Table of Contents Table of Contents
Previous Page  172 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 172 / 284 Next Page
Page Background

1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ

2. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ

ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ชนิดของภาพที่เกิด และกำ�ลังขยายของกล้อง

ทั้ง 2 ชนิด

ครูนำ�เข้าเรื่องส่วนประกอบกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงทั้ง 2 ชนิด โดยใช้รูป 3.4 ในหนังสือเรียน

และให้นักเรียนศึกษาส่วนประกอบและหน้าที่จากภาพดังกล่าว จากนั้นสุ่มนักเรียนให้ออกมาหน้าชั้น

เรียน เพื่อชี้ส่วนประกอบพร้อมกับบอกหน้าที่จนครบทุกส่วนประกอบ ขณะที่นักเรียนทำ�กิจกรรมดัง

กล่าวให้ครูแก้ไขส่วนที่นักเรียนอาจอธิบายไม่ถูกต้องด้วย และเขียนหรือบอกสูตรกำ�ลังขยายของ

กล้องจุลทรรศน์ให้กับทั้งชั้นเรียน ดังนี้

กำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ = กำ�ลังขยายของเลนส์ใกล้ตา × กำ�ลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

Dissecting microscope เป็นอีกคำ�หนึ่งที่ใช้เรียก กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอตาม

การใช้งาน โดยนิยมนำ�มาใช้ในการศึกษารายละเอียดขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นของ

ส่วนประกอบของสัตว์และพืช เพื่อผ่าตัดชิ้นส่วนจากตัวอย่างและแยกชิ้นส่วนเพื่อศึกษาได้

ชัดเจนขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อข้างต้น

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

รังไข่ก่อนผ่าของดอกเข็มปัตตาเวียเพศเมีย

รังไข่

รังไข่ผ่าตามขวางของดอกเข็มปัตตาเวียเพศเมีย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

160