โครงงานนี้เป็นการตรวจหาพาหะของเชื้อ YHV ( Yellow Head Virus ) ซึ่งได้แพร่ระบาดจากพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำเค็ม เข้าสู่พื้นที่เลี้ยงเขตน้ำจืด โดยในการทดลองนี้จะตรวจเฉพาะกุ้งที่พบปะปนในบ่อกุ้งเขตน้ำจืดเท่านั้น เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าพนหะเชื้อจากทั้งสองเขตน่าจะเป็นคนละชนิดกัน เพราะความแตกต่างในเรื่องความเค็มของน้ำ และสภาพแวดล้อมต่างๆ มากมาย สำหรับเชื้อ YHV นี้จะก่อโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำ( Penaeusmonodon ) กรรมวิธีที่ใช้ตรวจ คือเทคนิค Immunocytochemistry ( 4 ) โดยอาศัยหลักการทำงานของ Monoclonal antibody รหัส V3-2B ( 6 ) ที่จำเพาะต่อเปลือกของไวรัสหลังจากนั้นจึงใส่ antibody ตัวที่สอง ( GAMHRP) ที่จำเพาะกับ antibody ตัวแรกใน antibody ตัวที่หลังนี้จะติดด้วย exzyme Horse radish peroxidase จากนั้นจึงใส่ substrate ประกอบด้วย DAB ( Diaminoben-zidine ) 0.03% และ Hydrogen peroxide 0.006% ( 4 )Enzyme จะเร่งปฏิกิริยาให้ DAB เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจับส่วนที่มีไวรัสอยู่ โดยใช้กระบวนการเหล่านี้ตรวจสอบกุ้งทดลองจำนวน 2 ชนิดคือ กุ้งกะปิ ( Cardina sp ) กุ้งฝอย ( Macrobranchium lanchesteri ) ซึ่งพบได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำเขตน้ำจืด ผลการทดลองพบว่าหลังจากให้อาหารมีเชื้อ แก่กุ้งกะปินาน 5 วันแล้ว สามารถตรวจพบซื้อได้ในหลายอวัยวะ เช่น เหงือก ตา ขาHapatopancreas midgut ฯลฯ ในกรณีของกุ้งฝอยพบว่ามีเชื้อติดมาจากธรรมชาติอยู่แล้วเล็กน้อย แต่เมื่อทำการ infect เชื้อในห้องปฏิบัติงานพบว่าเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนในส่วนต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเช่น antennal gland Ovary ตาฯลฯ โดยไม่มีความผิดปกติใดๆ จากการที่กุ้งทั้งสองชนิดนี้สามารถติดเชื้อ YHV ได้แต่ไม่แสดง อาการและยังดำรงชีวิตได้ตามปกติ จึงสรุปได้ว่าทั้งสองชนิดอาจเป็นพาหะเชื้อ YHV จริง สำหรับตำแหน่งอวัยวะต่างๆ ที่ตรวจพบเชื้อ และความสำเร็จในการ infect เชื้อในห้องปฏิบัติการสามารถเป็นข้อมูลในการสันนิษฐาน กลไกการระบาดต่อไปได้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)