Table of Contents Table of Contents
Previous Page  32 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 32 / 284 Next Page
Page Background

จากกิจกรรมดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าสัตว์มีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย เช่นเดียวกับในมนุษย์

ซึ่งครูสามารถเชื่อมโยงเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีก เช่น พืช โดยให้นักเรียนตอบ

คำ�ถามในหนังสือเรียนดังนี้

พืชมีการรักษาสมดุลของน้ำ�ได้อย่างไร

พืชก็มีการรักษาดุลภาพเช่นเดียวกับในสัตว์และมนุษย์ โดยพืชมีการคายน้ำ�ผ่านทางรูปากใบ

ซึ่งการคายน้ำ�ของพืชจะสัมพันธ์กับการดูดน้ำ�ของพืชผ่านทางราก

มีการจัดระบบ

(organization)

ครูควรให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการจัดระบบในสิ่งมีชีวิต โดยใช้รูป 1.4 เริ่มตั้งแต่ในระดับ

เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ และร่างกายสิ่งมีชีวิต

การขยับแผ่นปิดเหงือกของปลาเกี่ยวข้องกับการรักษาดุลยภาพของปลาอย่างไร

ผลจากการทดลองควรนำ�ไปเชื่อมโยงกับการรักษาดุลยภาพ คือ เมื่ออุณหภูมิของสภาพ

แวดล้อมสูง อัตราเมแทบอลิซึมภายในร่างกายของปลาจะเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ปลาจึงต้องการ

ออกซิเจนจากน้ำ�ในปริมาณสูงขึ้น จึงต้องเพิ่มอัตราการหายใจ โดยขยับแผ่นปิดเหงือกให้

น้ำ�ไหลผ่านเหงือกมากขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยในเหงือกมากขึ้น และ

คาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายไม่ต้องการจะแพร่เข้าสู่น้ำ�ได้มากเช่นกัน

ให้นักเรียนศึกษาและทดลองเกี่ยวกับปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการรักษาดุลยภาพของปลามาอีก

1 ปัจจัย แล้วนำ�ข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน

กิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่นักเรียนออกแบบการทดลอง เช่น

1. ค่าความเป็นกรด-เบส ของน้ำ�

2. ความขุ่นใสของน้ำ�

ลองทำ�ดู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

20