Table of Contents Table of Contents
Previous Page  47 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 47 / 284 Next Page
Page Background

เหตุผลที่สำ�คัญที่ต้องสอนชีวจริยธรรมในชั้นเรียน

1. ชีวจริยธรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนที่ดีที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสนใจในเนื้อหา

ทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าครูต้องหาประเด็นที่น่าสนใจทางชีววิทยามาให้นักเรียนอภิปราย

เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง คุณค่าของบุคคล สิทธิ และความ

รับผิดชอบกับประเด็นต่าง ๆ ทางชีววิทยาที่มีต่อสังคม

2. ทำ�ให้นักเรียนมีความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้น การสอนชีวจริยธรรมสามารถใช้เป็น

แนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนกลุ่มที่ไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดี เนื่องจาก

ในการสอนครูผู้สอนต้องหาเหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันและ

เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ หรือการใช้

กรณีศึกษา

(case study) มาให้นักเรียน

ค้นหาแนวความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ที่สำ�คัญที่นักเรียนจำ�เป็นต้องรู้ เพื่อช่วยทำ�ให้

นักเรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนกับการนำ�ไปประยุกต์

ใช้ในเหตุการณ์หรือประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมที่พบได้ในชีวิตประจำ�วัน และยังช่วยส่งเสริม

นักเรียนให้มีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับ

ข้อเท็จจริง

(fact) ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียน

สามารถนำ�ไปใช้เป็นเหตุผลในการโต้แย้งเชิงจริยธรรมในสังคมได้

3. ส่งเสริมความท้าทายและความสามารถของนักเรียนให้มีการพัฒนาทักษะในด้านการแก้

ปัญหา เนื่องจากการตัดสินใจเชิงชีวจริยธรรม นักเรียนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความ

แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง

กับสิ่งที่เป็นความคิดเห็น

(opinion) และ

สิ่งที่เป็น

คุณค่า

(values) ภายใต้ประเด็นนั้นๆ โดยสำ�รวจความคิดเห็นของบุคคลอื่นๆ ก่อน แล้ว

นำ�ข้อมูลมาคิดเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์และคิดแบบมีเหตุผล อย่างระมัดระวังก่อนแล้ว

จึงตัดสินใจ

4. ส่งเสริมให้นักเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นและมุมมองของบุคคลที่หลากหลายและแตกต่าง

กัน เพราะการอภิปรายทางชีวจริยธรรมจะช่วยพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้าน

ของการใช้เหตุผล และยังช่วยกระตุ้นนักเรียนในการคิดหาตัวเลือกที่เหมาะสมจากมุมมอง

ที่หลากหลายของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ซึ่งทักษะเหล่านี้นับเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญต่อการเกิด

ประชาธิปไตยที่แท้จริง

แนวทางในการจัดการเรียนการสอนชีวจริยธรรม

การจัดการเรียนการสอนชีวจริยธรรมอาจใช้รูปแบบของการอภิปราย

การอภิปรายแบบคณะ

(panel discussion)

โต้วาที

(debate)

บทบาทสมมติ

(role play)

การสัมมนา

(seminar) โดย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

35