Table of Contents Table of Contents
Previous Page  36 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 36 / 284 Next Page
Page Background

อำ�เภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น สำ�หรับคำ�ถามในหนังสือเรียนมีแนวการตอบดังนี้

ถ้าหากเกษตรกรมีความต้องการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและ

คุณภาพ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการในการบริโภค นักเรียนคิดว่าจะต้องใช้ความรู้ทาง

ชีววิทยาแขนงใดบ้าง และนำ�ความรู้นั้นมาใช้ในด้านใด

ต้องการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อสนองตอบ

ต่อความต้องการในการบริโภค จะต้องใช้ความรู้ทางชีววิทยาแขนงที่เกี่ยวข้อง เช่น

- สัตววิทยา และสรีรวิทยาของสัตว์ เนื่องจากต้องเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปร่าง และ

สรีรวิทยาของสัตว์แต่ละชนิด วัฏจักรชีวิตของสัตว์ การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์ ตลอด

จนพฤติกรรมของสัตว์ ซึ่งจะทำ�ให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ประเภทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

- พฤกษศาสตร์ และสรีรวิทยาของพืช เนื่องจากต้องเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปร่าง และ

สรีรวิทยาของพืชแต่ละชนิด วัฏจักรชีวิตของพืช การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์พืช ความ

ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะทำ�ให้เข้าใจธรรมชาติของพืชประเภทนั้นๆ ได้เป็น

อย่างดี

- เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการนำ�ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มผลผลิตได้ เช่น

การใช้เทคโนโลยีการถ่ายฝากตัวอ่อนในสัตว์ การผสมทียมในสัตว์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

พืช หรือการฉายรังสี เป็นต้น

- เทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์ เช่น การใช้ความรู้ทางด้านพันธุวิศวกรรมในการตัดต่อยีนให้ได้

ลักษณะที่ต้องการ

ให้นักเรียนยกตัวอย่างโครงการพระราชดำ�ริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวงของ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ใช้ความรู้ทางด้านชีววิทยามาแก้ปัญหา

สิ่งแวดล้อม หรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มา 2 ตัวอย่าง

โครงการพระราชดำ�ริ เช่น

1. โครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล

อดุลยเดช เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นใน

กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำ�ริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน

พ.ศ.2538 โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำ�ตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำ�ฝน

ไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำ�ได้จึงค่อยระบายน้ำ�จากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป

จึงสามารถลดปัญหาน้ำ�ท่วมได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

24