนไซม์ออกมา หลังจากที่สังเกตได้ชัดเจนแล้วว่าเชื้อราและแบคทีเรียที่ได้เพาะลงในอาหารเหลวนั้นมีการเจริญเติบโตก็ตรวจการย่อยไคตินของเอนไซม์ไคติเนสทุกวัน พบว่าในแบคทีเรียชนิดที่ 1 อาศัยเวลาเพียง 1 วัน นับจากวันที่เพาะเชื้อก็สามารถตรวจพบการย่อยไคตินของเอนไซม์ได้อย่างชัดเจน ในแบคทีเรียชนิดที่ 2 ต้องอาศัยเวลาประมาณ 3 วัน สำหรับในเชื้อรานั้น เริ่มสังเกตเห็นว่ามีเชื้อเจริญเติบโตอยู่ในอาหารเหลวได้ชัดเจนในวันที่ 3 แต่ไม่สามารถตรวจพบการทำงานของเอนไซม์ไคติเนสได้ ดังนั้น จึงมิได้นำเอนไซม์ไคติเนสจากเชื้อรามาทดลองในขั้นต่อมา ในวันเดียวกันกับที่ตรวจพบการทำงานของเอนไซม์นั้น ก็ได้สกัดเอนไซม์ไคติเนสของสิ่งมีชีวิตที่ตรวจพบการทำงานนั้นมาทำการทดลองหา pH และอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยการดูดเอาของเหลวที่มีเชื้อเจริญเติบโตอยู่ไปทำการเซนทริฟิวจ์ที่ความเร็วประมาณ 10,000 รอบ/นาที เป็นเวลาประมาณ 5 นาที เพื่อตกตะกอนแยกเซลล์และตะกอนต่างๆ รวมทั้งคอลลอยด์ไคตินออกไป และเอนไซม์ที่นำมาทำการทดลองก็จะเป็นลักษณะของ clued extract โดยดูดเอาเฉพาะสารละลายที่อยู่ด้านบน (ซึ่งมีเอนไซม์ไคติเนสละลายอยู่ด้วย) มาใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพที่สภาวะต่างๆ ในการควบคุมสภาวะให้เป็นไปตามที่ต้องการจะศึกษานั้น สำหรับการหา pH ที่เหมาะสม จะใช้ buffer ในการควบคุม pH ให้เป็นไปตามที่ต้องการ อันได้แก่ acetate buffer ( pH 5, 6^0 ) , phosphate buffer (pH 7), และ tris buffer ( pH 8, 9^0 ) โดยศึกษาที่อุณหภูมิ 30^0C หลังจากได้ผลการทดลองหา pH ที่เหมาะสมแล้ว นำผลที่ได้มาปรับใช้เพื่อการหาอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยควบคุมให้เอนไซม์ไคติเนสจากแต่ละแหล่งอยู่ใน pH ที่เหมาะสมของตนเองแล้วใช้หลักการ water bath ในการควบคุมอุณหภูมิ และตรวจสอบประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่อุณหภูมิต่างๆ ได้แก่ 20 , 30 , 40 , 50 , 60^0C สำหรับวิธีการตรวจสอบประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเนส ทำได้โดยอาศัยการตรวจสอบปริมาณ substrate (คือ คอลลอยด์ไคตินนั่นเอง) ที่ลดลงในช่วงระยะเวลาเท่าๆกัน การตรวจสอบปริมาณ substrate อาศัยหลักการที่ว่าคอลลอยด์นั้นจะมีสมบัติการดูดกลืนแสง ยิ่งมีความเข้มข้นของคอลลอยด์มากก็จะทำให้แสงส่องผ่านได้น้อย เมื่อเอนไซม์ไคติเนสย่อยคอลลอยด์ไคตินไปแล้ว ความเข้มข้นของคอลลอยด์ย่อมลดลง แสงก็จะส่องผ่านมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบปริมาณแสงที่ส่องผ่าน คือเครื่อง spectrophotometer ในการตรวจสอบจะบรรจุสารต่างๆลงใน คิวเวต ได้แก่ คอลลอยด์ไคตินมรายอมให้แสงความยาวคลื่น 650 nm ผ่านได้ 25% (เพื่อเป็น substrate) buffer ควบคุม pH และเอนไซม์ไคติเนส โดยใช้อัตราส่วน 1:1:2 ตามลำดับ จากนั้น นำคิวเวตดังกล่าวไปควบคุมสภาวะตามต้องการใน water bath แล้วนำมาวัดเปอร์เซ็นต์แสงส่องผ่าน (%T : Percent Transmission) ด้วยแสงที่มีความยาวคลื่น 650 nm โดยเก็บค่า %T 15 นาที/ครั้ง/คิวเวต เป็นเวลารวม 60 นาที และเปรียบเทียบว่า %T มีอัตราการเพิ่มมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลที่ได้รับ มีดังนี้ เอนไซม์ไคติเนสจากเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ 1 - pH ที่เหมาะสม คือประมาณ 7 เมื่อควบคุมอุณหภูมิที่ 30^0C - pH ที่ทำงานได้น้อยที่สุดในช่วง 5 - 9 คือประมาณ 6 - มีแนวโน้มที่จะทำงานในสภาพที่เป็นเบสได้ดีกว่าสภาพที่เป็นกรด - อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ประมาณ 40^0C - สามารถทำงานได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 20 - 50^0C โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำงานได้ดีกว่าที่อุณหภูมิต่ำ - ที่ 60^0C เอนไซม์ไคติเนสสามารถทำงานได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ (ประมาณ 15 นาที) หลังจากนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ เอนไซม์ไคติเนสจากเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ 2 - pH ที่เหมาะสม คือประมาณ 8 เมื่อควบคุมอุณหภูมิที่ 30^0C - pH ที่ทำงานได้น้อยที่สุดในช่วง 5 - 9 คือประมาณ 5 - มีแนวโน้มที่จะทำงานในสภาพที่เป็นเบสได้ดีกว่าสภาพที่เป็นกรด - อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ประมาณ 40^0C - สามารถทำงานได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 20 − 50^0C โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำงานได้ดีกว่าที่อุณหภูมิต่ำ - ที่ 60^0C เอนไซม์ไคติเนสไม่สามารถทำงานได้

ดาวน์โหลด
file 1
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประสิทธิภาพ,เอนไซม์ไคติเน,พันธุกรรม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
โครงงาน
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 01 มกราคม 2541
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายวัฒน์ มิตรธรรมศิริ
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4908 การทดสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของเอนไซม์ไคติเนสที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันทางพันธุกรรม /project/item/4908-2016-09-09-03-24-58_4908
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การสังเคราะห์และสมบัติทางโครงสร้างของเส้นใยนาโนคาร์บอนเตรียม ...
การสังเคราะห์และสมบัติทางโครงสร้างของเส้...
Hits ฮิต (76435)
ให้คะแนน
โครงงานนี้ได้ทำการเตรียมเส้นใยนาโนคาร์บอน(CNFs) จากสารละลายพอลิเมอร์โพลีอะไครโลไนไตรล์ (Polyacrylon ...
การศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการข ...
การศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและการทดสอบฤทธิ...
Hits ฮิต (73058)
ให้คะแนน
โครงงานนี้มีจุดประส่งเพื่อหาส่วนประกอบทางเคมีและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการของต้นขอบชะนางแดง โดยนำ ...
สเปรย์ขจัดคราบมันจากน้ำมันเปลือกส้มโอ (Product of Wiping Spr ...
สเปรย์ขจัดคราบมันจากน้ำมันเปลือกส้มโอ (P...
Hits ฮิต (119180)
ให้คะแนน
ส้มโอเป็นผลไม้ตระกูลส้มที่หาได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้เป็นผลไม้ที่ไม่รับประ ...
ค้นหาโครงงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
หมวดวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • โครงงานทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)