Table of Contents Table of Contents
Previous Page  171 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 171 / 284 Next Page
Page Background

ประเด็นที่ต้องการเน้นคือ

1.

กล้องจุลทรรศน์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างที่จำ�นวนเลนส์และกำ�ลังขยาย ดังตาราง

ชนิดกล้อง

จำ�นวน

เลนส์

กำ�ลังขยาย

(เท่า)

หมายเหตุ

กล้องจุลทรรศน์ช่วงปี

พ.ศ. 2133-2143

2

3-10 เลนส์ที่ใช้มีคุณภาพต่ำ�จึงทำ�ให้มีกำ�ลัง

ขยายต่ำ�

กล้องจุลทรรศน์

Robert Hooke

2

ประมาณ

20-50

เลนส์ที่ใช้มีคุณภาพดีขึ้น และมีการใช้

เลนส์รวมแสงส่องไปที่ตัวอย่างเพื่อให้เห็น

ภาพได้ละเอียดมากขึ้น

กล้องจุลทรรศน์

Antoni van

Leeuwenhoek

1 ประมาณ

200

เลนส์ที่ใช้มีคุณภาพสูง แม้ใช้เพียง 1

เลนส์ ลักษณะของเลนส์เป็นเลนส์ทรง

กลม

2.

เรื่องการออกแบบกล้องจุลทรรศน์ เหตุผลที่ Robert Hooke ไม่เลือกใช้เลนส์เดียวแบบกล้อง

ของ Antoni van Leeuwenhoek และเลือกใช้เลนส์ประกอบและกล้องในรูปแบบดังรูป 3.1

เนื่องจากการเตรียมตัวอย่างง่ายกว่าและมีความสะดวกในการใช้งาน

ครูอาจใช้ภาพกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงคู่กับภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ประกอบการอธิบาย

ว่า กล้องจุลทรรศน์จำ�แนกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ซึ่งกล้องแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน และนักเรียนจะได้ศึกษาเกี่ยวกับ

กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงในหัวข้อนี้

ครูอาจใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบและกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอของจริง

หรือรูป 3.2 ก. รูป 3.3 ก. ในหนังสือเรียนเพื่อนำ�เข้าสู่หัวข้อกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงทั้ง 2 ชนิด พร้อม

อธิบายว่า กล้องจุลทรรศน์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการชีววิทยาที่พบได้ทั่วไป คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

โดยมีหลักการทำ�งานอย่างง่าย คือ มีแหล่งกำ�เนิดแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็นและชุดของ

เลนส์แก้วที่ทำ�ให้เกิดภาพขยายปรากฏขึ้นในลำ�กล้อง ซึ่งสามารถดูภาพผ่านเลนส์ใกล้ตาได้ จากนั้นชี้

ให้นักเรียนเห็นว่า กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

159