Table of Contents Table of Contents
Previous Page  41 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 41 / 194 Next Page
Page Background

ครูทบทวนความรู้เรื่องการกำ�จัดของเสียในร่างกายจากที่นักเรียนได้ศึกษามาตั้งแต่ระดับ

มัธยมศึกษาตอนต้น ครูอาจตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ ดังนี้

ของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายที่ต้องถูกกำ�จัดออกจากร่างกายได้แก่อะไรบ้าง

นักเรียนอาจตอบถูกหรือผิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน เช่น ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ยูเรีย เป็นต้น

จากนั้นครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย และกระบวนการสลาย

สารอาหารว่าจะได้ผลิตภัณฑ์หรือสารใดบ้าง โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และวิเคราะห์ว่าสารต่างๆ

ที่ได้จากกระบวนการเหล่านั้นมีประโยชน์และโทษต่อร่างกายอย่างไร ถ้าหากร่างกายมีการสะสมสาร

ที่เป็นโทษไว้มากจะเกิดอะไรขึ้น และร่างกายจะมีวิธีกำ�จัดอย่างไร จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุป

ว่าสารที่เป็นโทษต่อร่างกายที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมร่างกายจะต้องกำ�จัดออกเรียกว่า

“ของเสีย” ซึ่งจะต้องถูกขับออกโดยระบบขับถ่าย แล้วใช้คำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนแยกความแตก

ต่างระหว่างการขับถ่ายของเสียกับการถ่ายอุจจาระดังนี้

การถ่ายอุจจาระ (defecation) จัดเป็นการขับถ่าย (excretion) หรือไม่ เพราะเหตุใด

การถ่ายอุจจาระไม่เป็นการขับถ่าย เพราะการขับถ่าย หมายถึง การกำ�จัดของเสียซึ่งเกิดจาก

กระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แต่การถ่ายอุจจาระเป็นการ

กำ�จัดกากอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ออกจากร่างกาย

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและศึกษารูป 2.1 ปริมาณน้ำ�โดยเฉลี่ยที่ได้รับและสูญเสียออกจากร่างกาย

ผู้ใหญ่ใน 1 วัน และใช้คำ�ถามชวนคิดให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

27

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ