การดูดซับไอออนของโลหะหนักโครเมียม (III) จากสารละลายตัวอย่างในระดับห้องปฏิบัติการโดยใช้ ซีโอไลต์ธรรมชาติ
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นิธิภรณ์ ลักขษร
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
พรพรรณ พึ่งโพธิ์
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาการประยุกต์ใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติในการดูดซับไอออนของโครเมียม (III) จากน้ำตัวอย่างที่เตรียมในห้องปฏิบัติการ โดยใช้วิธีแบบกะ ตัวดูดซับที่นำมาศึกษา คือ ซีโอไลต์ธรรมชาติที่พบในบริเวณจังหวัดสงขลา จำนวน 7 ชนิด โดยกำหนดเป็นชนิด A, B, C, D, E, F และ G ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าซีโอไลต์ธรรมชาติชนิด A, C, D, E และ G มีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงกว่า 90 % และพารามิเตอร์ที่เหมาะสมต่อการดูดซับ พบว่าปริมาณของซีโอไลต์ธรรมชาติชนิด A, C, D และ G คือ 30 g/L และ ชนิด Eคือ 40 g/L เวลาในการดูดซับ คือ 1 ชั่วโมง และเมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายตัวอย่างเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูดซับไอออนโครเมียม (III) ลดลง จากการศึกษาไอโซเทอร์มของการดูดซับ พบว่าการดูดซับไอออนโครเมียม (III) ด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติสอดคล้องกับฟรอยลิชมากกว่าแลงเมียร์ไอโซเทอร์ม
คำสำคัญ
ดูด,ซับ,ไอ,ออน,โล,หะ,หนัก,โคร,เมียม,ซี,โอ,ไลต์
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นิธิภรณ์ ลักขษร
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
คุณอาจจะสนใจ
Hits
(79,460)

ให้คะแนน
สร้างอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์คลื่นสั่นสะเทือนเสียงพูด ...
Hits
(78,896)

ให้คะแนน
การศึกษาอิทธิพลของ BAP ต่อการเกิดยอดจากชิ้นส่วนต่างๆ ของต้นกล้าฟักทองลูกผสม (Cucurbita maxima ...
Hits
(73,936)

ให้คะแนน
ผงแบเรียม แมงกานีส ไททาเนต (BaMnTiO3) ...