Table of Contents Table of Contents
Previous Page  39 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 39 / 284 Next Page
Page Background

หาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำ�แช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด

และให้คำ�นึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะ

เป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทา

ปนน้ำ�เงิน ซึ่งมีสารประกอบกำ�มะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS

2

) อยู่มาก

ดังนั้นเมื่อดินแห้งสารไพไรท์จะทำ�ปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำ�มะถันออกมา ทำ�ให้ดิน

แปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ

จึงได้ดำ�เนินการสนองพระราชดำ�ริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของ

ดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" คือทำ�ให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมี

ของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำ�ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำ�มะถันออก

มา ทำ�ให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญ

งอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว

จัดตามแนวพระราชดำ�ริ คือควบคุมระดับน้ำ�ใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำ�มะถัน จึงต้องควบคุม

น้ำ�ใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำ�ปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูก

ออกซิไดซ์

จากการทดลอง ทำ�ให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ 3

วิธีการด้วยกัน คือ

1. ใช้น้ำ�ชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้นหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจน

และฟอสเฟต ก็จะทำ�ให้พืชให้ผลผลิตได้

2. ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน

3. ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน

(ที่มา: โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ)

1.1.4 ชีวจริยธรรม

การนำ�เข้าสู่หัวข้อนี้ ครูอาจใช้คำ�ถามนำ�ในหนังสือเรียนเพื่อโยงเข้าสู่หัวข้อนี้ว่า ชีววิทยาสัมพันธ์

กับจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย หรือครูอาจเชื่อมโยงกิจกรรมการรักษา

ดุลยภาพของปลาที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้ว และตั้งคำ�ถามถามนักเรียนว่า นักเรียนทำ�อย่างไรกับปลา

ก่อนและหลังทำ�การทดลอง เพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน แล้วครูสรุปเข้าเรื่องชีวจริยธรรม

(bioethics) เพื่อให้นักเรียนตระหนักว่าการนำ�ความรู้ทางชีววิทยาไปใช้ต้องคำ�นึงถึงชีวจริยธรรม ซึ่ง

หมายถึง การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำ�ร้าย หรือทำ�อันตรายสิ่งมีชีวิต แล้วให้นักเรียน

ตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

27